ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

ความหมายประวัติความเป็นมาของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ


พระบุญฤทธิ์  ชูเลื่อน (วิชฺชาธโร) เลขที่ ๑

ชั้นปีที่ ๓ สาขารัฐศาสตร์การปกครอง

            ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสาขาหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์  ในปัจจุบันนี้นักวิชาการได้ให้ความสำคัญของการศึกษาแขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ทั้งนี้  เพราะเป็นที่ยอมรับกันว่ารัฐจะสามารถธำรงความเป็นรัฐอย่างมีเกียรติในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้นั้น  จำเป็นต้องใช้ศิลปะในการชักจูงใจให้รัฐอื่น ๆ ปฏิบัติการหรืองดเว้นปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ต้องการ  ทั้งนี้เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาการขัดแย้งและข้อพิพาท  อันจะนำไปสู่สงครามในที่สุด

            กล่าวได้ว่า  ในสมัยก่อนนั้นการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอยู่ในวงจำกัด  กล่าวคือเป็นที่สนใจเฉพาะผู้ที่อยู่ในวงการผู้สันทัดกรณี  เช่น  นักการทูต  หรือนักการเมืองชั้นนำเท่านั้น  แต่ในปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ  และการธำรงไว้ซึ่งสันติภาพของโลก 

            การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในฐานะเป็นวิชาการเริ่มต้นในช่วงก่อนมหาสงครามโลกครั้งที่ ๑ (๑๙๑๔-๑๙๑๘) และมีวิวัฒนาการโดยแบ่งออกเป็น ๔ ช่วง โดยการพิจารณาประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ ๑) การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์การทูต ๒) การพิจารณาเชิงเหตุการณ์ปัจจุบัน ๓) กฎหมายระหว่างประเทศ และ ๔) การเมืองระหว่างประเทศ

            ช่วงเวลาที่หนึ่ง : ประวัติศาสตร์การทูต ในช่วงนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ของทางการทูต มีข้อเขียนในเรื่องนี้มากในประเทศอังกฤษ โดยเกี่ยวพันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายศตวรรษมาแล้ว ตัวอย่าง ได้แก่ การศึกษานโยบายต่างประเทศของอังกฤษโดยรัฐบุรุษและนักการทูตสำคัญ ๆ เช่น พาลเมอร์สตั้น (Palmerston) และแคนนิ่ง (Canning) ให้ความสำคัญกับความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ตามวิธีการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ไม่มีการตั้งข้อสังเกตแบบทั่ว ๆ ไป (generalization) ในช่วงนี้เป็นความพยายามที่จะพูดถึงเหตุการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศโดยปราศจากทฤษฎี ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่บรรยายหรือพรรณนาเหตุการณ์ในอดีตช่วงแรกที่ครอบคลุมระยะเวลาก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ และช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ ด้วย จัดได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์มีบทบาทในวิทยาการที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

            ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหมายถึง  การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามพรมแดนของรัฐ  ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ  ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก

            ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  กลุ่มบุคคล  หรือสังคม  ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน  หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย   ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับลาถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือและความขัดแย้งระหว่างประเทศ  ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก[1]

 

 



[1] อานนท์ อาภาภิรม, รัฐศาสตร์เบื้องต้น, (กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์,๒๕๔๕), หน้า ๑๒๒-๑๒๓

หมายเลขบันทึก: 549095เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2013 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กันยายน 2013 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท