การวิเคราะห์รายรับ รายจ่ายของเทศบาลตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสถานะเป็นนิติบุคคล     และเป็นส่วนหนึ่งของ

ภาครัฐมีอิสระในการทำงานมีอำนาจหน้าที่ในการจัดเก็บรายได้        มีอิสระในการจัดทำ งบประมาณรายจ่ายประจำปี ระบบงบประมาณเป็นเครื่องมือสำคัญที่หน่วยงานของรัฐ       ซึ่งรวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องใช้เพื่อการวางแผน         และการบริหารรายรับรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น งบประมาณเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการสนับสนุนการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น    จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของโครงการตามความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของทางราชการและสามารถบริการประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน แต่ในทางปฏิบัติการเสนองบประมาณของท้องถิ่น ต้องเสนอผ่านสภาท้องถิ่น ให้สภาเป็นผู้เห็นชอบงบประมาณของส่วนต่างๆ          ก่อนจะนำเข้าข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ จะต้องมีการแปรญัตติการแปรญัตตินั้น สภามีอำนาจตัดงบประมาณของแต่ละส่วนลงได้ตามความจำเป็น แต่ในทางปฏิบัติจะยึดงบประมาณของปีที่ผ่านมาเป็นหลัก

 

แต่อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัตินั้นผู้มีอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี

บทบาทต่อการใช้จ่ายงบประมาณ บางครั้งทำให้ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ จากงบประมาณประจำปีเท่าที่ควร และปัญหาอีกประการหนึ่งคือ พื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บางพื้นที่มีเขตการพัฒนาทับซ้อนกันทำให้เกิดความสับสนการบริหารงบประมาณไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างเป็นธรรม เนื่องจากเขตพื้นที่ทับซ้อนไม่มีผู้รับผิดชอบ ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่ง ได้ขอใช้เงินทุนสำรองเงินสะสมเพิ่มมากขึ้น แม้ว่าเงินทุนสำรองเงินสะสมเป็นเงินที่สะสมไว้ใช้จ่ายในกรณีที่ฉุกเฉินหรือจำเป็น และเพื่อรักษาความมั่นคงทางการคลังของท้องถิ่น การบริหารงบประมาณโดยไม่คำนึงถึงเสถียรภาพทางการคลังของท้องถิ่นอาจทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสบปัญหาการขาดวินัยการเงินการคลัง ดังเช่นได้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบกฎหมาย วิธีปฏิบัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอิสระในการใช้จ่าย เงินเพิ่มมากขึ้น

 

บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์รายรับ รายจ่ายของเทศบาลตำบล

คลองปาง  อำเภอรัษฎา  จังหวัดตรัง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 ถึงปีงบประมาณ 2555 ว่าเทศบาลตำบลคลองปางได้รับเงินรายได้จากแหล่งใดบ้างเป็นเงินเท่าใด และใช้จ่ายเงินงบประมาณในหมวดรายจ่ายใดเป็นเงินเท่าใด ปัจจุบันมีเงินสะสม เงินทุนสารองเงินสะสม  ในอนาคตหากผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงนำเงินทุนสำรองเงินสะสมไปใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น ซึ่งไม่ใช่กรณีจำเป็นเร่งด่วน กรณีเกิดภัย พิบัติ หรือกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคง ทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับ ประชาชนในท้องถิ่น จะมีวิธีการใดที่สามารถยับยั้งหรือกำหนดการใช้จ่ายเงินทุนสำรอง เงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 

รายรับประจำปีงบประมาณ 2553 – 2555

 

ปีงบประมาณ 2553   จากหมวดภาษีอากรร้อยละ 3.93     รายรับค่าธรรมเนียม

ค่าปรับ ร้อยละ0.86 รายได้ทรัพย์สิน ร้อยละ0.52      รายได้เบ็ดเตล็ด 0.79      รายได้ที่รัฐจัดสรรให้ ร้อยละ 49.01 เงินอุดหนุนทั่วไป ร้อยละ 28.25 และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ร้อยละ 16.65  ของรายรับรวมทั้งสิ้น 

 

ปีงบประมาณ 2554 จากหมวดภาษีอากรร้อยละ 4.72      รายรับค่าธรรมเนียม

ค่าปรับ ร้อยละ 1.00 รายได้ทรัพย์สิน ร้อยละ0.50      รายได้เบ็ดเตล็ด 0.42     รายได้ที่รัฐจัดสรรให้ ร้อยละ 47.06 เงินอุดหนุนทั่วไป ร้อยละ 36.63 และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ร้อยละ 9.67  ของรายรับรวมทั้งสิ้น 

ปีงบประมาณ 2555 จากหมวดภาษีอากรร้อยละ 5.21 รายรับค่าธรรมเนียม

ค่าปรับ ร้อยละ 1.70 รายได้ทรัพย์สิน ร้อยละ 0.71      รายได้เบ็ดเตล็ด 0.24     รายได้ที่รัฐจัดสรรให้ ร้อยละ 49.86 เงินอุดหนุนทั่วไป ร้อยละ 30.62 และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ร้อยละ 11.66  ของรายรับรวมทั้งสิ้น 

                   จากข้อมูลรายได้ทั้งสามปีที่เทศบาลตำบลคลองปางได้รับมาบริหารงบประมาณนั้น  จะเห็นว่ารายได้แต่ละประเภทที่ได้รับเข้ามาไม่สม่ำเสมอ  เป็นปัจจัยหลาย ๆ ด้านที่ทำให้เกิดรายได้ที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น  สภาวะเศรษฐกิจ  การบริหารงบประมาณของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัยมีการวางแผนการบริหารที่ไม่เหมือนกัน  ประกอบกับเทศบาลตำบลคลองปาง  มีรายได้จัดเก็บเองน้อยมาก  เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดในแต่ละปี  ดังนั้นการที่เทศบาลตำบลคลองปางจะมีรายได้ที่จะเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น  ก็ต้องใช้เงินงบประมาณจากรายได้ที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล  ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มตามพรบ.กำหนดแผนกระจายอำนาจ   และรายได้จากเงินอุดหนุนทั่วไปจากรัฐบาล  ซึ่งในปัจจุบันกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น  ก็ได้พยายามผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพยายามที่จะหาเงินรายได้จากการจัดเก็บเองให้ครบถ้วน  เช่นผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจัดทำระบบแผนที่ภาษีเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ละแห่งได้มีการจัดเก็บภาษีที่ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บเองได้ครบถ้วน

  

รายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 - 2555

 

ด้านรายจ่าย เทศบาลตำบลคลองปางได้รับรายจ่ายในแต่ละปีรายละเอียดดังนี้

ปีงบประมาณ 2553   ด้านรายจ่ายงบกลาง ร้อยละ 11.04 เงินเดือนและค่าจ้าง

ประจำ ร้อยละ 12.19 ค่าจ้างชั่วคราว  ร้อยละ 9.72 ค่าตอบแทน ร้อยละ 10.95 ค่าใช้สอย ร้อยละ 16.48 ค่าวัสดุ ร้อยละ 9.20 ค่าสาธารณูปโภค  ร้อยละ 2.40 ค่าเงินอุดหนุน ร้อยละ  1.90  ค่ารายจ่ายอื่น ร้อยละ 1.47 ค่าครุภัณฑ์ ร้อยละ 1.06 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 23.60  ของรายจ่ายรวมทั้งสิ้นของปีงบประมาณ 2553

 

ปีงบประมาณ 2554   ด้านรายจ่ายงบกลาง ร้อยละ 12.21 เงินเดือนและค่าจ้าง

ประจำ ร้อยละ 20.16 ค่าจ้างชั่วคราว  ร้อยละ 17.05 ค่าตอบแทน ร้อยละ 8.58 ค่าใช้สอย ร้อยละ 21.54 ค่าวัสดุ ร้อยละ 9.33 ค่าสาธารณูปโภค  ร้อยละ 2.41 ค่าเงินอุดหนุน ร้อยละ  1.98  ค่าครุภัณฑ์ ร้อยละ 5.63 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 1.11  ของรายจ่ายรวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 2554

  

ปีงบประมาณ 2555   ด้านรายจ่ายงบกลาง ร้อยละ 14.25     เงินเดือนและ

ค่าจ้างประจำ ร้อยละ 22.13 ค่าจ้างชั่วคราว  ร้อยละ 16.41 ค่าตอบแทน ร้อยละ 7.92 ค่าใช้สอย ร้อยละ 17.52 ค่าวัสดุ ร้อยละ 9.75 ค่าสาธารณูปโภค  ร้อยละ 2.72 ค่าเงินอุดหนุน ร้อยละ  1.95  ค่ารายจ่ายอื่น ร้อยละ 1.78 ค่าครุภัณฑ์ ร้อยละ 0.24 ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ร้อยละ 5.33  ของรายจ่ายรวมทั้งสิ้นในปีงบประมาณ 2555

 

 จากข้อมูลรายจ่ายข้างต้นจะเห็นได้ว่าเทศบาลตำบลคลองปาง ได้เบิกจ่ายเงินเป็น

ค่าใช้จ่ายประจำ เป็นจำนวนมากขึ้นในแต่ละปี  จึงทำให้รายจ่ายทางด้านงบลงทุนไม่ว่าจะเป็นค่าครุภัณฑ์  ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างมีปริมาณที่ละลง  เมื่อเทียบกับรายจ่ายงบลงทุนแต่ละปี  ทำให้เทศบาลตำบลคลองปาง  ต้องวางแผนการใช้จ่ายงบลงทุนด้วยงบประมาณที่จำกัด  ประกอบกับเทศบาล ฯ มีค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าใช้สอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกิดจากค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมทรัพย์สิน  ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ   จากการคาดการณ์ในอนาคตเทศบาลมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคเกือบครบถ้วนแล้ว  ในอนาคตเทศบาลมีแผนในการบริหารงบประมาณในด้านสุขภาวะของประชาชน  ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน  เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นและตอบสนองความ ต้องการของประชาชนอย่างยั่งยืน

  

การใช้จ่ายเงินสะสม ของเทศบาลตำบลคลองปาง ในปีงบประมาณ 2553     เป็น

เงิน 13,920,194.40 บาท  พบว่าในปีงบประมาณ 2553 เทศบาลได้รับจัดสรรงบประมาณในการบริหารงบประมาณ  ในปริมาณที่น้อยจึงให้อำนาจผู้บริหารในการอนุมัติจ่ายขาดเงินสะสมตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2548 เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือนพนักงานและค่าจ้างประจำ  ตลอดจนนำไปจ่ายในค่าใช้จ่ายค่าจ้างชั่วคราว  เพื่อรักษาฐานะการคลังของเทศบาล ในปีงบประมาณ 2554 นั้นพบว่าเทศบาลได้ ใช้จ่ายเงินสะสมเพื่อจ่ายเป็นค่าตอบแทนสวัสดิการพนักงานในส่วนค่ารักษาพยาบาลซึ่งเทศบาลได้ประมาณการในการตั้งงบประมาณไว้ต่ำกว่าความเป็นจริง  ส่วนในปี 2555  การจ่ายขาดเงินสะสมในแต่ละปีงบประมาณนั้นพบว่า ผู้บริหารให้ดำเนินการภายใต้กรอบของระเบียบในการดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณอย่างเคร่งครัด

 

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2548). ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2548. กรุงเทพฯ.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2541). ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ..2541. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2543). คู่มือปฏิบัติงานเรื่อง การจัดทำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน

สานักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551). คู่มือการ กระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สานักงานฯ.

 

 

หมายเลขบันทึก: 549421เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2013 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2013 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท