สรุปรวมแนวข้อสอบ การอบรมวิชาว่าความ ภาคทฤษฎี รุ่นที่30-40 เรื่อง กฎหมายลักษณะพยาน


31/5. ถ้าคู่ความเห็นว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ไม่ถูกต้องและต้องการให้ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่จะต้องดำเนินการ โต้แย้งคัดค้านต่อศาลในขณะที่ศาลชี้สองสถาน หรือยื่นคำร้องคัดค้านภายใน 7 วันนับแต่วันชี้สองสถาน

38/16. โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ได้ขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินแต่จำเลยคัดค้านว่าเป็นที่ดินของจำเลยขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาเป็นเวลา 20 ปี แล้วโดยมารดายกให้ โจทก์ยื่นฟ้องล่วงเลย 1 ปี แล้ว โจทก์จึงเสียสิทธิในการฟ้องคดี ให้วินิจฉัยว่าคดีมีประเด็นข้อพิพาทอย่างไร ฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ คำตอบ ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย

36/8. โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) จำเลยบุกรุกเข้าไปยึดถือการครอบครองขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย 20, 000 บาท จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจากนายแดงเจ้าของเดิม จำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์ฟ้องคดีเอาคืนซึ่งการครอบครองเกิน 1 ปี แล้ว จึงไม่มีอำนาจขอให้ยกฟ้อง ให้วินิจฉัยว่า คดีมีประเด็นข้อพิพาท คือ ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ และโจทก์เสียหายเพียงใด

35/2. คำให้การของจำเลยที่ถือว่าจำเลยยอมรับไม่ก่อเกิดประเด็นข้อพิพาท คือ จำเลยการต่อสู้ว่าโจทก์มามีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์เป็นนิติบุคคลหรือไม่ ไม่ทราบ ไม่รับรอง

คำให้การของจำเลยที่ถือว่าจำเลยไม่ยอมรับและเกิดประเด็นข้อพิพาทได้แก่. 1.จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้โจทก์สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม โดยไม่ได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าปลอมอย่างไร

2. จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญากู้โจทก์สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม แต่หากฟังว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินก็ไม่อาจบังคับได้ เพราะถูกข่มขู่บังคับให้ทำสัญญากู้ยืมเงินโดยปราศจากมูลหนี้

30/16. โจทก์ฟ้องจำเลยขอหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลให้นัดสืบพยานโจทก์ฝ่ายเดียว ถึงวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ทั้งโจทก์และจำเลยต่างไม่มาศาลและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี กรณีนี้ถือว่า โจทก์ไม่นำพยานลักฐานมาสืบตามที่ศาลกำหนดให้ถือว่าคดีของโจทก์ไม่มีมูล

36/12. ข้อที่ถูกต้องในเรื่องการยื่นบัญชีระบุพยาน. คดีอาญากรณีไม่มีวันตรวจพยานหลักฐาน จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานพร้อมสำเนาก่อนวันสืบพยานจำเลยก็เพียงพอแล้ว

37/4. ข้อที่ถูกต้องสำหรับการยื่นบัญชีระบุพยานในคดีอาญา คือ กรณีศาลกำหนดให้มี วันตรวจพยานหลักฐาน คู่ความต้องยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกก่อนวันดังกล่าวไม่น้อยกว่า 7 วัน

39/15 นายแดงมอบให้ทนายโจทก์ฟ้องดำเนินคดีแพ่ง โดยทนายโจทก์ได้เรียงคำฟ้อง ลงชื่อ และดำเนินกระบวนพิจารณาแทนนายแดงจนเสร็จกระบวนพิจารณาการสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้น แต่ไม่ปรากฏใบแต่งทนายของทนายโจทก์ในสำนวน ในวันนัดสืบพยานจำเลยทนายโจทก์เพิ่งยื่นใบแต่งทนายให้ศาลเพื่อเข้าสำนวน ศาลมีคำสั่งอนุญาตโดยที่ทนายจำเลยไม่คัดค้านจนศาลมีคำพิพากษา ศาลอนุญาตให้ทนายโจทก์ยื่นใบแต่งทนายชั้นสืบพยานจำเลยถูกต้องหรือไม่ เพราะเหตุใด

คำตอบ คือ ถูกต้องแล้ว เพราะศาลมีอำนาจแก้ไข ทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนพิพากษา

39/ 6 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์100,000 บาท ตามสำเนาเอกสารสัญญากู้ท้ายฟ้อง หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วแต่จำเลยไม่ยอมชำระหนี้ ขอให้ศาลบังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง สัญญากู้ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับและคดีก็ขาดอายุความแล้วด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ คดีมีประเด็นข้อพิพาทอย่างไร ฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ คำตอบ คือ จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์

39/8ข้อที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การยื่นบัญชีระบุพยาน คือ ในคดีอาญาหากไม่มีวันตรวจพยานหลักฐาน ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันไต่สวนมูลฟ้องหรือวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน

30/6. การชี้สองสถาน เป็นดุลยพินิจของศาล

1. เมื่อศาลจะนัดคู่ความเพื่อทำการชี้สองสถาน ต้องแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน (ม.182 ว.1)

2 มาตรา 183 ว.1 จะบอกให้ทราบว่า ในวันชี้สองสถานนั้น ศาลจะดำเนินการอะไรบ้าง

3. ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาล ศาลจะทำการชี้สองสถานเลย ถือว่าคู่ความฝ่ายนั้นรู้แล้ว และคู่ความฝ่ายนั้นไม่มีสิทธิคัดค้านในประเด็นข้อพิพาทและหน้าที่นำสืบก่อนหลังที่ศาลกำหนดไว้ (ม.183 ทวิ)

การกำหนดวันสืบพยาน

1. กรณีที่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลกำหนดวันสืบพยานซึ่งมีระยะไม่น้อยกว่า 10 วัน นับแต่วันชี้สองสถาน (ม.184 ว.1)

2. กรณีไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันสืบพยาน แล้วส่งให้แก่คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วัน (ม.184 ว.2)

30/7. ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไม่ครบถ้วนตามคำฟ้องและคำให้การ แต่คู่ความไม่ได้โต้แย้งขัดค้านจะมีผล คือ ถือว่าคู่ความสละประเด็นข้อพิพาทนั้น

31/6. ศาลรับประเด็นมีอำนาจในกรณีออกหมายเรียกพยานบุคคล และมีคำสั่งเรียกพยานเอกสาร

32/6. การชี้สองสถานในคดีแพ่งเกี่ยวข้องกับเรื่อง การแก้ไขคำฟ้อง

33/3.คู่ความเดิมอาจยื่นคำร้องขอให้ศาลเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ตาม ป.วิแพ่ง มาตรา 57 (3) ได้ในกรณี1. ลูกหนี้ร่วมขอให้ศาลหมายเรียกลูกหนี้ร่วมคนอื่นเข้ามาในคดี 2. ผู้ค้ำประกันขอให้ศาลหมายเรียกลูกหนี้ชั้นต้นเข้ามาในคดี 3. นายจ้างขอให้ศาลหมายเรียกลูกจ้างเข้ามาในคดี

33/12 ศาลรับประเด็นมีอำนาจในกรณี รับและส่งใบแต่งทนายความในคดีประเด็น

34/4. คดีแพ่งเรื่องหนึ่งศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่เด็กชายแดง ซึ่งเป็นบุตรของโจทก์กับจำเลย ต่อมาจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่เด็กชายแดงตามคำพิพากษาดังกล่าว ใครเป็นผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยได้ คำตอบ ไม่มีผู้ใดร้องขอให้บังคับคดีได้

34/5. ในคดีแพ่งเรื่องหนึ่ง จำเลยให้การต่อสู้ในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว แต่เมื่อศาลชั้นต้นชี้สองสถาน ไม่ได้กำหนดเรื่องอายุความเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ หากจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านจะมีผล ถือว่าจำเลยได้สละประเด็นเรื่องอายุความแล้ว

38/5. คดีแพ่งจำเลยจะขอโอนคดีได้เมื่อ. ก่อนยื่นคำให้การ

38/9. ศาลรับประเด็นมีอำนาจในกรณี (ก). รับและส่งใบแต่งทนายในคดีประเด็น (ข). ส่งประเด็นต่อไปยังศาลอื่นเพื่อสืบพยานประเด็นซึ่งมิได้อยู่ในเขตของศาลรับประเด็นแล้ว (ค). ออกหมายเรียกพยานบุคคล และคำสั่งเรียกพยานเอกสาร)

36/14. ศาลรับประเด็นมีอำนาจในกรณีออกหมายเรียกพยานบุคคล และมีคำสั่งเรียกพยานเอกสารแต่ไม่มีอำนาจรับและอนุญาตให้คู่ความระบุพยานเพิ่มเติมหรือ สั่งคู่ความฝ่ายใดขาดนัดพิจารณา

37/5. กรณีที่ศาลรับประเด็นไม่มีอาจสั่ง คือ อนุญาตให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม

40/7. ข้อที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการยื่นบัญชีระบุพยาน คือ ในคดีอาญาหากไม่มีวันตรวจพยานหลักฐานต้องยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมภายใน 15 วัน หลังจากวันสืบพยาน

40/8. ศาลรับประเด็นไม่มีอำนาจสั่งกรณี. รับและอนุญาตให้คู่ความระบุพยานเพิ่มเติม

40/13. ในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อกฎหมายนั้น ข้อที่ถูกต้อง คือ. โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริง และปัญหาข้อกฎหมาย

หมายเลขบันทึก: 549534เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2013 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2013 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท