คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน


คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน

 

 

 

คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
 
นับตั้งแต่มีปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.. 2510 ภายใต้สัญลักษณ์มัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวม 10 ต้นหมายถึง สมาชิก 10 ประเทศ ซึ่ง รวงข้าวนั้น เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้
สีเหลืองของรวงข้าว หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการก้าวต่อไปเรื่อย ๆ
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โดยวัตถุประสงค์ของประชาคมอาเซียนได้กำหนดไว้ดังนี้
-ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิก
-ธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง
-เสริมสร้างเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชน
-พัฒนาสังคมและวัฒนธรรม
-ส่งเสริมความร่วมมือกับภายนอก และองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ
การ พัฒนาการเรียนรู้ของเด็กไทยสู่ประชาคมอาเซียนให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องกำหนดเป้าหมาย ได้แก่ คุณลักษณะของเด็กไทยที่จะพัฒนาสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้ชัดเจน ทั้งด้านความรู้ ทักษะ/กระบวน การ และเจตคติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการจัดประชุมโต๊ะกลมและประชา พิจารณ์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องโดยตรง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเตรียมการและดำเนินการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่างๆ เช่น สถานทูต มหาวิทยาลัยภาครัฐและเอกชน ในการร่วมกำหนดคุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
 
คุณลักษณะเด็กไทยในประชาคมอาเซียน
คุณลักษณะของเด็กไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดคุณลักษณะ 3 ด้าน ดังนี้
1.       ด้านความรู้
1. มีความรู้เกี่ยวกับประเทศอาเซียนในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
2. มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียน
2.1 จุดกำเนิดอาเซียน
2.2 กฎบัตรอาเซียน
2.3 ประชาคมอาเซียน
2.4 ความสัมพันธ์กับภายนอกอาเซียน
 
2.  ด้านทักษะ/กระบวนการ
1. ทักษะพื้นฐาน
1.1 สื่อสารได้อย่างน้อย 2 ภาษา (ภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างน้อย 1 ภาษา)
1.2 มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสร้างสรรค์
1.3 มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสันติวิธี
1.4 มีความสามารถในการทางานและอยู่ร่วมกับผู้อื่น
 
2. ทักษะพลเมือง/ความรับผิดชอบทางสังคม
2.1 เคารพและยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2.2 มีภาวะผู้นา
2.3 เห็นปัญหาสังคมและลงมือทาเพื่อนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง
3. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน
3.1 เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
3.2 มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีวิธีคิดอย่างถูกต้อง
3.4 มีความสามารถในการจัดการ / ควบคุมตนเอง
3. ด้านเจตคติ
1. มีความภูมิใจในความเป็นไทย/ ความเป็นอาเซียน
2. ร่วมกันรับผิดชอบต่อประชาคมอาเซียน
3. มีความตระหนักในความเป็นอาเซียน
4. มีวิถีชีวิตประชาธิปไตย ยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล สันติวิธี /สันติธรรม
5. ยอมรับความแตกต่างในการนับถือศาสนา
6.ดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เอกสารอ้างอิง
http://61.7.221.113/Asianroom/th/index.php?option=com_content&view=article&id=49&Itemid=55

http://chusak.igetweb.com/index.php?mo=3&art=41919880

คำสำคัญ (Tags): #อาเซียน
หมายเลขบันทึก: 548261เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2013 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2013 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

      ยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรมรวมทั้งศาสนา เชื้อชาติ เป็นเรื่องใหญ่ และลึกลงไปยังมีเรื่องเรื่องความแตกต่างทางเพศสภาพ และชนชั้นด้วย คงต้องสอนกันให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง

          

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท