การศึกษาปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการเข้าสู่อาเซียน


การเตรียมเด็กปฐมวัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก้าวไปสู่พลเมืองอาเซียน เตรียมตน เตรียมคน เตรียมงาน เตรียมความพร้อมของลูกหลานคือรากฐานของการพัฒนาคำกล่าวนี้ยังใช้ได้กับกระแสอาเซียนในขณะนี้ โดยเฉพาะการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับอาเซียนกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดบทบาทการดำเนินงาน ด้านการต่างประเทศเชิงรุก โดยเน้นการกระชับความสัมพันธ์ และการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และในภูมิภาคเอเชีย ภายใต้กรอบความร่วมมือด้านต่างๆ โดยเฉพาะกรอบความร่วมมือด้านการศึกษาและได้กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่เป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยและภูมิภาค ในความร่วมมือด้านการศึกษาอาเซียน ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยการปรับปรุงในเชิงปริมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายโอกาสทางการศึกษา การยกระดับคุณภาพการศึกษา การนำโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกและเทคโนโลยี การสื่อสารเข้ามารองรับ ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษา ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เร่งพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้รู้จักวัฒนธรรม สังคม ความเป็นอยู่ของเพื่อนอีก 9 ประเทศ ที่จะสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ โดยการดำเนินโครงการพัฒนาประชาคมสู่อาเซียน (Spirit of ASEAN) เพื่อรองรับการรวมกลุ่มของประเทศอาเซียน ในปี 2558

ภายใต้กระแสประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนที่ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ โดยต้องส่งเสริมให้คนในประเทศมีความรู้ ความเข้าใจที่ดีต่อภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ของประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและเตรียมความพร้อมในการแข่งขันในตลาดเสรีที่กำลังจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ระบบการศึกษาของไทยต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับต่อการเป็นประชาคมอาเซียน โดยเน้นปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นเอกภาพของอาเซียนแก่เยาวชนให้เกิดความสามัคคีและร่วมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียน

การศึกษานับว่ามีบทบาทสำคัญและเป็นแกนหลักแห่งการสร้างประชาคมอาเซียนใน 3 เสาหลักแห่งการพัฒนาคือ

1) ด้านการเมืองและความมั่นคง

2) ด้านเศรษฐกิจ

3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม

การขับเคลื่อนด้านการศึกษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญแห่งการพัฒนาสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างแท้จริง โดยการบูรณาการการเรียนรู้เพื่อสร้างและพัฒนาเด็ก เยาวชน และประชาชนให้มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะและมีเจตคติที่เหมาะสมกับการเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียนการจัดการศึกษาปฐมวัยเพื่อเตรียมเด็กสู่ประชาคมอาเซียนนั้น จำเป็นต้องเน้นการบูรณาการสู่การศึกษาอย่างครอบคลุมทั้ง     ๓ ด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน ตามนโยบายการศึกษาชาติว่าด้วยเรื่องการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ กล่าวคือ

1. คุณลักษณะด้านความรู้

2. ทักษะกระบวนการ

3. เจตคติ

ซึ่งตัวชี้วัดคุณภาพเด็กในระดับต่างๆ จะวัดจากคุณลักษณะทั้ง ๓ ด้านดังกล่าวดังนั้น การจัดการศึกษาปฐมวัยเพื่อให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของชาติจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมตามคุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน ซึ่ง สามารถจัดการศึกษาเพื่อบูรณาการในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย การปรับปรุงเนื้อหา หน่วยการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และการเตรียมเด็กสู่ความเป็นสากลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทักษะด้านต่างๆ เพื่อการเรียนรู้และดำรงชีวิตท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน นอกจากนี้แล้ว การสร้างความเข้าใจต่อตนเองต่อวัฒนธรรม ความสามัคคีและความเป็นคนไทย รวมถึงการถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามสู่ประชาคมอาเซียนและคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

ดังนั้น เด็กปฐมวัยจึงควรได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ การพัฒนาทักษะที่จำเป็นและได้รับการเสริมสร้างเจตคติที่ดีตั้งแต่ยังเล็ก เพื่อการเป็นสมาชิกในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างเหมาะสม และคงคุณค่าเอกลักษณ์และความเป็นชาติไทยให้ยั่งยืนสืบไป จึงจะนับว่าเด็กไทยมีความสมบูรณ์พร้อมในทุกด้านของชีวิตทั้งมิติทางร่างกาย จิตใจ และปัญญา

การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย เป็นการศึกษาขั้นต้นที่มีความสำคัญยิ่ง การพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน และป้องกันปัญหาสังคมในระยะยาว จำเป็นต้องเริ่มพัฒนาตั้งแต่ปฐมวัย แนวคิดในการพัฒนาเด็กเพื่อให้มีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลนับตั้งแต่งปฏิสนธิจวบจนเจริญวัยจำเป็นต้องมีการตื่นตัวและผนึกกำลังกันทุกฝ่าย การพัฒนาบุคลากรในวิชาชีพทางการศึกษาปฐมวัย ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถประยุกต์ความรู้สู่การปฏิบัติในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และ ความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสถานศึกษาการศึกษาปฐมวัยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นสถานศึกษาที่สำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานเด็กปฐมวัยสู่พลเมืองอาเซียนอย่างมีศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างตามภูมิภาคสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันสิ่งสำคัญยิ่งคือ ผู้บริหารท้องถิ่น ครูผู้ดูแลเด็ก บุคลากรทางการศึกษา ให้ความสำคัญในการรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่พลเมืองอาเซียนโดยนำพหุวัฒนธรรมที่หลากหลายวัฒนธรรมนำมาจัดกระบวนการเรียนการสอนสร้างความคุ้นเคยให้เด็กสู่อาเซียนโดยบูรณาการด้วยวิธีการดังนี้วิธีการการจัดสภาพห้องเรียนสู่พลเมืองอาเซียน ในแต่ละมุมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านการเล่นสู่การเรียนรู้ เช่นมุมบ้านบทบาทสมมติ นำเสื้อผ้านานาชาติมาจัดวางไว้ให้เด็กได้เรียนรู้ นำหุ่นการแต่งกาย 10 ประเทศ สร้างความคุ้นเคยให้กับเด็ก ธงชาติประจำประเทศ มุมวิทยาศาสตร์นำอาหารจำลอง ดอกไม้ประจำชาติ แผนที่ สถานที่จำลองโทรศัพท์จำลอง มุมไม้บล็อก รถจำลอง รถไฟ เครื่องบิน เรือ ให้เด็กเล่นตามความคิดจินตนาการเด็กคุ้นเคยกับการเข้าสู่พลเมืองอาเซียน มุมดนตรีสร้างสรรค์ นำอุปกรณ์ของพื้นบ้านแต่ละวัฒนธรรมนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรีที่หลากหลายแบบให้ตรงกับวัฒนธรรม10 ประเทศวิธีการจัดกิจกรรมสร้างความคุ้นเคยเด็กปฐมวัยสู่อาเซียน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่พลเมืองอาเซียนนั้นมีวิธีการจัดแบบบูรณาการหลากหลายวิธี เช่น การทำชิ้นงานจากเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ประจำชาติ ประดิษฐ์เครื่องบิน รถ เรือ ให้เด็กเล่าจากแผนที่แต่ละประเทศเล่าตามจินตนาการของเด็ก ประดิษฐ์หุ่นนานาชาติการประดิษฐ์สิ่งต่างๆจะทำให้เด็กคุ้นเคยกับการเข้าสู่อาเซียนโดยผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยที่ครูไม่ต้องบังคับให้เด็กเรียนด้วยการบอกจากครูผู้เดียวเด็กปฐมวัยจะเกิดการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติทุกๆวัน จัดกิจกรรมการค้าขายโดยนำผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมซึ่งท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่นมีผู้ปกครองที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้โดยการสื่อสารโดยผ่านกิจกรรมเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้ได้เร็ววิธีการสื่อสารภาษา English กับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสร้างความคุ้นเคยสู่พลเมืองอาเซียนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนได้หลากหลายวิธีดังนี้

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดโครงการสื่อสารภาษาต่างประเทศทุกวัน โดยคุณครูทักทายเด็กๆด้วยคำที่ง่ายๆ เช่น Good morning Good afternoon Good evening How are you How are you today welcome Good bye ให้เด็กเกิดทักษะการสื่อสารกับชาวต่างชาติที่อยู่ในท้องถิ่น เช่นผู้ปกครอง หรือชุมชน องค์กร ภาครัฐ และเอกชน ให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะภาษากับเด็ก คุณครูพูดคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันของเด็กเกี่ยวกับร่างกาย สี วัน เดือน สัตว์ อาหาร อุปกรณ์ต่างๆในการใช้ชีวิตประจำวันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในสถานศึกษาการเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยสู่อาเซียนวัฒนธรรมแต่ละชาติมีความหลากหลายดังนั้นเด็กเกิดความสับสนในช่วงแรกๆ ภาษาของเด็กแต่ละท้องถิ่นมีภาษาถิ่นที่ใช้ประจำวันในถิ่นนั้นๆ จะทำให้เด็กสับสน ครูผู้สอนขาดทักษะการสื่อสารภาษา English และไม่มีความมั่นใจในการที่จะสื่อสารกับเด็กวิธีการแก้ปัญหาในสถานศึกษาการเตรียมความพร้อมเด็กปฐมวัยสู่อาเซียน ผู้บริหารให้การสนับสนุนการเตรียมความพร้อมสู่อาเซียนอย่างจริงจัง ครูผู้สอนฝึกทักษะภาษาต่างประเทศอย่างมั่นใจในการสื่อสารกับเด็ก ครูผู้สอนศึกษาวิธีการเทคนิคต่างๆที่จะนำมาจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เด็กอย่างถูกต้อง ครูผู้สอนยึดหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยโดยดูวุฒิภาวะของเด็กปฐมวัยเป็นหลัก เด็กปฐมวัยคือเทวดาน้อยที่ครูสามารถสร้างรากฐานให้เด็กเจริญงอกงามสู่พลเมืองอาเซียนได้อย่างมีศักยภาพ

 

 

อ้างอิง

 

 

นิสิตดุษฎีบัณฑิต และมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โครงการเสวนาและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง“ LITTLE ASEAN: ปฐมวัยเปิดใจสู่อาเซียน วันที่ ๒-๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

 

ยุวดี อาจพินิจ  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองกระทุ่ม ปฐมวัยก้าวสู่อาเซียน  22 มกราคม 2556

หมายเลขบันทึก: 549426เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2013 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2013 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท