หลักการของ PRA


ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่พบ ที่ได้มาเป็นของชุมชนไม่ใช่ของนักวิจัยหรือนักพัฒนา เป็นต้น

     สืบเนื่องจาก จะนำ PRA มาใช้ใน PAR ให้แยบยลได้อย่างไร และ PRA ดีไม่ดีอย่างไร

     หลักการของ PRA
          PRA พบว่าแรก ๆ มีการนำมาใช้ ในกลุ่มงานพัฒนาชนบท หรือกลุ่มที่พัฒนาการเกษตรในชนบท (จะหาอ้างอิงมาเพิ่มอีกครั้ง) โดยเชื่อว่าจะใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการอื่นที่เคยใช้มา ในการเรียนรู้สภาพความเป็นชุมชนนั้น ๆ ของนักพัฒนาที่เข้าไป PRA มีหลักการง่าย ๆ ดังนี้คือ
          1. ไม่มีรูปแบบการเรียนรู้ อย่างไรก็ได้ เป็นไปตามธรรมชาติเรียนรู้จากเขา
          2. ชาวบ้าน หรือชุมชน เป็นครูที่ให้เรา
          3. จะไม่ใช้ตัวนักวิจัยเป็นเกณฑ์ในการเรียนรู้ หรือจะไม่ใช้การตั้งสมมติฐานไปจากข้างนอก และทดสอบ
          4. เน้นความหลายหลายทั้งที่เป็นความแตกต่างหรือความเหมือน ไม่เน้นตัวเลขบอกจำนวน หรือค่าเฉลี่ย
          5. ใช้การตรวจสอบสามเส้าหลาย ๆ รูปแบบเป็นวิธีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
          6. ค่าใช้จ่ายที่จะเสียไปเพื่อการเรียนรู้ต้องมีความคุ้มค่า (หากต้นทุนสูง หรือแพงก็ไม่ต้องดำเนินการ)
          7. ทำให้เกิดขบวนการที่เป็นชาวบ้าน หรือชุมชนเป็นผู้วิจัย ส่วนนักวิจัยก็เป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง หรือเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้เกิดขึ้น
          8. เปิดเวทีให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างชาวบ้าน-ชาวบ้าน, ชาวบ้าน-ผู้วิจัย, ผู้วิจัยและชาวบ้าน-กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
          9. ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่พบ ที่ได้มาเป็นของชุมชนไม่ใช่ของนักวิจัยหรือนักพัฒนา

หมายเลขบันทึก: 5476เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2005 06:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มีเรื่องดีๆ มาให้อ่านเสมอนะครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท