เอามะพร้าวมาขายสวน : ขั้นตอนการทำวิจัย


ผมไม่ค่อยอยากเขียนเพราะอะไรเหรอครับ! เพราะกลัวว่าจะเอามะพร้าวมาขายสวน แต่เมื่อได้เขียนบันทึกเรื่อง “ความกลัว” แล้ว ก็หายกลัวครับ

     บทนำ/อรัมภบท : ขอเริ่มเสียสักทีสำหรับค่าติด (รายการค้างเก่า) ที่ติดค้างน้อง ๆ ไว้หลายคน ที่ต้องการเริ่มต้นการทำวิจัย แต่พอจะเริ่มทำทุกทีก็ท้อ เพราะยาก ไม่เข้าใจ ไปถามใคร ๆ ทำไมถึงได้อธิบายยากจังเลย (และเมื่อหน่วยงานบังคับให้มีการทำวิจัยตามเกณฑ์ประเมินหน่วยบริการ และการทำผลงานทางวิชาการ ก็เลยมีงานวิจัยที่...ออกมา จนเป็นที่เข้าใจผิด...ของสังคม เพราะคนตรวจที่ให้ผ่าน ก็เป็นคนที่หน่วยงานให้การยอมรับทางวิชาการอยู่มาก) อีกเหตุผลหนึ่ง คือ ผมจะเขียนและถ่ายทอดจากความเข้าใจของตนเองที่เคยคิดว่าการทำวิจัยมันยาก และเมื่อผ่านพ้นตรงนั้นมาแล้ว ผมน่าจะเข้าใจน้อง ๆ เพื่อน ๆ และพี่ ๆ ว่าตกลงที่ยาก ๆ คือที่ตรงไหน และที่เราอยากเข้าใจไปตามลำดับนั้นมันคืออะไร (ในตอนที่ผมคิดว่าการวิจัยนั้นเป็นเรื่องยากแสนยาก) ผมเอาประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่ได้จากการเรียน และลงมือทำมาเขียน ถ้าหากเอามาจากที่อื่น ๆ มาผสมผสานลงไป ก็อ้างอิงไว้ และหากผิดถูกประการใด ก็ขอน้อมรับเพื่อการปรับปรุงในทันทีนะครับ (เขียนเหมือนรายงานนักศึกษาเลย) สิ่งนี้ยังต้องการคำชี้แนะอีกมาก ขอเชิญเติมเต็มให้ด้วยครับ
     ส่วนที่ผมไม่ค่อยอยากเขียนเพราะอะไรเหรอครับ! เพราะกลัวว่าจะเอามะพร้าวมาขายสวน แต่เมื่อได้เขียนเรื่อง “ความกลัว” แล้ว ก็หายกลัวครับ ก็เลยขอเริ่มตอนที่ 1 เสียเลย (เริ่มตอนดึก ๆ ไม่ค่อยมีคนเห็น ฮา...) ด้วย ขั้นตอนการทำวิจัย

     ขั้นตอนการทำวิจัย : ในการลงมือทำวิจัยจริง ๆ นั้น จะมีลำดับขั้นตอน และรายละเอียดของสิ่งที่ผู้จะเป็นนักวิจัยควรรู้อยู่มากเหมือนกัน ฉะนั้นคนที่จะเริ่มทำวิจัยใหม่ ๆ ก็ควรจะได้รู้ลำดับขั้นตอนเหล่านี้ไว้ก่อนเป็นเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวางแผนดำเนินการวิจัยให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ลำดับขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ได้แก่ การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย, การทบทวนเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง, การกำหนดกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี, การตั้งสมมติฐาน, การกำหนดตัวแปร และการวัด, การกำหนดหรือวางรูปแบบการวิจัย, การเตรียมและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย, การกำหนดกลุ่มประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง, การเก็บรวบรวมข้อมูล, การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์, การวิเคราะห์ข้อมูล, การแปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล, การเขียนรายงานวิจัย, ความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการวิจัย, จรรยาบรรณนักวิจัย และคุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี
     แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อเห็นหัวข้อในบทนำก็วิ่งหนีหมดแล้วนะครับ จริง ๆ แล้วทุกประเด็นจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เมื่อปรับส่วนใด ประเด็นอื่นจึงต้องปรับตามกันไปหมด คนที่จะเริ่มต้นทำวิจัย จึงเลิกทำตั้งแต่พอมีคำแนะนำให้ปรับนั่นแหละ
     ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การให้คำแนะนำ ผู้ให้คำแนะนำควรจะได้ยึดถือในคำถามวิจัยของเขาเป็นหลัก (ตอนเริ่มต้นทำ ส่วนใหญ่จะตั้งวัตถุประสงค์คล้าย ๆ กับโครงการฯ โดยทั่วไป) ซึ่งหาผู้ให้คำแนะนำยึดถือวัตถุประสงค์ (ที่เขียนไม่ค่อยถูก) ก็จะทำให้คนที่มาขอคำปรึกษารู้สึกสับสน ส่วนการหาคำถามวิจัยให้พบนั้น ส่วนใหญ่ (ผม) จะต้องใช้วิธีชวนพูดคุยคุย แล้วตะล่อมกล่อมเกล่า ถามเอา เพราะเมื่ออ่านในเอกสารที่เขาเขียนมามักจะไปคนละเรื่องเดียวกัน กับคำถามวิจัยของเขาจริง ๆ
     การเริ่มต้นที่ดี และเข้าใจกันและกัน จึงสำคัญที่สุด ว่าเขาจะกลับมาเพื่อทำต่อ หรือหายไปเลย (ไม่ใช่ไปแอบทำ ไปไม่ทำนั่นแหละ ฮา...) เอาไว้ต่อคราวหน้าครับ วันนี้จะอรุณสวัสดิ์แล้ว

     เรื่องทั้งหมดที่เขียนเป็นตอน ๆ คือ [บทนำ ขั้นตอนการทำวิจัย] [การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย] [การทบทวนเอกสาร วรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง] [การกำหนดกรอบแนวคิดหรือทฤษฎี] [การตั้งสมมติฐาน] [การกำหนดตัวแปรและการวัด] [การกำหนดหรือวางรูปแบบการวิจัย] [การเตรียมและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย] [การกำหนดกลุ่มประชากร และการเลือกกลุ่มตัวอย่าง] [การเก็บรวบรวมข้อมูล] [การเตรียมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์] [การวิเคราะห์ข้อมูล] [การแปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล] [การเขียนรายงานวิจัย] [ความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้จากการวิจัย] [จรรยาบรรณนักวิจัย] [คุณสมบัติของนักวิจัยที่ดี]
     หมายเหตุ: หากยังไม่ link หมายถึงยังไม่ตีพิมพ์ไว้ครับ

     ผมเอาประสบการณ์ส่วนหนึ่งที่ได้จากการเรียน และลงมือทำมาเขียน ถ้าหากเอามาจากที่อื่น ๆ มาผสมผสานลงไป ก็อ้างอิงไว้ และหากผิดถูกประการใด ก็ขอน้อมรับเพื่อการปรับปรุงในทันทีนะครับ (เขียนเหมือนรายงานนักศึกษาเลย) สิ่งนี้ยังต้องการคำชี้แนะอีกมาก ขอเชิญเติมเต็มให้ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 5470เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2005 02:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

     นึกขึ้นได้ (ก่อนจะขอไปนอนสักนิด) คนที่จะเริ่มทำวิจัยมักจะพูดถึงบ่อย ๆ (เขาเรียกว่าบ่น...) ว่า คนที่ให้คำปรึกษามักจะพูดไปพูดมา แล้วมาลงที่คำถามวิจัยของคนให้คำปรึกษาเสียเอง (ชอบแจกคำถามวิจัย แต่ตัวเองไม่ยอมทำฮา...) ซึ่งคนที่จะเริ่มทำ (ผู้มาขอคำปรึกษา) เขาไม่สนใจประเด็นนั้นด้วย การทำวิจัยครั้งนั้นที่ทำท่าว่าจะได้เริ่ม ก็มีอันต้องหยุดลงโดยดุษฎี

     อีกเรื่อง (2 แล้วนะ) คนให้คำปรึกษาในตอนเริ่มต้น ต้องมีเทคนิคการใส่ empower ให้ลุกโชติช่วง (เพราะเขาติดมาแล้ว) แต่ไม่ใช่การทำให้มอดลง (อันนี้สังเกตได้จากในหน่วยงาน เป็นคน ๆ ไป คือ แรก ๆ จะมีผู้มาขอคำปรึกษามาก แต่พอหลัง ๆ ค่อย ๆ เงียบไป เพราะเขาจะบอกต่อ ๆ กันไป)

     อีกเรื่อง (3 แล้ว) คนที่เขาสนใจจะทำวิจัยมีมาก (ในหน่วยงาน เช่น สสจ. ไม่ใช่ในระบบมหาวิทยาลัย) แต่ทำไมกลับมีงานวิจัยออกมาน้อยมาก ในแต่ละปี หากไม่นับที่ต้องทำผลงานทางวิชาการ (แจกคำถามวิจัยอีกแล้วครับท่าน...) นับจากอะไรเหรอ ก็จากการเข้ารับการอบรม จะมีผู้สนใจสมัครเยอะมาก และอบรมอย่างตั้งใจ แต่ไม่ทราบทำไมพอแบ่งทีมที่ปรึกษาให้ ส่วนใหญ่ก็จะหายไปเลย (ต่อม ๆๆๆ)

ขอแนะนำสำหรับผู้วิจัยมือใหม่ ต่อการเริ่มต้นทำวิจัย ว่าควรจะเริ่มต้นค้นหาจากตรงไหนดี?? ขอแนะนำว่าเริ่มต้นจาก
- ประสบการณ์การทำงาน
- ประสบการณ์จากตำแหน่งหน้าที่การงาน
- สถานที่หรือหอผู้ป่วยที่ปฏิบัติงาน
- การทบทวนวรรณกรรม
- ปัญหาสุขภาพของประชาชนหรือผู้รับบริการ
- นโยบายสุขภาพ
- นโยบายรัฐบาล
- จากการระดมสมอง
- จากทฤษฏี
  การเริ่มต้นเมื่อไหร่ดีที่สุด หรือการเริ่มต้นควรเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่  ขอแนะนำว่า...ควรเริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้และเดี๋ยวนี้...เป็นการดีที่สุด
แล้วหลายๆ  คน อาจสงสัยว่าทำไมต้องทำวิจัยเพราะว่าคำตอบที่ได้จากการทำวิจัยเป็น....
- การสร้างองค์ความรู้
- ปรับปรุงคุณภาพงาน
- ขบวนการที่ใช้ในการหาคำตอบเป็นขบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เป็นการตรวจสอบทฤษฏีที่ใช้

เป็นสะใภ้เมืองลุง กำลังเรียนโทรัฐประศาสนศาสตร์สาขาการปกครองท้องถิ่น ของม.ขอนแก่น หลักสูตรระบุให้ทำสาระนิพนธ์ขอความรู้จากคุณอนุชา ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร สาระนิพนธ์มีขั้นตอนอะไรบ้าง

เข้ามาเจอเว็บไซค์โดยบังเอิญเพราะsearthหาการวงแผนกลยุทธ์  เคยเรียนจบจากศุนย์อนามัยแม่และเด็ก ยะลา บ้านใกล้เรือนเคียง

     ขอตอบ คุณณิชมน เกตุมณี ครับ คงจะต้องเริ่มต้นจากปัญหาวิจัยนะครับ ตอนนี้สนใจประเด็นอะไรอยู่ครับ ยังไงแล้วผมจะรีบลงเรื่องต่อไปคือ [การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย] ให้นะครับ ขอปั่นคืนนี้อีกสักเล็กน้อย ครับ ใช้เวทีนี้ ลปรร. กันได้เลยครับ
     เรียน คุณณิชมน เกตุมณี ผมได้เขียนเพิ่มเรื่อง การเลือกเรื่อง เลือกปัญหา และการกำหนดปัญหาการวิจัย คลิ้กได้เลย ส่วนเรื่องที่ต่อ ๆ ไป ก็จะทยอยเรื่อย ๆ ไปครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท