deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

นโยบาย “ขาดแคลน-ล้นตลาด”


 นโยบาย “ขาดแคลน-ล้นตลาด”  โดย มีดสองคม

ข่าวม็อบเกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือ มีให้อ่านอยู่บ่อยๆ และในช่วงต้นเดือนกันยายน 2556 คงต้องเป็นม็อบชาวสวนยางกับม็อบชาวไร่ข้าวโพดที่ต่างออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยประกันราคาจากราคารับซื้อผลผลิตต่ำกว่าต้นทุนการผลิต ทำให้เกษตรกรต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมจากนโยบายการประกันราคา ที่ยึดถือแต่ข้อกำหนดที่ได้ทำไว้ในหน้ากระดาษไม่ได้มองให้ลึกเห็นถึงความเป็นจริง เช่น ประกันราคารับซื้อ........ที่ XXบาท ต่อลิตร,กิโล,ตัน ความชื่นไม่เกิน XX เปอร์เซ็น จึงจะได้ตามราคาที่ประกาศไว้  แน่นอนเมื่อเกษตรกรเห็นว่าพืชชนิดนี้ราคาดีรัฐฯประกันราคาไว้ก็แห่กันปลูกเพราะเห็นถึงรายได้ที่จะได้รับ จนลืมศึกษาดูรายละเอียดกฎเกณฑ์ที่มี เมื่อผลผลิตออกมาก็ต้องออกมาปิดถนนประท้วงกันซ้ำซาก

เมื่อหันกลับมาดูอาจจะเป็นวัฐจักรวิบัติของเกษตรกรคนไทยที่เมื่อปลูกอะไรสักอย่างก็จะต้องขาดทุนด้วยเรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง มองดูแล้วเป็นเหมือนวงจรที่ เมื่อใดสินค้าทางการเกษตรตัวใดตัวหนึ่งขาดแคลนหรือกำลังราคาดี ก็จะมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการเพาะปลูก “ตามอุปสงค์(demand) ความต้องการซื้อและอุปทาน (supply) ความต้องการขาย”  เกษตรกรก็จะแห่กันปลูกพืชชนิดนั้นจากราคาในขณะนั้นที่สูง แต่เมื่อเวลาเพาะปลูกผ่านไป เข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว ผลผลิตชนิดเดียวกันก็จะทยอยเข้าสู่ท้องตลาด ทำให้ล้นตลาดราคาจึงตกต่ำ ตามกฎของความต้องการของท้องตลาด และในการทำการเกษตรกรรมปัจจุบันมีต้นทุนที่สูงเพราะต้องการให้ได้ปริมาณผลผลิตจำนวนมาก เกษตรกรจึงต้องลงทุนซื้อเมล็ดพันธุ์พืช,ปุ๋ยเคมี,ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ทำให้เกิดต้นทุนขึ้นมา เมื่อจะขายผลผลิตก็จะพบกับสภาวะต้นทุนสูง นี่คือวนเวียนวงจรของผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

จากนโยบายทางการเกษตรที่เพียงสนับสนุน ส่งเสริม ประกันราคา ที่ทุกยุคทุกสมัยหน่วยงานทางการเกษตรทำอย่างต่อเนื่องมากลับกลายเป็นคมดาบที่หันเข้าหาเกษตรกร เหมือนสุภาษิตที่ว่า “ตบหัวแล้วลูบหลัง” ละลายงบประมาณแก้ไขปัญหาแบบเดิมซ้ำซาก รักษากันตามอาการป่วยไปให้หรือปัดปัญหาของแต่ฤดูกาลให้พ้นไป เหมือนนาฬิกาแห่งหายนะทางการเกษตรที่ถึงวนเวียนกลับประจบยังที่เดิม เปลี่ยนเรื่อง เปลี่ยนหัวใหม่ ปัญหาแบบซ้ำเติมคนกลุ่มเก่าๆที่พยายามดิ้นร้นปากกัดตีนถีบเพื่อให้ชีวิตกินดีอยู่ดี แต่แล้วนโยบายการสนับสนุนเพียงต้นน้ำ ทิ้งกลางและท้ายให้เผชิญความเสี่ยง บ้างได้ดี บ้างได้หนี้ เป็นไปตามกรรม การแก้ปัญหานั้นใช่จะเป็นเรื่องยากของผู้มีเงินหรือทุนรอนที่จะนำผลผลิตไปต่อจัดการต่อได้...........ส่วนเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องแบกภาระกันต่อไป

ถึงเวลาพอกันได้ที่ออกนโยบายสวยหรูกู้วิฤกตทิ้งภาระ  ถลุงเงินใช้ไม่คำนึงถึงการบริหารงบประมาณภาษีประชาชนที่ต้องการประโยชน์ที่ได้รับอย่างสูงสุด ทางออกของปัญหาวงจรขาดแคลน-ส่งเสริม-สนับสนุน-ผลผลิตล้นตลาด-ราคาตกต่ำ-ประท้วง-เสียหาย-ขายผ้าเอาหน้ารอด......มีอยู่แล้วในแต่ละโครงการที่จัดทำกันอย่างสวยหรูงดงาม ได้ประโยชน์คุ้มค่ากับเงินในการลงทุน คือ การส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง เช่น เมื่อผลผลิตล้นตลาดหน่วยงานที่สนับสนุนให้ปลูก ให้ลงทุน ต้องรับผิดชอบรับลูกต่อช่วงดำเนินการต่อ เช่น เป็นการแปรรูป,การเก็บถนอม,การเพิ่มมูลค่า ฯลฯ มากมาย หรือการนำงบประมาณไปดูงาน การศึกษาที่มีมาได้ชื่อว่า “ได้แค่ไปดู” ถ่ายรูปประกอบโครงการแล้วนำมาทำเป็นหลักฐานว่าได้ไป คงจะมีการนำผลผลิตทางการเกษตรมาเททิ้ง เผา หรือทำอย่างอื่นที่ไร้ซึ่งประโยชน์อยู่เป็นประจำ ทำให้เสียดายของบางประเทศยังไม่มีจะกิน ต้องอดอยากยังมีให้เห็นเป็นข่าวอยู่ประจำ เรื่องแปรรูปประเทศญี่ปุ่นเค้าเจริญถึงไหนแล้วเพราะเคยเจอกับสงครามโลกครั้งที่ 2 บ้านเมืองพินาศเสียหายไม่มีอาหารเลี้ยงคนมาแล้ว แต่คนประเทศเค้าต้องคิดถนอมไว้ให้นานที่สุดเพื่อเก็บไว้กินจนกลายเป็นเทคโนโลยีหรือภูมิปัญญาประจำชาติไปแล้ว ไม่ใช่ชี้ช่องทางตั้งงบไป........ผลาญ แค่ทำตามโครงการหลวงที่นายหลวง,เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินบ้านเราทุกท่านได้ทำไว้   วงจรขาดแคลน-ล้นตลาด เททิ้ง เทเสีย ม็อบแม็บ คงหมดไป  

 

 

หมายเลขบันทึก: 549179เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท