ผอมซ่อนรูป___เสี่ยงโรคหัวใจ


.

สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง "ผอมซ่อนรูป___เสี่ยงโรคหัวใจ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

การศึกษาใหม่ทำในกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักปกติ = อยู่ในเกณฑ์ไม่อ้วน และไม่ผอม

เกณฑ์ที่ใช้ในที่นี้ คือ ดัชนีมวลกาย = body mass index = BMI = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร 2 ครั้ง

คิดได้ง่ายๆ โดยนำเครื่องคิดเลข

  • กดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมลงไป เช่น 53.4 กิโลกรัม
  • ใส่เครื่องหมายหาร
  • พิมพ์ส่วนสูงเป็นเมตรลงไป เช่น 165 เซนติเมตร = 1.65 เมตร
  • ใส่เครื่องหมายหาร
  • พิมพ์ส่วนสูงเป็นเมตรลงไป เช่น 165 เซนติเมตร = 1.65 เมตร (รวม = หาร 2 ครั้ง)
  • กดเครื่องหมายเท่ากับ (=)

คนเอเชีย รวมทั้งคนไทย มีโครงสร้างเล็กกว่าฝรั่ง ทำให้ค่าดัชนีมวลกายมาตรฐานต่ำกว่าชาวตะวันตก คือ = 18.5-22.9

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่าง 1,528 คนที่มีดัชนีมวลกายปกติ

ผลการตรวจแยกชนิดเนื้อเยื่อในร่างกาย เช่น มีมวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน มวลกระดูก ฯลฯ ร้อยละเท่าไร พบว่า

  • 1/5 ของผู้ชายมีสัดส่วนไขมันมากเกิน
  • เกือบ 1/3ของผู้หญิงมีสัดส่วนไขมันมากเกิน

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนที่มีสัดส่วนไขมันในร่างกายสูงเกิน เพิ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังได้แก่

  • เบาหวาน
  • ความดันเลือดสูง
  • โรคหัวใจ

การศึกษาใหม่ ทำโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักปกติ อายุเฉลี่ย 70 ปี 902 คน ติดตามไป 13 ปี

25% ของกลุ่มตัวอย่างผู้ชายมีสัดส่วนไขมันมากเกิน

35% ของกลุ่มตัวอย่างผู้หญิงมีสัดส่วนไขมันมากเกิน 35%

ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีสัดส่วนไขมันสูงเกินเกณฑ์ เพิ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 57%

ผู้ชายที่มีสัดส่วนไขมันสูงเกินเกณฑ์ เพิ่มเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ (รายงานไม่ได้ระบุกว่ามากเท่าไร)

คณะวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีสัดส่วนไขมันสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่ม

วิธีป้องกันสัดส่วนไขมันสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานที่สำคัญ คือ การรักษามวลกล้ามเนื้อไม่ให้ลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น และป้องกันการสะสมมวลไขมันได้แก่

(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ

(2). ออกกำลังต้านแรง

เช่น ขึ้นลงบันได, เดินขึ้นลงเนิน, เล่นเวท ยกน้ำหนัก หรือกายบริหารกล้ามเนื้อโครงสร้าง

(3). ระวังน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน

(4). เปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาวเป็นโฮลวีท (ขนมปังเติมรำ) และลดน้ำตาล เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูง

น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นเร็ว จะถูกตับเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ พอกพูนไขมันไปทั่วร่างกาย โดยเฉพาะไขมันแบบอ้วนลงพุง ไขมันเกาะตับ

(5). หลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารไขมันสูง

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank Reuters source by Reuters http://www.reuters.com/article/2013/09/26/us-body-fat-idUSBRE98P12820130926 SOURCE: The American Journal of Cardiology, online August 29, 2013.

หมายเลขบันทึก: 549488เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2013 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กันยายน 2013 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท