"ห" มาจากไหนในการผันวรรณยุกต์: คำถามกวนใจครูภาษาไทย


"ห" มาจากไหนในการผันวรรณยุกต์: คำถามกวนใจครูภาษาไทย  

 

เฉลิมลาภ  ทองอาจ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

 

 

            นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมักตื่นตระหนกกับคำถามแปลก ๆ ของนักเรียน ที่ตอบได้ก็รอดตัวไป ที่ตอบไม่ได้ ก็ต้องขอโทษขอโพยและแก้เก้อว่า ครูจะหาคำตอบมาให้ใหม่  อันลีลาอย่างหลังนี้ ถือเป็นโอกาสแห่งการพัฒนาตนเองของครู เพราะเมื่อไม่รู้ ก็จะมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าหาคำตอบให้จงได้  การยอมรับว่าตนเองไม่รู้ และถ่อมตนที่จะหาความรู้เพิ่มดังกล่าวนี้  ที่จริงแล้วก็เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่ง ที่ครูและนักเรียนควรที่จะมีทั้งสองฝ่าย  

          มีประเด็นปัญหาสืบเนื่องมาแต่การสอนเรื่องการผันวรรณยุกต์เรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า ข้อปุจฉาและวิสัจฉนาที่แสดงไว้ น่าจะช่วยให้เกิดการหันมาพูดคุยกัน เกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างของภาษา ที่บางเรื่องอาจจะมีความเป็นมาที่ค่อนข้างจะห่างไกลจากประสบการณ์ของครูภาษาไทยส่วนหนึ่ง  ข้อปุจฉาที่มีเข้ามาและนำไปสู่ประเด็นการอภิปรายนี้ คือ

 

          ปุจฉา: เพราะเหตุใด อักษรต่่าเดี่ยว (พยัญชนะเดี่ยว) เมื่อจะผันวรรณยุกต์ให้ครบ 5 เสียง ต้องใช้ “ห” มาช่วยผัน เหตุใดจึงไม่ผันโดยใส่วรรณยุกต์ไปเลย เช่น

         

         ที่ผันว่า นา หน่า น่า/หน้า น้า หนา

         ทำไม่ไม่ผันว่า นา น่า น้า น๊า น๋า หรือใส่วรรณยุกต์ไปเลย

        วิสัจฉนา:

        ธรรมดาการผันวรรณยุกต์ หรือ tone เป็นเรื่องของการเปลี่ยนระดับเสียงในพยางค์หรือคำ เช่น นา (เสียงสามัญ เสียงระดับกลาง) กลายเป็น น่า (เสียงโท หรือเสียงสูงแล้วเปลี่ยนลงมาต่า) การเปลี่ยนเสียงดังกล่าวทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย และเมื่อจะเขียนคำ เพื่อให้เห็นว่า สองคำนี้มีเสียงต่างกัน จึงต้องคิดรูปอักษรคือวรรณยุกต์ขึ้นมากำกับ อย่างไรก็ตาม แต่เดิมมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงอยุธยาตอนปลาย ไทยเรามีรูปอักษรวรรณยุกต์เพียงสองตัว คือ ไม้เอก และไม้โท เท่านั้น ไม่ปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ตรี จัตวา เลย   สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพอธิบายไว้ว่า วรรณยุกต์สองตัวหลังนี้ เพิ่งพบสมัย ร.1 ในกฎหมายตราสามดวง เพื่อใช้เขียนคาภาษาต่างประเทศ ที่ไม่ใช่คาบาลีสันสกฤต ดังนี้

 

          "ตามตำนานปรากฏว่าชนชาติไทยแทบทุกจำพวก ต่างมีแบบตัวอักษรสำหรับของพวกตนมาแล้วช้านาน แต่ว่าตัวอักษรของไทยแต่เดิมเหมาะเพียงสำหรับใช้เขียนคาในภาษาของตนเท่านั้น ครั้นไทยได้ปกครองประเทศสยามได้มาบังคับบัญชาและมีกิจการเกี่ยวเนื่องกับพวกเขมร มอญ ลาว(ละว้า) ทั้งในประเพณีและศาสตราคมตลอดจนภาษาที่ต้องใช้ในการปกครองประเทศสยาม พระเจ้ารามคำแหงมหาราชพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงทรงพระราชดาริ ว่าอักขรวิธีของพวกไทยที่ใช้กันมาแต่ก่อนไม่พอจะเขียนภาษาสยาม จึงทรงประดิษฐ์หนังสือไทย อันเป็นต้นแบบหนังสือไทยสยามที่เราใช้กันมาทุกวันนี้ ขึ้นเมือง พ.ศ. ๑๘๒๖ วรรณยุกต์เริ่มมีขึ้นในแบบหนังสือของพระเจ้ารามคำแหงฯ เป็นปฐม แต่ว่ามีไม้เอกกับไม้โท แต่ไม้โทเขียนเป็นรูปกากะบาท ดังนี้ + (เหตุที่เรียกไม้เอกและไม้โทนั้น เห็นจะเป็นเพราะเขียนขีดเดียวกับสองขีด มิใช่เป็นเครื่องหมายเสียงที่ ๑ และที่ ๒ เพราะอ่านได้หลายเสียงทั้งเอกและโท)

 

          วิธีเอาตัว ห น่าอักษรต่ำก็ประดิษฐ์ขึ้นในครั้งนั้นเหมือนกัน จึงอาจกล่าวได้ว่า วิธีที่ใช้วรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายเสียงในหนังสือไทย เป็นของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชทรงพระราชดาริขึ้น เมื่อมีแบบหนังสือ

 

          ไทยของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชเกิดขึ้นแล้ว ในไม่ช้าไทยพวกอื่นเห็นประโยชน์ ก็รับใช้แพร่หลายไปในอาณาเขตลานนา (มณฑลพายัพ) และลานช้าง (หลวงพระบาง) แต่พวกไทยลานนาและลานช้างหาใช้วรรณยุกต์ไม่ คงใช้วรรณยุกต์แต่ไทยพวกกรุงสุโขทัยและหัวเมืองข้างฝ่ายใต้ลงมา ตัววรรณยุกต์นั้นในปลายสมัยกรุงสุโขทัยเปลี่ยนรูปกากะบาท + เป็นรูปไม้โทอย่างที่เราใช้กันทุกวันนี้ (พิเคราะห์ดูว่าจะเกิดแต่เขียนกากะบาท + หวัด จะลากเส้นทีเดียวให้สำเร็จ จึงเลยเปลี่ยนรูปไม้โทไปอย่างนั้น)

 

            ไม้ตรีกับไม้จัตวา (เอากากะบาทไม้โทเดิมมาใช้) เมื่อครั้งกรุงสุโขทัยยังหามีไม่ แม้ต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ยังไม่มี ข้อนี้รู้ได้ด้วยในหนังสือจินดามณี ต่าราสอนหนังสือไทยที่พระโหราแต่ในรัชกาลนั้น มีโคลงบอกวรรณยุกต์ไว้บทหนึงว่า


สมุหเสมียนเรียนรอบรู้ วิสัญช์

พินเอกพินโททัณ ฑฆาฏคู้

ฝนทองอีกฟองมัน นฤคหิต นั้นนา

แปดสิ่งนี้ใครรู้ จึ่งให้เป็นเสมียน


           ถ้าไม้ตรีไม้จัตวามีอยู่ในสมัยเมื่อแต่งโคลงบทนี้ ก็คงบอกไว้ในโคลงด้วย แต่โคลงบทนี้อาจจะมีผู้แต่งเพิ่มเข้าในหนังสือจินดามณีเมืองภายหลัง ถ้าเช่นนั้นก็ยิ่งแสดงว่าไม้ตรีไม้จัตวามีช้ามาอีก ได้ให้ตรวจดูหนังสือลายมือเขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยาอันมีอยู่ในหอพระสมุดสำหรับพระนครหลายเรื่อง ก็ไม่เห็นใช้ไม้ตรีไม้จัตวา มาพบหนังสือที่มีไม้จัตวาในบทละครเขียนครั้งกรุงธนบุรี และที่มีทั้งไม้ตรีและไม้จัตวาในหนังสือกฎหมายฉบับหลวงที่ประทับตรา 3 ดวง เขียนในรัชกาลที่ 1 กรุงรัตนโกสินทร์เป็นเก่าที่สุด นี่ว่าด้วยถือเอาลายมือเขียนเป็นหลักพิศูจน์ 

 

           จากคำอธิบายข้างต้น  เมื่อมีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 ตัว แต่ระดับเสียงในภาษาไทยนั้นมีมากกว่า 2 ระดับแน่ (อย่างน้อย 3 อย่างมาก 5) ปัญหาคือจะทำอย่างไร เพื่อให้ถ่ายทอดเสียงได้พอ โดยมีวรรณยุกต์ 2 ตัวเท่าเดิม (ไม่ต้องคิดวรรณยุกต์เพิ่ม)

            คำตอบคือ โบราณาจารย์ท่าน (ก่อนยุคจินดามณีของพระโหราธิบดี และน่าจะตั้งแต่สุโขทัย) ได้นาอักษรสองกลุ่มมาจับเสียงเป็นคู่ ดังนี้คือ

คอ ขอ

ชอ ฉอ

ทอ ถอ

พอ ผอ

ฟอ ฝอ

ซอ สอ

ฮอ หอ

             เสียงอักษรคู่นี้ ฝั่งซ้ายเป็นเสียงกลาง ๆ หรือเสียงสามัญ ฝั่งขวาเป็นเสียงสูงสุด หรือเสียงจัตวา และการผันวรรณยุกต์ของคู่เสียงข้างต้นทุกตัว จะใช้แค่รูปวรรณยุกต์เอกและโท เช่น

 

               คอ ข่อ ข้อ/ค่อ ค้อ ขอ, ทอ ถ่อ ถ้อ/ท่อ ท้อ ถอ

 

              แสดงให้เห็นว่า อักษรกลุ่มนี้ (ต่อมาเรียกว่า อักษรต่าคู่ และอักษรสูงตามลาดับ) ใช้รูปเอกและโท ร่วมกัน ผนวกกับพื้นเสียงที่แต่ละตัวมีโดยไม่ใส่วรรณยุกต์ ก็สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียงแล้ว

อย่างไรก็ตาม มีพยัญชนะอีกกลุ่มหนึ่งคือ

งอ

นอ

มอ

ยอ

วอ

รอ

ลอ

               สังเกตได้ว่า ไม่มีพยัญชนะตัวอื่น ๆ ที่มีเสียงคู่ในด้านสูงเลย และจะให้ใส่รูปวรรณยุกต์จัตวาก็ไม่ได้ เพราะไม่มีรูปวรรณยุกต์นี้ใช้ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ ดังนั้น ทางหนึ่งก็คือ การนำตัว ห มานา เพื่อปรับให้เสียงสูงขึ้นเป็นเสียงจัตวา ดังนี้

งอ หงอ

นอ หนอ

มอ หมอ

ยอ หยอ

วอ หวอ

รอ หรอ

ลอ หลอ

             ดังนั้น ที่สงสัยว่า ทำไมเราจึงไม่ใส่รูปวรรณยุกต์ตรีหรือจัตวา  เช่น  เขียนเป็น ง๋อ น๋อ ม๋อ ย๋อ ว๋อ ร๋อ ล๋อ ก็ด้วยเหตุผลว่า เดิมเราไม่มีวรรณยุกต์นี้ใช้ และการทำให้เป็นเสียงจัตวา โบราณได้คิดวิธีแก้ไว้แล้วโดยไม่ต้องเติมรูปวรรณยุกต์ใด ๆ อีก เป็นการรกตา และลำบากมือเสียเปล่า ๆ 

             การคิดว่า ควรเติมรูปวรรณยุกต์ตรีหรือจัตวาในคำดังที่คิดในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ทำได้ เหมือนที่ ศ.ดร.บรรจบ พันธุเมธา กล่าวไว้ว่า อักษรเดี่ยว สามารถผันได้ 5 เสียงเหมือนอักษรกลาง ถ้าจะให้ใส่วรรณยุกต์อย่างเสียงกลางก็ได้ (บรรจบ พันธุเมธา, 2545: 36) แต่เดิมมาเขาได้คิดวิธีการเขียนไว้แล้ว คือ ใช้พยัญชนะเสียงสูงนำ  แต่ปัจจุบันการเติมวรรณยุกต์อย่างที่ว่าไม่น่าจะทำได้แล้ว เพราะอาจจะไปทำหลักการของผันวรรณยุกต์ที่ค่อนข้างมีแบบแผนแล้วเสียหายได้

________________________________________

หมายเลขบันทึก: 548205เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์นะคะ

ดีจังเลยครับ ได้ความรู้เพิ่ม แต่นักเรียนที่โรงเรียนสาธิตฯน่ารักมากๆเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท