บทความ เรื่อง แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ


บทความ

เรื่อง  แนวทางการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ

โดย........ เผชิญ  อุปนันท์

     การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะโรงเรียนขนาดเล็กมีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งรัฐจะต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย พุทธศักราช 2550

     การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพราะฝ่ายรัฐเท่านั้นที่ทำได้แต่การชุมชนเป็นฐาน สามารถขับเคลื่อนให้โรงเรียนขนาดเล็ก ให้มีคุณภาพได้ตามแนวทางของ นายสุวิทย์     ยอดสละ ดังนี้

     1. การวินิจฉัยสภาพปัจจุบันโดยใช้เทคนิคการ SWOT เพื่อศึกษาว่ากระแสการเปลี่ยนแปลง

มีผลกระทบต่อโรงเรียนขนาดเล็กอย่างไร

               2. วิเคราะห์ความคาดหวังของโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นภาพอนาคตร่วมกันทั้งบ้าน วัด โรงเรียน(บวร)

     3. สร้างความยึดมั่นต่อวิสัยทัศน์และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาโดยโดยใช้ชุมชนเป็นฐานของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์การ ประกอบด้วย นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน

     4. พัฒนาแผนปฏิบัติการร่วมกันทุกภาคส่วน (บ้าน วัด โรงเรียน) โดยจะต้องตอบคำถามว่า จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงอะไรเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ ใครคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง วิธีแทรกเสริมคืออะไร ต้องใช้อย่างไร และได้มาจากไหน ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันในเรื่องใดบ้าง

     5.  ดำเนินการเปลี่ยนแปลง ในขั้นนี้ต้องใช้วิธีแทรกเสริมหลายๆวิธีมาเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของทุกภาคส่วน(บวร)โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการพัฒนาในการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพ และมุ่งนำแนวคิด 1) บริบทด้านการพัฒนาโรงเรียน 2) แนวคิดความมีระสิทธิภาพของโรงเรียน เพื่อเปลี่ยนแปลงการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กที่มีหน่วยการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน ประกอบด้วย ผู้ปกครอง ที่ศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย(กศน.)และนักเรียนที่เรียนในระบบ(สพฐ.)

     6.  การประเมินและเพิ่มระดับการเปลี่ยนแปลง เป็นการเปรียบเทียบระหว่างสภาพปัจจุบันกับภาพอนาคตว่ายังปรากฏช่องว่างอยู่หรือไม่ หากไม่ปรากฏหรือปรากฏน้อยก็ต้องเพิ่มระดับการเปลี่ยนแปลงให้มากขึ้นในวงรอบต่อไป

      การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ ผู้นำต้องกล้าคิดนอกกรอบ เปลี่ยนแนวคิดใหม่ มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน มีการทำงานเป็นทีม มีเครือข่ายในการทำงาน จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับชุมชนหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่น อาจต้องใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้เพราะมีครูไม่ครบชั้น หรืออาจจัดการการเรียนการสอนนอกระบบและตามอัธยาศัย สามารถประสานสิบทิศร่วมกับ บ้าน วัด โรงเรียน จัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการขับเคลื่อนในการจัดการศึกษา เพื่อสร้างทางเลือกในการบริหารจัดการศึกษาแนวใหม่ กล่าวโดยสรุปคือ 1) สร้างจุดเด่น 2) เน้นเครือข่าย 3) ใช้ ICT 4)มีแหล่งเรียนรู้ 5) บูรณาการ 6) ประสานสิบทิศ 7) คิดนอกกรอบที่เชื่อมโยงกับการศึกษา

               ชุมชนมีส่วนสำคัญยิ่งในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะสามารถวิเคราะห์อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของโรงเรียนได้ดีกว่าบุคคลภายนอก จึงพัฒนาโรงเรียนของตนเองให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 549175เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท