มิ๊กกี้ กับผลงาน "บัว 4 เหล่า"


พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วย ศรัทธา ปสาทะ(ความเชื่อความเลื่อมใส) ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวัน หนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

             

                            มิ๊กกี้ เจ้าของผลงานภาพวาด บัว 4 เหล่า

    มิ๊กกี้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น  ชอบใช้การวาดภาพในการสร้างสมาธิ

ก่อนการอ่านหนังสือหรือทำการบ้าน  วันนี้นำภาพผลงาน "บัว 4 เหล่า " มาให้  ประจวบกับได้อ่านหนังสือ

แบบเรียนพระพุทธศาสนาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  (ทบทวนความรู้ในการสอนพุทธประวัติ)   

มีบางคำ  เช่น ศรัทธา ปสาทะ ที่ได้ศึกษาจากหนังสือธรรมลีลา ปีที่ ฉบับที่ 48 พฤศจิกายน 2547
โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย    เกิดศรัทธา ปสาทะ ที่จะนำสิ่งดีๆ

ที่หลายคนอาจลืมไปบ้าง    มาทบทวนกันดูนะคะ  

 

บัว 4 เหล่า

                เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน

สุขุมคัมภีรภาพยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน

ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้งแล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้

บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป       

บัว เหล่า ได้แก่  

๑.   อุคฆฏิตัญญู หมายถึง พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบเมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้

และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็วเปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที

๒.  วิปจิตัญญู  หมายถึง พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้ว

พิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า

เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป

๓.  เนยยะ  หมายถึง  พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตาม

และได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอมีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอบด้วย 

ศรัทธา ปสาทะ(ความเชื่อความเลื่อมใส) ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวัน

หนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง

๔. ปทปรมะ  หมายถึง  พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็น  มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด การเห็นกงจักรเป็นดอกบัว)

แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัว

ที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน 

...ปัจจุบันมีคนพูดติดตลกว่า ...มีบัวเหล่าที่ 5 คือบัวที่อยู่ใต้คอนกรีต....

......แล้วท่านหละคะ จัดอยู่ในบัว เหล่าใด...  รอดพ้นจาก มิจฉาทิฏฐิแล้วหรือยัง  ....

  

                  ขอบคุณ  หนังสือ ธรรมลีลา ปีที่ 4 ฉบับที่ 48 พฤศจิกายน 2547 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

หมายเลขบันทึก: 547709เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2013 21:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กันยายน 2013 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น้องมิก๊กี้วาดภาพสวยมากๆ

ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

ขอบพระคุณอาจารย์ขจิตค่ะ

 

โอ้โฮ้..! วาดได้งดงามจริง ๆ จ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท