ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ประเด็นน่ารู้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ตอน ๒)


ประเด็นน่ารู้ในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ตอน ๒)

 

โดย พระบุญฤทธิ์  ชูเลื่อน  (วิชฺชาธโร) 

เลขที่ ๑ สาขารัฐศาสตร์การปกครองชั้นปีที่ ๓

 

๑.    ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

            ความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชาที่กำลังเดินอยู่นั้นไม่ได้ส่งผลแค่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเท่านั้น  หากแต่ยังส่งผลกระทบต่อความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ความคลั่งชาติของกลุ่มพันธมิตรเพื่อประชาธิปไตยที่ปรากฏให้เห็นในสาธารณะนั้นรุนแรง  ก้าวร้าว  และขาดสติ   ข้อเสนอที่น่ากังวลมากคือการที่ผู้นำกลุ่มพันธมิตรเสนอให้มีการบุกเข้าไปยึดพื้นที่ในกัมพูชา  จนกว่าจะมีการคืนปราสาทเขาพระวิหารให้กับประเทศไทย    ราวกับว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ก้าวร้าว  บ้าคลั่ง  และรุกราน        

            แน่นอนว่าความขัดแย้งระหว่างสองประเทศนั้นจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพียงแค่สองประเทศเท่านั้น   หากแต่ยังจะส่งผลกระทบเป็นโดมิโนไปยังประเทศและความร่วมมืออื่น ๆ  เพราะกรณีของไทยกับกัมพูชานั้น  ทั้งสองเป็นสมาชิกของอาเซียน  และโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  หรือจีเอ็มเอส

            แน่นอนว่าอาเซียนซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ย่อมได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย  เพราะอาเซียนต้องเผชิญกับคำถามในมิติทางความมั่นคงที่ว่า  ทำไมอาเซียนถึงไม่มีบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  และอาเซียนควรมีการปรับเปลี่ยน  “วิถีอาเซียน”  หรือไม่

            วิถีอาเซียน  คือ  แนวทางในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศภายในอาเซียน  มันเป็นคำที่ใช้เรียกกระบวนการแก้ไขปัญหาตามที่ระบุไว้ใน  “สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ซึ่งเกิดขึ้นในปี  ค.ศ.๑๙๗๖  สนธิสัญญานี้กำหนดหลักการสำคัญ ๆ ในการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศไว้  คือ  การเคารพซึ่งความเท่าเทียมอำนาจอธิปไตย  บูรณภาพแห่งดินแดน  และอัตลักษณ์ของแต่ละชาติ  หลักการไม่ถูกแทรกแซงกิจการภายใน  การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี  และการไม่ใช้กองกำลังทางทหาร  วิถีดังกล่าวได้ถูกเรียกรวมกันว่า  วิถีอาเซียนและใช้ในการเป็นแนวทางในการจัดการเรื่องราวภายในอาเซียนตลอดมา

            สิ่งที่พอจะทำได้ในปัจจุบัน  คือ การรอคอยว่าเมื่อใดที่มือที่กุมกำความหวงแหนเหล่านั้นจะค่อย ๆ คลาย  และมองว่าเส้นเขตแดนเป็นเพียงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น  เป็นจินตนาการร่วมกันของคนในรัฐและเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญของนักการเมืองที่หยิบขึ้นมาใช้ได้เพื่อปลุกความเป็นชาตินิยม

            หากจะกล่าวสรุปต่อบทบาทของอาเซียน  เราจะเห็นได้ว่า  อาเซียนแม้จะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ทุกประเทศคาดหวังให้เป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือในมิติต่าง ๆ  แต่อาเซียนเองก็ยังมีกลไกการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ  เพราะยังไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงแสดงความเห็น  หรือใช้กองกำลังในการจัดการแก้ไขปัญหา  บรรเทา  เยียวยา  หรือให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ได้  แม้อาจโต้เถียงว่า  เพราะอาเซียนมิได้มีกำลังเป็นของตนเอง   แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า  อาเซียนจะมีกองกำลังที่ไว้บรรเทาทุกข์ไม่ได้  บางทีเราอาจจะต้องดูตัวแบบจากสหภาพยุโรปการมีกองกำลังไว้เป็นของตนเอง   เพียงแต่เปลี่ยนร่างแปลงรูปและบทบาทของกองกำลังไม่ได้ให้มีอำนาจในการรุกรานหรือไปทำร้ายใคร  แต่มีไว้เพื่อรักษาความสงบสุข  ไว้ให้ความช่วยเหลือแก่พื้นที่ต่าง ๆ

            อีกประการหนึ่ง  ประเทศไทยและพม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนทางบกและทะเลติดต่อกันยาวรวม  ๒,๔๐๑  กม.  ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงปัจจัยในแง่ต่าง ๆ ทั้งในระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ  เงื่อนไขและทัศนคติทางการเมืองที่ต่างกัน  ปัญหาการเมืองภายในพม่าและชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน   ความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันอันเป็นผลมาจากภูมิหลังประวัติศาสตร์  รวมถึงบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่าจึงเป็นเสมือนภาพที่สะท้อนความขัดแย้งอันเป็นผลพวงจากประเด็นปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นที่สามารถปะทุขึ้นเป็นชนวนของความบาดหมางระหว่างกันได้ตลอดเวลา  ในห้วงที่ผ่านมา  การปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลไทยชุดต่าง ๆ ส่งผลให้รูปแบบและน้ำหนัก รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินความสัมพันธ์กับพม่ามีความแตกต่างกันไป

            ความบาดหมางในความสัมพันธ์ของประเทศทั้งสอง  นับตั้งแต่เหตุการณ์ยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าในปี  ๒๕๔๒  จนกระทั่งถึงการปะทะกันตามแนวชายแดนและการทำสงครามจิตวิทยา  โจมตีซึ่งกันและกันอย่างรุนแรงในห้วงต้นปี  ๒๕๔๔  ส่งผลให้บรรยากาศความสัมพันธ์โดยรวมอยู่ในสภาวะตึงเครียด  และตกต่ำถึงขีดสุดเมื่อรัฐบาลพม่าตีพิมพ์บทความจาบจ้วงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย  ซึ่งพัฒนาการความขัดแย้งดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกระแสชาตินิยมและความรู้สึกต่อต้านพม่าอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนไทย

            สรุป  ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้ง  ๒  ที่ได้กล่าวมาแล้ว  เพื่อให้รู้ถึงสภาวะที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซึ่งเป็นปัญหาของไทย  โดยได้หยิกยกเอาประเทศเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง  มาเป็นประเด็นวิเคราะห์  เพื่อจะได้รับรู้ข่าวสารเรื่องราวความเป็นไปของสังคมโลก  และอีกประการหนึ่งเพื่อพัฒนาการทักษะในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย.     [๑]

 

๒. ความขัดแย้งระหว่างประเทศ

            ปรากฏการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ  ที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยก็คือ  ความขัดแย้ง  ซึ่งหมายถึงสภาวการณ์ที่ประเทศ ๒ ประเทศขึ้นไป  มีปัญหาบางประการที่ต้องกระทำการตกลงหรือระงับข้อปัญหานั้นเสียก่อน  มิฉะนั้นสภาวะดังกล่าวจะมีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศไม่อาจดำเนินไปอย่างเป็นปกติได้  สำหรับสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศพอสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

            ๑. การขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของชาติ  โดยทั่วไปนั้น  เมื่อประเทศหนึ่งพิจารณาเห็นว่าอีกประเทศหนึ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศของตนมาก  จนกระทั่งเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์ของชาติตน  การขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองย่อมจะเป็นผลติดตามมา  สำหรับผลประโยชน์ของชาตินั้นก็ได้แก่สิ่งที่ผู้นำหรือประชาชนของประเทศหนึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการธำรงไว้ซึ่งเอกราช  วิถีชีวิต  ความมั่งคั่งของประเทศและเกียรติภูมิของประเทศ   ขอยกตัวอย่างเช่น  ชาติมหาอำนาจชาติหนึ่งเพิ่มกำลังอำนาจทางทหารขนาดใหญ่  จนกระทั่งชาติมหาอำนาจอีกประการหนึ่งเห็นว่าจะเป็นอันตรายต่อเอกราช  วิถีชีวิต และเกียรติภูมิของชาติของตน   การขัดแย้งระหว่างประเทศจะเกิดขึ้นทันที

            ๒. ทัศนคติที่มีต่อกัน  กล่าวได้ว่าทัศนคติเป็นจิตวิสัย  ซึ่งขึ้นอยู่กับทัศนคติของประชาชนของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ  ทัศนคติของความไม่ไว้วางใจกันมาแต่ก่อนจะเป็นตัวกำหนดนโยบายต่างประเทศ  ขอยกตัวอย่างเช่น  เวียดนามมีทัศนคติสืบต่อเนื่องจากอดีตว่า  จีนได้เคยรุกรานเวียดนามหลายครั้งและเวียดนามได้ตกไปเป็นเมืองขึ้นของจีน  เพราะฉะนั้นทัศนคติของประชาชนในเวียดนามจึงมีความหวาดระแวงจีนอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

            นอกจากนั้นยังมีทัศนคติทางด้านวัฒนธรรมอีกด้วย  กล่าวคือประเทศในยุโรปมักจะมีทัศนคติว่าวัฒนธรรมของตนสูงกว่าชาติในเอเชียและแอฟริกา  ฉะนั้นเมื่อชาวยุโรปเข้าไปติดต่อค้าขาย  หรือเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบางประเทศของเอเชียและแอฟริกา  เช่น  ในสหภาพแอฟริกาใต้  อูกันดา  ชาวยุโรป  จึงมีทัศนคติดูถูกเหยียดหยามคนผิวดำว่าไม่มีอารยธรรมเท่าเทียมตน

            เพราะฉะนั้น  จากตัวอย่างดังกล่าวข้างต้นเห็นได้ว่า  ทัศนคติที่มีต่อกันย่อมจะนำไปสู่การขัดแย้งระหว่างประเทศได้  หากยังไม่มีการปรับตัวหรือมีการเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อกัน

            ๓. การขัดแย้งทางอุดมการณ์  อุดมการณ์เป็นระบบความคิดที่จะกำหนดแนวทางชีวิตของสังคม  เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรม  ขณะนี้บรรดามหาอำนาจซึ่งถือว่าตนมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับประเทศต่าง ๆ ในโลก  ได้ใช้อุดมการณ์เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

            ๔. การแข่งขันแสวงหาอำนาจ  เป็นที่ยอมรับกันว่า  นับตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์ของความมีชาติหรือประเทศ  ชาติที่มีกำลังมากกว่าได้แสวงหาอำนาจ  โดยเริ่มตั้งแต่การแสวงหาอาณานิคมหรือจักรวรรดินิยมในอดีต  แต่ในปัจจุบันจักรวรรดินิยมเป็นสิ่งที่ล้าสมัย  ฉะนั้นมหาอำนาจจึงได้ใช้วิธีการให้ความสนับสนุนรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ให้ประเทศเหล่านั้นเป็นพันธมิตรกับประเทศของตน

            ๕. การขัดแย้งเรื่องดินแดน  ในปัจจุบันนี้ได้เกิดการขัดแย้งเรื่องดินแดนขึ้นในหลายภูมิภาคของโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง  ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังนับพันปี  กล่าวคือในประมาณ  พ.ศ. ๖๑๓  โรมันได้ขับไล่พวกยิวออกไปจากประเทศปาเลสไตน์ทำให้ยิวต้องเร่ร่อนไปอาศัยอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั้วในทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือและในการดำเนินชีวิตของชาวยิวนั้นกล่าวได้ว่าเป็นพวกเคร่งศาสนาโดยนับถือพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว  และคิดว่าตนนั้นเป็นคนของพระเจ้า  และมีความเชื่อว่าพระเจ้าได้มอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ตน  ฉะนั้นชาวยิวจึงได้จัดตั้งองค์การไซออนส์  โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำชาวยิวกลับสู่ดินแดนปาเลสไตน์[๒]    

 

๓. ขบวนการก่อการร้าย

            แม้จะยังไม่มีหน้าไหนกลุ่มใดออกมาอวดอ้างตัวเป็นผู้หักปีกพญา อินทรี-สหรัฐอเมริกาจนวินาศสันตะโรกระฉ่อนโลก แต่สหรัฐ ก็เริ่มปฏิบัติการชำระแค้น ตามล้างตามล่ากลุ่มก่อการร้ายที่อยู่ในข่ายต้องสงสัยแล้ว และทั่วโลกก็กำลังจับตาดูอยู่ด้วยใจระทึก !?!

            กลุ่มก่อการร้ายกลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น มีรายงานว่าทุกวันนี้มีอยู่ประมาณ ๓๗ กลุ่ม แต่ในส่วนของ "กลุ่มผู้ก่อการร้ายสากล" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ปัจจุบันมีดังนี้

            ๑. กลุ่มเฮซบอลลาห์ เป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมชีอะ ชาวปาเลสไตน์ บางครั้งใช้ชื่อกลุ่มอิสลามิกญิฮัด หรือองค์กรการปฏิวัติเพื่อความยุติธรรม หรือ องค์การปลดปล่อยโลก และกลุ่มอิสลามิ ญิฮัด เพื่อการปล่ดปล่อยปาเลสไตน์

            ๒. กลุ่มอิสลามิ ญิฮัด และชาวปาเลสไตน์ เป็นกลุ่มชาวปาเลสไตน์หัวรุนแรง จัดตั้งเป็นกลุ่มภายใต้โครงสร้างอย่างหลวม ๆ ตั้งแต่ปี ๒๖๐๓ ในดินแดนฉนวนกาซา โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดจั้งรัฐปาเลสไตน์อิสลามขึ้น และทำลายล้างประเทศอิสราเอล และสหรัฐฯ เพราะเชื่อว่า สมรู้ร่วมคิดลอลสัหารนายปาห์ติ ชากากิ ที่มอลตา เมื่อตุลาคม ๒๕๓๘

            ๓. กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ กองบัญชาการใหญ่ ผู้นำกลุ่ม คือ นายอาหมัด จิบริล อดีตนายทหารซีเรีย มีเป้าหมายที่อิสราเอล และก่อการ้ายต่อองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ด้วย

            ๔. กลุ่มอาบู นิดาล เป็นกลุ่มก่อการ้ายปาเลสไตน์ นำโดย นายซาบรี อัล-บันนา แยกตัวอออกจาก พีแอลโอ เมื่อปี ๒๕๑๑ อาบู นิดาล ก่อการร้ายในประเทศต่าง ๆ กว่า ๒๐ ประเทศ สังหารและทำร้ายผู้บริสุทธิ์จำนวนประมาณ ๙๐๐ คน เป้าหมายของกลุ่มนี้ รวมทั้งสหรัฐ ฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส อิสราเอล กลุ่มปาเลสไตน์

            ๕. กลุ่มกัมมา อัล-อิสลามิยา เป็นกลุ่มก่อการ้ายมุสลิมหัวรุนแรงในอียิปต์ เริ่มก่อการร้ายตั้งแต่ปลายช่วงทศวรรษที่ ๑๙๗๐ มีลักษณะรวมตัวกันอย่างหลวม ๆ โดยไม่มีผู้นำกลุ่ม มีแต่หัวหน้ากลุ่มติดอาวุธต่าง ๆ วัตถุประสงค์ของกลุ่ม ต้องการโค่นล้มรัฐบาลอียิปต์ นำโดยประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก แล้วจัดตั้งรัฐอิสลาม

            ๖. กลุ่มอัลญิฮัด กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในอียิปต์ เคลื่อนไหวก่อการ้ายตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ ๑๙๗๐ แต่ในปัจจุบันแตกแยกออกเป็นหลายกลุ่ม ผู้นำดั้งเดิม คือ นายอับบัท อัล ซูมาร์ ขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในอียิปต์ วัตถุประสงค์เพื่อต้องการโค่นล้มรัฐบาลอียิปต์ แล้วจัดตั้งรัฐอิสลามขึ้นแทน

            ๗. กลุ่มพยัคฆ์แห่งอ่าวอาหรับ เป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมต่อต้านรัฐบาลซาอุดิอาระเบียและสหรัฐฯ เมื่อ ๑๓ พ.ย.๒๕๓๓ ลอบวางระเบิดไว้ในรถยนต์ทำลายอาคารสำนักงานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแห่งชาติที่กรุงริยาด ซาอุดิอาราเบีย ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๗ คน ( อเมริกัน ๕ คน อินเดีย ๒ คน ) และบาดเจ็บกว่า ๖๐ คน

            ๘. กลุ่มขบวนการอิสลามเพื่อการเปลี่ยนแปลง ( IMC ) เป็นกลุ่มก่อการร้ายมุสลิมชีอะห์ ต่อต้านรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย เดิมมี ชีค จาฟฟาร์ บิน อัลฮัจ กาสเซ็ม มาร์ซุก อัล ชาฮัท เป็นผู้นำ ต่อมาถูกจับกุม และคุมขังอยู่ในซีเรีย ปัจจุบันเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งทางการซาอุดิอาระเบียเชื่อว่าอิเหร่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเสียชีวิต เพื่อป้องกันการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการวางระเบิด ที่รอยาด เมื่อ ๑๓ พ.ย. ๒๕๓๘

            ๙. กลุ่มอันศาร์ อัลเลาห์ เป็นกลุ่มก่อการร้ายชาวซาอุ ฯ ไม่ปรากฎผู้นำ ไม่เคยมีการเคลื่อนไหวมาก่อน เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ร่วมกับกลุ่มพยัคฆ์แห่งอ่าวอาหรับ และกลุ่มขบวนการอิสลาม เพื่อการเปลี่ยนแปลง อ้างความรับผิดชอบในการวางระเบิด เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ย. ๒๕๓๘ ที่กรุงริยาด ซาอุดิอาระเบีย

            ๑๐. กลุ่มเฮซบอลเลาห์ ซาอุดิอาระเบีย ไม่ปรากฎผู้นำ วัตถุประสงค์ต่อต้านชาวตะวันตก โดยเฉพาะชาวอเมริกัน ในซาอุฯ ทางการซาอุฯ สอบสวนพบว่า กลุ่มเอซบอลเลาห์ ซาอุดิอาระเบีย เป็นผู้บอลวางระบาดไว้ในรถบรรทุก เพื่อโจมตีเป้าหมายที่พักทหารสหรัฐฯ ในฐานทัพอากาศในแอลโคบาร์ ซาอุฯ เมื่อวันที่ ๒๕ มิ.ย. ๒๕๓๙ ทำให้มีผู้เสียชีวิต ๑๙ คน ( เป็นทหารสหรัฐ ฯ ทั้งหมด ) และมีผู้บาดเจ็บ ๓๘๖ คน

            ๑๑. กลุ่มเฮซบอลเลาห์ กัลฟ์ ไม่ปรากฏการเคลื่อนไหวมาก่อน แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดในแอลโคบาร์ ซาอุฯ เมื่อ ๒๕ มิ.ย.๒๕๓๙ กลุ่มนี้อ้างว่า เป็นผู้ลอบวางระเบิดดังกล่าว พร้อมข่มขู่จะปฏิบัติการเช่นนี้อีก หากสหรัฐฯ ไม่ถอนกำลังออกจากซาอุฯ

            ๑๒. กลุ่มขบวนการเพื่อการปฏิรูปอิสลามในซาอุดิอาระเบีย เป็นกลุ่มต่อต้านระบอบกษัตริย์ในซาอุ ฯ ผู้นำคือ นายซาอัด อัล ฟากิ มีแหล่งพักพิง อยู่ในลอนดิน อังกฤษ วัตถุประสงค์ เพื่อโค่นล้มรัฐบาลซาอุ ฯ

            ๑๓. กลุ่มคณะกรรมการเพื่อคุ้มครองสิทธิตามกฎหมาย มีเป้าหมายต่อต้านรัฐบาลซาอุฯ ผู้นำคือ นาย

โมฮัมเหม็ด อัล มาสซารี ซึ่งถูกทางการซาอุ ฯ จับกุม เมื่อปี ๒๕๓๙ ในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับลอบวางระเบิดในริยาด เมื่อปี ๒๕๓๘

            ๑๔. กลุ่มคิด และคาฮาเน ชาย เป็นกลุ่มชาวยิวแนวทางขวาจัด ตั้องการผดุงความเป็นประเทศอิสราเอล กลุ่มคัด จัดตั้งโดยนายเบนจามินคาฮาเน บุตรชายของรับไบ เมียร์ คาฮาเน นักบวชชาวยิวหัวรุนแรงในสหรัฐฯ

            ๑๕. กลุ่มมูจาฮีดีน เอ คลัล จัดตั้งเมื่อปี ๒๕๐๓ โดยบรรดานักศึกษาอิหร่าน เพื่อต่อต้านรัฐบาลพระเจ้าชาห์ และอิทธิพลของประเทศตะวันตก ที่มีอยู่เหนืออิหร่าน ในห้วงเวลาดังกล่าว.

            ๑๖. กลุ่มขบวนการปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือ "พีแอลโอ" มี ยัสเซอร์ อาราฟัต เป็นผู้นำก่อตั้งขึ้นในช่วงปี ๑๙๕๖ ซึ่งขณะนั้นอิสราเอลเข้าครอบครองฉนวน กาซา ดินแดนที่มีชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในช่วงแรกกลุ่มนี้ใช้สื่อมวลชนโจมตีอิสราเอล แต่ไม่เป็นผล กระทั่งในปี ๑๙๖๕ จึงได้มีการจัดตั้งกองกำลังขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศอาหรับหลายประเทศ และอดีตมหาอำนาจคอมมิวนิสต์

            ๑๗. กลุ่มหัวรุนแรง "ฮามาส" ก่อตั้งเมื่อปลายปี ๑๙๘๗ ในประเทศอียิปต์ ผู้นำคือ ฮัสซัน เอล เบนน่า เป็นกลุ่มชาวปาเลสไตน์ที่นิยมใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และไม่เห็นด้วยกับแนวทางการต่อสู้แบบสันติของพีแอลโอ กลุ่มฮามาสมีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ระเบิด มักใช้วิธีการ "ระเบิดพลีชีพ" ในการปฏิบัติการครั้งสำคัญต่าง ๆ และได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันออกกลางบางประเทศ

            ๑๘. ขบวนการปลดปล่อยไอร์แลนด์เหนือ หรือ "ไออาร์เอ" เป็นกองกำลังที่ตั้งขึ้นเพื่อต้องการปกครองตนเองในรัฐอิสระไอร์แลนด์ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองโดยอังกฤษ หลายปีที่ผ่านมาไออาร์เอได้ปฏิบัติการฆ่าทั้งทหาร ตำรวจ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ลอบวางระเบิด และเผาชุมชนสำคัญต่าง ๆ มากมาย โดยมีรายงานว่ากองกำลังนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากขบวนการขนถ่ายยาเสพติด และขู่กรรโชกทรัพย์จากที่ต่าง ๆ

            ๑๙. กลุ่มกบฏชาวเคิร์ด หรือ "พีเคเค" เป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวตุรกี ผู้นำคือ อับดุลลาห์ โอกาลาน กีเซอร์ และพรรคพวกอีก ๕ คน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสมาชิกของมหาวิทยาลัยอากาล่า พีเคเคก่อตั้งกลุ่มอย่างเป็นทางการในปี ๑๙๗๔ โดยยึดแนวทางกลุ่มตาม "ลัทธิมาร์กซิสต์" และ "ลัทธิเลนิน" เพื่อต้องการแยกตัวไปก่อตั้งสหพันธรัฐเคอร์กิสถาน ในดินแดนแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอนาโตเลีย ซีเรีย และอิรัก

            ๒๐. กลุ่มหัวรุนแรง "จิฮัด" กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เดียวกับฮามาส คือต่อต้านอิสราเอล ก่อตั้งเมื่อปี ๑๙๘๐ โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศตะวันออกกลางประเทศเดียวกับที่สนับสนุนฮามาส และต่อมาในปี ๑๙๘๓ กลุ่มนี้ยังแตกออกเป็นอีกกลุ่มในชื่อเดียวกัน โดยกลุ่มหลังนี้ยิ่งนิยมความรุนแรงแบบสุด ๆ เชี่ยวชาญการก่อการร้ายทุกรูปแบบ เคยออกมาอ้างความรับผิดชอบในการโจมตีสถานที่สำคัญ ต่าง ๆ หลายครั้ง

            ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงตัวอย่าง...ยังมีกลุ่มก่อการร้ายที่มีชื่อรู้จักกันทั่วโลกอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มฮิชบราลาห์ ในเลบานอน อิสราเอล, กลุ่มองค์กร ๑๕ พ.ค. ในอิรัก, กลุ่มอาบูนิคัล ในลิเบีย, กลุ่มตูบัคอามารู ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดฝีไม้ลายมือแสบเข้าขั้นทั้งนั้น และก็รวมถึง กลุ่มเรดอาร์มีญี่ปุ่น หรือ "เจอาร์เอ" ที่ระยะหลังก็น่ากลัวเช่นกัน เพราะทุกครั้งที่ปฏิบัติการเป้าหมายมักจะมีผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง[๓]

 

 



[๑] พระครูสิริธรรมาภิรัต,ผศ,ดร, เอกสารประกอบการเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ SO๒๐๓๓ , (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช,๒๕๕๖), หน้า ๓-๙.

[๒] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๓๙-๑๔๑.

[๓] http://narater2010.blogspot.com/2011/01/httpmanman.html (เข้าถึงเมื่อ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๖)

หมายเลขบันทึก: 549100เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2013 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท