My Palliative Care (2)


Death Acceptance Level Assessment

การประเมินความคิดความคาดหวังของผู้ป่วยและญาติหรือผู้ดูแลเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการแพทย์ในช่วงที่เริ่มทราบวินิจฉัยโรค ไม่ว่าโรคนั้นหรือสภาวะร่างกายตอนนั้นจะมีพยากรณ์โรคอย่างไรก็ตาม เนื่องจากอุปสรรคในการดูแลสามารถเกิดขึ้นได้เสมอหากความเข้าใจของแต่และฝ่ายไม่ตรงกัน

การเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง หรือภาวะเสี่ยงชีวิตอื่นทางอายุรกรรม ดูเหมือนจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มากที่สุด ต่อจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว โดยความกลัวที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ ได้แก่ “ความกลัวต่อความตาย” ก่อให้เกิดอาการท่าร่างกายและจิตใจต่อเนื่อง ซึ่งความตายนั้นยากต่อการยอมรับและปรับตัว ตามหลักการของ Elizabeth Kubler-Ross (ค.ศ.1926-2004) อาจจะไม่สามารถนำมาประยุกต์จนเกิดความเข้าใจได้ในหลายๆกรณี เนื่องด้วยความตายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจินตนาการได้ที่จะวางใจยอมรับได้จริง เพราะไม่มีประสบการณ์ที่เทียบเคียงได้ในอดีต อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของร่างกายหรือระยะของโรค ความกลัวต่อกระบวนการรักษา และความผิดหวังต่างๆในชีวิตช่วงนี้ ล้วนถูกจัดเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เสมอสำหรับผู้ป่วยและญาติในหลายๆกรณี เช่น การยอมรับระยะของโรค การยอมรับการรักษา การยอมรับการขาดงาน การยอมรับการสูญเสียอวัยวะ การพลัดพรากจากคนรัก ซึ่งสิ่งดังกล่าวยังสามารถทำนายและเยียวยาได้ตามความเข้าใจของ Elizabeth Kubler-Ross ได้อยู่ทั้งนี้หากมีการประเมินความยอมรับด้านความตายในมุมมองของผู้ป่วยและญาติผู้ดูแลร่วมกันไปด้วยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสนทนาในเรื่องการวางแผนดูแลต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

โดยทั่วไปการยอมรับความตาย (Death Acceptance) ในมุมมองของผู้เขียน มีได้แตกต่างกันส่วนบุคคล แบ่งเป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ

1.        ฉัน/ญาติของฉันยังตายไม่ได้

2.        ฉัน/ญาติของฉันตายก็ได้ แต่หากไม่ตายก็ดี

3.        ฉัน/ญาติของฉันตายก็ได้ หรือไม่ตายก็ได้

4.        ฉัน/ญาติของฉันควรอยู่ให้ดีที่สุดจนถึงเวลาสุดท้าย เพื่อชีวิตหลังความตายที่ดี (ตามคติของแต่ละศาสนา)

 

โดยหากสามารถตั้งคำถามต่อผู้ป่วยหรือญาติในขณะที่อยู่แยกกัน ทำให้ทีมการรักษาเข้าใจบริบทการยอมรับการรักษาหรือการดูแลในอนาคตได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำเข้าสู่การพูดคุยในเชิงลึกต่อไป

ผู้เขียนสังเกตพบว่าหากผู้ป่วยหรือญาติมีระดับการยอมรับอยู่ที่ 1 หรือ 2 อาจจะพบได้บ่อยในโรงพยาบาลทุติยภูมิหรือตติยภูมิ และมีแนวโน้มจะเกิดความยากลำบากในการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ผู้ป่วยและญาติมีการยอมรับอยู่คนละระดับกัน อาจจะเป็นปัจจัยเสริมในการเข้าดูแลในห้อง ICU เพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนการยอมรับในระดับที่ 3 และ 4 จะสามารถพบได้บ่อยในโรงพยาบาลทุติยภูมิลงมา อาจจะเนื่องมาจากผ่านการดูแลจากตติยภูมิมาเรียบร้อยแล้วจึงไม่ค่อยคาดหวังต่อการหายจากโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ในทำนองเดียวกันหากเราพบว่าระดับการยอมรับ ที่ 3 หรือ 4 ในโรงพยาบาลตติยภูมิเราสามารถคาดกาลได้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มจะกลับออกไปใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่โรงพยาบาลต้นสังกัดหรือที่บ้านได้มากกว่า ยกเว้นเพียงกรณีที่ ผู้ป่วยอยู่ในระดับ 3 หรือ 4 ขณะที่ญาติผู้ดูแลอยู่ในระดับที่ 1 หรือ 2 เป็นต้น  

ทั้งนี้ในบางกรณี ที่การพูดคุยเพื่อประเมินระดับความยอมรับนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก เนื่องจากหลากหลายสาเหตุ เช่น ความไม่ศรัทธาของผู้ป่วยและญาติต่อทีมการรักษาหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและจำใจต้องใช้สิทธิ์การรักษา การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีไม่เกิดขึ้นระหว่างผู้ดูแลและทีมการรักษา ไม่มีบรรยากาศการพูดคุยที่อบอุ่นและสงบพอ หรือผู้ป่วยและญาติยังอยู่ในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินและยังไม่ทราบความจริงทั้งหมด

 

Patient and Family Conflicts and Wishes Clarification

เป็นการพูดคุยเพื่อสืบหาความต้องการ การรับรู้ การตีความหมายของผู้ป่วยและญาติในเชิงลึกซึ่งอาจจะให้เวลาตนเองหรือทีมผู้ดูแลได้ทำความรู้จักลักษณะ ปฏิสัมพันธ์ต่างๆของผู้ป่วยและครอบครัวมากขึ้น ก่อนการแนะนำหรือเชื้อเชิญให้ผู้ป่วยหรือญาติทำกิจกรรมต่างๆ ที่ทีมเห็นว่าเป็นประโยชน์ในการทำใจยอมรับความเจ็บป่วยหรือความตาย ทั้งนี้ การดูแลเรื่องความทุกข์ทรมานทางร่างกายไปพร้อมๆกันเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เพราะ ศักยภาพการสื่อสารถึงความต้องการ หรือความปรารถนา หรือปมขัดแย้งใจต่างๆจะถูกบดบังด้วยความทรมานทางร่างกายที่ไม่ถูกแก้ไขให้อยู่ในระดับที่ดีพอ การเข้าถึงผู้ป่วยในขั้นตอนนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถผู้ดูแลและทีมการรักษาอย่างมาก ทั้งนี้ทีมการรักษาโดยเฉพาะแพทย์เจ้าของไข้และพยาบาล จัดเป็นอาชีพที่มีบารมีมากพอในการเข้าถึงเรื่องเหล่านี้ เนื่องด้วยพื้นฐานความเชื่อถือ ศรัทธา ความไว้วางใจที่ผู้ป่วยและญาติให้ไว้ ติดอยู่ด้วยเพียงข้อจำกัดของเวลาและทักษะการสื่อสาร ในสถานที่พยาบาลที่มีข้อจำกัดด้วยอัตรากำลัง ก็สามารถทำได้ด้วยการทำงานเป็นทีม ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะมีบุคลากรเหล่านี้อยู่หรือไม่ ซึ่งมีความสามารถในการสื่อสารอย่างตั้งใจ และสามารถให้เวลากับผู้ป่วยและญาติได้จริง อาจจะเป็นชั่วโมง หรือช่วงนอกเวลาราชการ หรืออาจจะเป็นการสื่อสารช่องทางพิเศษต่างๆนอกเหนือจากการพบเจอตัวโดยตรง เช่น โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ตัวอย่างบุคลากรในทีมที่มีศักยภาพ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลหรือนักสังคมสงเคราะห์ที่ผ่านการฝึกการให้คำปรึกษา อาสาสมัครที่ผ่านการอบรมการให้คำปรึกษา ทีมสาธารณสุขที่มีความสามารถอื่นๆ เช่น นักโภชนากร เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักศึกษาแพทย์-พยาบาล ตลอดจนญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่สามารถประสานงานกับทีมผู้ดูแลได้

ระบบการดูแลที่เอื้อต่อการสื่อสารระหว่างบุคลากรของทีมการดูแลรักษานั้นถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการวิเคราะห์และเชื่อมโยงปัญหา ทั้งด้านความคิด ความคาดหวัง ปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจและความเชื่อ ปมทางจิตใจ เรื่องค้างคาใจ เรื่องทางจิตวิญญาณต่างๆได้ เช่น การมี Psychosocial conference หรือ Quality round เป็นประจำและมีการจดบันทึกที่ได้มาตรฐาน หรือการใช้ระบบการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการเข้าร่วมประเมินสิ่งต่างๆอย่างรอบด้าน โดยใช้ทักษะของทีมการดูแลแบบสหสาขาวิชา เราเรียกว่า Multidisciplinary approach

ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเรื่องการตั้งคำถามในการเข้าถึงประเด็นดังกล่าว ดังต่อไปนี้ตาม “IFEELED” model

Idea : “คุณน้าป่วยเป็นโรคนี้มานาน อาการก็ดูหนักขึ้นทุกวัน คุณน้าคิดอย่างไรบ้างขณะนี้ครับ”

              “คุณป้าลองเล่าให้หนูฟังนิดหนึ่งได้ไหมคะว่าคุณป้าคิดอะไรอยู่”

              “ที่คุณลุงได้ทราบถึงการวินิจฉัยและการวางแผนทั้งหมดแล้วคุณลุงคิดอย่างไรบ้างครับ”

           “หมออยากทราบว่าการที่คุณเลือกที่จะเข้ามาดูแลรักษาต่อที่โรงพยาบาลนี้เพราะเหตุผลอะไรบ้างคะ”

           “ในขณะที่คุณป่วยอยู่นี้ คุณคิดเห็นอย่างไรต่อโรค และต่อการรักษาบ้างคะ”

Feeling : “การที่คุณน้าทราบถึงสถานการณ์ทั้งหมดที่ผมได้พูดไปเกี่ยวกับโรค คุณรู้สึกอย่างไรครับ”

               “สถานการณ์ตอนนี้ทำให้คุณอึดอัดอย่างไรบ้าง หากเป็นไปได้คุณช่วยระบายให้หมอได้มีโอกาสเข้าใจคุณมากขึ้นนะครับ”

               “หากหนูเจอแบบเดียวกัน ก็คงจะรู้สึกเครียดไม่น้อย คุณรู้สึกอย่างไรกับสุขภาพตอนนี้บ้างคะ”

               “ความเครียดที่เกิดขึ้นในใจของคุณลุง เป็นแบบไหนครับ แบบเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวังหรือแบบกลัว กังวล มากกว่ากัน”

Expectation : “คุณน้าอยากให้ผมช่วยเรื่องอะไรมากที่สุดขณะนี้ครับ”

               “หากเลือกได้คุณลุงต้องการให้ทีมของเราช่วยเรื่องอะไรบ้างครับ”

               “คุณป้าต้องการให้หนูช่วยอะไร บอกให้หนูรู้ได้ตลอดนะคะหนูยินดีช่วยเต็มที่เลยค่ะ”

               “หากอาการของโรคดีขึ้นบ้าง คุณป้าอยากทำอะไรเป็นอันดับแรก”

               “หากมีผู้วิเศษมาเยี่ยม หรือสามารถขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้จริงตอนนี้เลย หนูอยากจะขออะไรบ้าง ๓ อย่าง..คิดดีๆนะจ๊ะ”

Effect : “การเจ็บป่วยในครั้งนี้น่าจะทำให้คุณและสมาชิกครอบครัวท่านอื่นลำบากมาก พอจะเล่าให้หมอฟังได้ไหมครับ”

                “ความเสียอะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับคุณขณะที่เจ็บป่วยอยู่นี้ เผื่อว่าเราจะมาช่วยกันแก้ไขได้”

                “นอกจากข้อเสียที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยหนักครั้งนี้ หรืออาจจะเสี่ยงถึงชีวิต มีอะไรดีๆเกิดขึ้นกับคุณหรือคนรอบข้างบ้างคะ” 

Life meaning : “ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ผมทราบว่าคุณผ่านชีวิตมามาก ช่วยแบ่งปันให้ผมฟังบ้างซิครับว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุด”

               “คุณลุงคิดอย่างไรบ้างคะ กับชีวิตที่ผ่านมาตลอดช่วงเวลาที่คุณลุงเจ็บป่วย และต้องเข้ารักษาตัวบ่อยๆ”

               “ชีวิตที่ผ่านมาคงมีอุปสรรคมากมาย แล้วชีวิตที่เหลืออยู่คุณน้าคาดว่าจะเดินอย่างไรต่อไปครับ”

              “อะไรบ้างที่ผุดขึ้นมาในใจของคุณป้าขณะที่เจ็บป่วยหนักๆ บ้างครับ สิ่งไหนที่หากมีโอกาสจะต้องทำให้ได้ในชีวิตนี้”

                                “คุณแม่..ขณะที่ท่านนอนเจ็บป่วยอยู่ช่วงที่มีสติรู้ตัวดีอยู่ ท่านเคยเอ่ยถึงใคร สิ่งใด หรือท่านสั่งเสียอะไรหรือไม่อย่างไรครับ”

Empowerment : “อุปสรรคที่ผ่านมาในชีวิตมีมากมาย คุณตามีกำลังใจฝ่าฟันอุปสรรคมาได้อย่างไรครับ”

              “หากคุณเห็นคนที่รักคุณเค้ามีความทุกข์มากๆ เพราะห่วงใยคุณมาก คุณอยากจะปลอบใจเค้าว่าอย่างไรบ้าง”

              “หากคุณพ่อของคุณมีอาการทรุดลง ขณะที่เราพยายามกันเต็มความสามารถแล้วคุณจะให้กำลังใจเค้าอย่างไร”

              “กำลังใจของคุณป้ามาจากไหนครับ ในตอนที่ชีวิตตกอยู่ในช่วงที่วิกฤติครับ”

Death Acceptance :

             “ในสถานการณ์ตอนนี้ไม่ว่าการแพทย์จะมีเหตุผลอย่างไรก็ตามที่จะยกขึ้นมาทำนายอนาคตของคุณ ผมคิดว่าเป็นไปได้ ๓ ทางคือโรคมีโอกาสดีขึ้น หรือมีโอกาสคงที่ หรือสุดท้ายทรุดลง หากเป็น ๒ อย่างแรกหมอและคุณคงจะดีใจ แต่หากเป็นอย่างหลังสุดคุณจะคิด หรือทำใจอย่างไรครับ”

“โรคนี้มีโอกาสทรุดลงได้อีกต่อจากนี้ ซี่งไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าเมื่อไร หมอเชื่อว่าจิตใจที่เข้มแข็งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในตอนนี้ คุณเคยคิดจินตนาการเกี่ยวกับการจากไปของคุณอย่างไรบ้างครับ”

“โดยปกติความเจ็บป่วยที่รุนแรงอาจจะนำมาซึ่งความไม่แน่นอนของชีวิต คุณน้ามองเรื่องการยอมรับความตายอย่างไรบ้างในขณะนี้ของตัวเราเอง ว่าอยู่ในระดับไหน...ลองพิจารณาดูนะครับระหว่าง ฉันยังตายไม่ได้ หรือ ฉันตายก็ได้แต่ไม่ตายก็ดี หรือฉันตายก็ได้ไม่ตายก็ได้” 

“ในมุมมองของญาติพี่น้องทุกคนเห็นตรงกันหรือ ยอมรับในระดับเดียวกันเรื่องการจากไปหรือเสียชีวิตของผู้ป่วยหรือไม่ อย่างไรครับ”

“เพื่อความไม่ประมาทช่วงที่คุณเองก็ยังสามารถตัดสินใจด้วยตนเองได้ ซึ่งคุณเองก็พร้อมยอมรับในความไม่แน่นอนของชีวิต คุณต้องการทำพินัยกรรมชีวิตหรือไม่อย่างไร” “พินัยกรรมชีวิตคือ...”

    

 

Crisis Intervention or Psycho-sociological Counseling and Management

หลังจากทราบและเข้าใจความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง ความปรารถนา ปมในอดีตต่างๆของผู้ป่วยและครอบครัวก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการวางแผนการดูแล การให้แรงเสริมด้านต่างๆ ที่เป็นการช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม จนถึง เป็นเพียงคำพูดให้กำลังใจที่เหมาะสมก็สามารถนำมาใช้ได้ เช่น การชื่นชมสิ่งที่มีอยู่ สิ่งที่เหลืออยู่ มากกว่าเพ่งเล็งถึงสิ่งที่ขาดไป หรือสิ่งที่หายไป ตลอดจนการให้คำปรึกษาด้านจิตใจ สังคมเศรษฐกิจ ด้านมุมมองต่อการใช้ชีวิตในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งการสื่อสารกันระหว่างสหสาขาวิชาชีพเพื่อความเข้าใจผู้ป่วยและญาติอย่างลึกซึ้งและสามารถให้การดูแลต่อเนื่องไปในทางเดียวกัน เรียกว่า “Interdisciplinary approach

การให้ Crisis Intervention โดยทั่วไปสามารถทำได้เป็นลักษณะรายบุคคล เช่น ทำต่อผู้ป่วยที่รับผิดชอบตนเองได้สูง หรือทำเป็นกลุ่มคน เช่น การทำให้กับญาติหรือสมาชิกครอบครัวผู้ให้การดูแลผู้ป่วย โดยผู้ที่สามารถทำได้จำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมเบื้องต้นถึงขั้นตอนที่เหมาะสม การจัดสิ่งแวดล้อม การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย การตั้งคำถามที่ดี การเสริมกำลังใจที่ไม่เกินความจริง และมีการฝึกฝนทักษะเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ

 

“Crisis is a perception or experiencing of an event or situation as an intolerable difficulty that exceeds the person’s current resources and coping mechanisms” 

James RK, Gilliland BE

 

หลักการของ Crisis Intervention ควรมีการรวมเอาทักษะของการให้คำปรึกษาพื้นฐานเข้ามาร่วมกับการสื่อสารที่เป็นขั้นตอน ๖ ก้าว มุ่งเน้นการฟังอย่างตั้งใจและการให้คำปรึกษา ภายในขอบเขตของการประเมินอย่างแยบคาย โดยการฟังและการให้คำปรึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

: ทักษะการฟัง (Listening activities)

            Step 1 : Defining the problem การระบุปัญหาที่ชัดเจนและตรงประเด็น

            Step 2 : Ensuring client safety การจัดสถานที่ที่เหมาะสมต่อการพูดคุย และเยียวยาอาการทุกข์ทรมานเฉพาะหน้าหรือภาวะเร่งด่วนทางร่างกายก่อน

            Step 3 : Providing support การให้การเยียวยาต่อเนื่องทั้งทางร่างกายและการปลอบใจ

: ทักษะการให้คำปรึกษา (Acting activities)

            Step 4 : Examining alternative การสอบถาม การให้คำปรึกษาทางออกของปัญหาอย่างรอบคอบ

            Step 5 : Making plans การวางแผนการดูแลร่วมกันระหว่างผู้รับคำปรึกษาและผู้ให้คำปรึกษา

            Step 6 : Obtaining commitment การตั้งใจมั่น การให้สัญญา การเพิ่มความเชื่อมั่นเพื่อการดูแลต่อเนื่อง

ส่วนการประเมินอย่างแยบคาย สามารถแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน ได้แก่

: ความรุนแรงของภาวะวิกฤตนั้น (Severity of the crisis)

            Affective state อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นเกิดขึ้นจากการเผชิญภาวะวิกฤต

            Behavioral functioning การปฏิบัติตัวทั้งที่เป็นประโยชน์หรือเป็นความเสี่ยง

            Cognitive state ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติต่อภาวะวิกฤต และทางออก

: ภาวะทางอารมณ์ของผู้รับผลกระทบ (Client’s current emotional status)

            Duration of crisis ระยะเวลาที่ผู้รับผลกระทบเผชิญต่อภาวะวิกฤตนั้น

            Emotional reservoir ความทนได้ต่อความทุกข์ หรือประสบการณ์ชีวิต

: แหล่งการช่วยเหลือต่างๆ ทั้งภายในบุคคลและภายนอกบุคคล เช่น ความคิดทางบวก กลไกป้องกันทางจิต บุคลิกพื้นฐาน แหล่งสนับสนุนทางการเงิน การเข้าถึงการรักษา สิทธิ์การรักษา ระบบการช่วยเหลืออื่นๆ ของโรงพยาบาลหรือสังคม (Alternatives, coping mechanisms, support systems and other resources available)

: ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตนี้ (Client’s level of lethality)

 

Advance Care Plan

 การประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยและญาติเพื่อวางแผนการดูแลในช่วงวิกฤตของชีวิต (Advance Care Plan) โดยหลักการผู้ป่วยควรเป็นผู้ตัดสินใจและอธิบายสิ่งที่ตนเองต้องการหรือไม่ต้องการในช่วงเวลาที่ตนเองหมดสติ หัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจ ซึ่งการประชุมเสวนาครั้งนั้นถือเป็นการเจริญมรณสติ (Death Awareness) ที่สำคัญ และเสริมสร้างความรู้สึกถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์(Patient Dignity) แพทย์เจ้าของไข้สามารถเน้นให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจว่าการพูดคุยนั้นไม่ได้ทำไปเพื่อจะปฏิเสธการให้การรักษา หรือเป็นอวมงคล หากแต่เป็นการให้เกียรติ ให้โอกาสในการตัดสินใจในการดูแลชีวิตร่วมกันของผู้ป่วย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของชีวิตอย่างแท้จริง โดยทั่วไปเราสามารถพูดคุยเรื่องนี้ได้ทุกระยะของการรับรู้ความเจ็บป่วย โดยอาจจะพิจารณาค่าคะแนน Palliative PerformanceScale (PPSv2) ที่ไม่เกิน 40 คะแนน (ได้แปลเป็นภาษาไทยโดย พญ.ดาริน จตุรภัทรพร) เพื่อลดความลังเลในการเลือกตัดสินใจ เมื่อเทียบกับการพูดคุยในขณะที่ค่าคะแนนสูงกว่า 40 ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยรับรู้ความเห็นใจ ความใส่ใจบิดเบือนไปจากความต้องการของทีมการดูแล กลายเป็นความโกรธเคืองหรือเสียใจได้ ซ้ำยังมีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจกลับไปกลับมาได้มากในอนาคต

 

Advance Directive คือ การแสดงเจตนา หรือเอกสารแสดงเจตนาที่ทำไว้ล่วงหน้า เช่น การทำพินัยกรรมชีวิต (Living Will) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือ เพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ตามกฏหมายในปัจจุบัน อ้างอิงตามที่มาตรา ๑๒ แห่งราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้บุคคลมีสิทธิในการทำหนังสือแสดงเจตนานี้ โดยให้ค

หมายเลขบันทึก: 549148เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 12:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาตามรอย และขออนุญาตินำไปเผยแพร่และบอกต่อ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท