ผู้นำที่ดีต้องแก้วิกฤติ:ผู้นำไทย สร้างวิกฤติและหนีวิกฤติ


บคความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2556

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ

http://www.naewna.com/columnist/1104

 

 

ผู้นำที่ดีต้องแก้วิกฤติ:ผู้นำไทย สร้างวิกฤติและหนีวิกฤติ

ขอขอบคุณผู้อ่านแนวหน้าที่กรุณาส่งข้อมูลกลับมาในเว็บไซต์http://www.naewna.com/politic/columnist/7830 สัปดาห์ที่แล้วเรื่องการศึกษากับธรรมกายตัวอย่างเช่น
 
-          คุณ JaruspitBoonyen  แสดงความคิดเห็นว่า “ขณะนี้ครูพิษณุโลกกำลังอบรมอยู่ที่โรงแรมทรัพย์ไพรวัลย์ปาร์ค ระหว่างวันที่ 24 - 28 กรกฎาคม เป็นรุ่นแรก มีทั้งหมด 5 รุ่นและอบรมพร้อมกันทั้งประเทศ จนถึงสิ้นเดือน สิงหา ครูที่ไม่ศรัทธาธรรมกายอืดอัดมากเพราะถูกยัดเยียดรูปแบบของธรรมกายในเรื่องการทำบุญดัวยเงิน และยังตั้งเป้าหมายให้นักเรียน ทั้งประเทศ เป็น v-star”
 
-          คุณ PoonsriTantiwatกล่าวว่า “พฤติกรรมของวัดนี้ ตลอดจน พระสงฆ์ และผู้ที่มาทำบุญ แปลกไปจากวัดอื่นๆ คือพยายามสร้างสิ่งแปลกใหม่ใหญ่โตให้เป็น "สิ่งมหัศจรรย์" กว่าวัดใดๆ การทำบุญต้องใช้เงินจำนวนมากจึงจะได้บุญมาก ทำแล้วหวังว่าจะไปสู่สวรรค์ นิพพาน ทำแล้วจะยิ่งร่ำรวย สวย หล่อ.....การที่ ศธ. ให้วัดนี้ให้การอบรมครูทั้งประเทศ เพื่ออะไร ไม่ใช่เพื่อบ่มเพาะให้ครูมีคุณธรรมจริยธรรมหรือ....หรือวัดนี้เป็นเครือข่ายของรัฐบาล...เลยใช้วิธี อัฐยายซื้อขนมยาย”
 
ผมหวังว่าผู้บริหารการศึกษาคงจะทราบแล้วว่าการจะฝึกคุณธรรมจริยธรรมของครูนั้น ควรจะทำด้วยความโปร่งใส และจริงใจปราศจากการเมือง อย่าปิดบังในที่สุดแล้วความจริงก็จะถูกเปิดเผย
 
ผมยังเคารพแนวคิดเพื่อการศึกษาของรมต.จาตุรนต์ หวังว่าคงจะเอาสิ่งที่ผมแนะนำไปปรับปรุง การศึกษาไทยแย่อยู่แล้วอย่าซ้ำเติมเลยครับ
 
เริ่มเข้าสู่เดือนสิงหาคม อุณหภูมิการเมืองร้อนมากขึ้น จะเรียกว่าเป็นวิกฤติรอบใหม่คงไม่ผิดนัก
 
จากการวิเคราะห์เรื่องภาวะผู้นำ 9 ข้อ ของผม ซึ่งได้เขียนไว้แล้วดังนี้
 
1. Crisis management การจัดการภาวะวิกฤต
 
2. Anticipate change ทายอนาคตการเปลี่ยนแปลง
 
3. Motivate others to be excellent การกระตุ้นผู้คนสู่ความยอดเยี่ยม
 
4. Conflict resolution การแก้ไขความขัดแย้ง
 
5. Explore opportunities การสร้างโอกาสแก่ผู้อื่น
 
6. Rhythm & Speed รู้จักใช้จังหวะและความรวดเร็ว
 
7. Edge (Decisiveness) กล้าตัดสินใจ
 
8. Teamwork ทำงานเป็นทีม
 
9. Managing Uncertainty การบริหารความไม่แน่นอน
 
แนวคิด 9 ข้อ ถูกนำมาวิเคราะห์มากขึ้นเพราะสอนปริญญาเอก และได้รับเชิญไปพูดตามที่ต่างๆหลายแห่งเกี่ยวกับผู้นำ กฎข้อแรกของผมใน 9 ข้อของผมก็คือ ผู้นำต้องแก้วิกฤติซึ่งผมได้พูดไว้ว่า วิกฤติมี 2 แนว
 
(1) วิกฤติมาแล้วมาอีก เรียกว่า วิกฤติถาวร permanent crisis
 
(2) อีกแบบหนึ่ง คือ วิกฤติหลายเรื่องซ้อนกัน วิกฤติแบบขนมชั้น ประกอบไปด้วย การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมปัญหาจริยธรรม ปัญหาสังคมพร้อมกัน และบางเรื่องคาดไม่ถึง
 
ปัญหาก็คือ ประเทศไทยมีผู้นำนอกจากไม่แก้วิกฤติ แล้วยังหนีและซ้ำเติมวิกฤติซึ่งก็ทำให้ผมเศร้าใจว่าเรามีนักการเมือง ผู้นำอย่างคุณยิ่งลักษณ์ไปทำไม-เพื่ออะไร
 
เช่น
 
-          นำเอากฎหมายนิรโทษกรรมมาเข้าสภา แต่ตัวเองไปอยู่แอฟริกาทั้งๆ ที่ในประเทศมีปัญหามากมาย
 
-          ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้องก็ไม่แก้ ยังนำเอาวิกฤติการเมืองมาให้คนไทยอีก แล้วเราจะมีผู้นำไปทำไม ?
 
อาทิตย์นี้ก็มีวิกฤติเรื่องน้ำมันรั่วที่ระยอง ซึ่งเป็นวิกฤติที่คาดไม่ถึง และอาจให้อภัยได้ถ้าผู้บริหารปตท. บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด ออกมาพูดให้ประชาชนทราบให้ความรู้และยอมรับความจริง แต่ไม่น่าเชื่อ-ไม่ทราบว่าปตท.เป็นองค์กรแบบไหน ผู้บริหารพูดไม่เป็น ดูถูกประชาชน คิดว่าประชาชนโง่ ไม่รู้เรื่อง
 
ส่วนรัฐมนตรีก็พูดเหมือนคนไทยโง่เหมือนกัน  คือทุกอย่างดีขึ้นภายใน 3 วันทำให้ผมคิดว่านอกจากคุณยิ่งลักษณ์หนีและสร้างวิกฤติแล้วรมต.พลังงาน หรือผู้บริหารพีทีที โกลบอลเคมิคอล ไม่เข้าใจเรื่องวิกฤติว่าจะแก้อย่างไร กลับสร้างวิกฤติมันรุนแรงขึ้นซึ่งก็เป็นบทเรียนราคาแพง
 
งานของผมในอาทิตย์ที่ผ่านมา มี 2 เรื่อง ที่อยากแบ่งปันอยากให้ผู้อ่านทราบ
 
เรื่องแรก คือ ใช้ทฤษฎี 3 V (Value added, Value creation, Value diversity) โดยเน้น Value diversity ของนักเรียนปริญญาเอก 3 แห่ง โดยให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเรียนร่วมกัน และได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่เป็นแนวร่วมของผม และอาจารย์จากลาดกระบังมาฟังด้วย ซึ่งผมคิดว่า การเรียนปริญญาเอกยุคใหม่ ต่อไปจะต้องมี Benchmarking คือให้มีการปะทะความคิด แลกเปลี่ยนในหลายๆ มหาวิทยาลัย ลูกศิษย์แต่ละแห่งจะได้มีขวัญกำลังใจ ภูมิใจ และมีพลังความสามารถเปรียบเทียบผลงานให้เป็นเลิศ
 
การสอนปริญญาเอกและการเรียนในยุคนี้ต้องทำให้เกิดปัญญา คือนอกจากพื้นฐานแน่นแล้วยังต้องมองทางออกปัญหาของชาติให้ออก และนำมาวิจัยและเผยแพร่ให้ประชาชนได้ทราบ  ไม่ใช่เขียนวิทยานิพนธ์โดยไปลอกความคิดเก่าๆ เพื่อให้จบจ้างให้คนเขียนแทนหรือเลือกหัวข้อที่ล้าสมัยแต่จบแน่ๆ  อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ความรู้ก็ต้องลึกและกว้างต้องรู้ว่าบางสาขาต้องข้ามศาสตร์และไปประยุกต์กับความจริง
 
เรื่องที่ 2 ผมได้รับเชิญจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลของกรุงเทพมหานคร บรรยายหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพของผู้วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผนของ กทม.ระดับ C5 -C8 ประมาณ 80 คน เรื่องทุนมนุษย์และภาวะผู้นำที่ประทับใจมาก เขาชอบวิธีการเรียนของผมคือ สอนและแบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์แบบ Learning how to learn และนำไปวิเคราะห์ได้พบว่าระบบราชการ
 
1) ข้าราชการยังไม่มีความสุขในการทำงานจะแก้ไขอย่างไร
 
2) การทำงานยังไม่เน้นคนดีคนเก่งมักจะเน้นคนใกล้ชิดผู้ใหญ่ การขึ้นสู่ตำแหน่งจึงไม่โปร่งใส
 
3) คุณธรรม จริยธรรม อ่อนแอมาก
 
ผมดีใจที่ได้ไปจุดประกายให้แก่ข้าราชการกทม.
 
 
บรรยากาศการเรียนของนักศึกษาปริญญาเอก 3 แห่ง โดยให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา  สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาเรียนร่วมกัน
 
 
ผมได้รับเชิญจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลของกรุงเทพมหานคร บรรยายหัวข้อ การพัฒนาศักยภาพของผู้วิเคราะห์นโยบายและแผน เจ้าหน้าที่สำนักนโยบายและแผนของ กทม.ระดับ C5 -C8 ประมาณ 80 คน
 
จีระ หงส์ลดารมภ์
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
คำสำคัญ (Tags): #แนวหน้า
หมายเลขบันทึก: 548544เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2013 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2013 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท