สังคมสอนให้กลัวและเกลียดโรคเอดส์ จนลืมนึกไปว่าคนที่ติดเชื้อจะถูกเกลียดไปด้วย


กศน. ว่าเป็นหน่วยจัดการทรัพยากรบุคคลที่คอยเติมเต็มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยได้มากหน่วยหนึ่ง

          สืบเนื่องมาจากประเด็นบันทึก การศึกษานอกโรงเรียน กับการจัดการความรู้ในองค์กร และผมได้เข้าไปแจมด้วย ว่า ถ้าหากผมจะเรียก กศน. ว่าเป็นหน่วยจัดการทรัพยากรบุคคลที่คอยเติมเต็มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยได้มากหน่วยหนึ่ง คงไม่ผิดนะ คำนี้ผมเคยใช้บรรยายให้เยาวชนที่มาจาก กศน.และมาจากในระบบโรงเรียนฟังครับ (ตอนจัดอบรมฯ เรื่องโรคเอดส์ ที่ อ.บางแก้ว) คิดเห็นเพิ่มเติมอย่างไรครับ
          ที่ม กศน.(ชพ.) ได้ตอบกลับมาว่า ขอบคุณที่ท่านช่วยสนับสนุน สละเวลาให้ความรู้แก้น้อง ๆ ชาว กศน. และยังให้กำลังใจพวกเรา Km กศน.มือใหม่  ตอนนี้ ที่ชุมพร  สถานการณ์โรคเอดส์ก็น่าเป็นห่วง กศน.ชุมพรทำงานร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน เราค้นพบและยอมรับ จุดอ่อนของการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ อีกส่วนหนึ่งที่ชุมพร  คือ เราขาดกระบวนการประเมิน ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งก็จะพยายามทำให้เกิดเป็นรูปธรรมในปีนี้  ท่านคงช่วยเป็นวิทยากรให้น้องๆ ทั้งในและนอกระบบ โรงเรียน รวมทั้งชี้แนะพวกเราต่อไปนะคะ
          ผมจึงได้ เสวนา (แห้ง ๆ) ผ่านกลับไป ว่าจริง ๆ แล้วฐานคิดผมคือความรู้เรื่องโรคเอดส์นี่มีกันอยู่พอสมควรแต่การตระหนักต่อตนเองนี่สำคัญ และที่สำคัญที่สุดเหนืออื่นใดเลยในเรื่องโรคเอดส์ คือการตระหนักต่อผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อครับ เขายังเป็นมนุษย์ครับเรา (สังคม) ต้องดูแลเขา อันนี้ต้องยอมรับกันว่าแรก (ผมอยู่ ม.3) ตอนนั้นสังคมสอนให้กลัวและเกลียดโรคเอดส์ จนลืมนึกไปว่าคนที่ติดเชื้อจะถูกเกลียดไปด้วย แล้วจริง ๆ ตอนนั้นผมทำรายงานหน้าชั้นเรียนพอผมบอกว่าให้สงสารเขาบ้าง (เพราะมีข่าวลงว่าพ่อแม่ก็ไม่เอา ไม่รับกลับบ้าน ผมเอามาอ้างถึง) เพื่อน ๆ หัวเราะผมกันทั้งชั้นเรียน ทุกวันนี้เรา (สังคม) ก็ต้องมาจ่ายเงินเพื่อรณรงค์ให้คนทั่วไปเข้าใจและอยู่ร่วมกันในสังคมได้
          ประเด็นที่สำคัญที่เป็นต่อแรก คือจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการตระหนักต่อโรคเอดส์ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง คือการเรา (สังคม) ได้เรียนรู้ผู้ป่วยเอดส์อย่างเข้าใจ (เพราะเห็นกับตา ไม่ใช้สักแต่เขาว่า...) ผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อก็อยู่ได้ในสังคมนานขึ้น อีกนาน (จะอยู่ได้อย่างปกติถ้าร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ แข็งแรง) นี่คือต่อที่สอง (เชื่อไหมครับว่าคนไทยมีพื้นฐานการอาทรต่อกันอยู่ใน ยีนอยู่แล้ว)
          ผมไม่ใช่คนที่ทำงานเอดส์โดยตรง แต่เกี่ยวข้องเท่านั้น วันนั้น (วันเอดส์โลก ปี 2546) ที่บางแก้ว ผมแบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม น้อง ๆ ประมาณ 50 คน (ถ้าจำไม่ผิด) โดยให้ทุกกลุ่มมีสมาชิกที่หลากหลายครับ ผสมผสานกัน ประถม มัธยม คละโรงเรียนกัน เพศหญิง-ชาย น้อง ๆ จาก กศน.ก็แยกย้ายกันอยู่ทุกกลุ่ม แล้วภาคเช้าก็ให้เล่าความรู้ ประสบการณ์ และความรู้ต่อเอดส์ (ไม่เน้นว่าโรคหรือคนไข้) พี่เลี้ยงประจำกลุ่มก็ออกมาสรุป (อาจารย์ที่ควบคุมเด็กมานั่นแหละ ใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมหมด) ตอนบ่ายก็ช่วยกันจัดบอร์ดเพื่อเอากลับไปติดที่โรงเรียน หรือศูนย์ กศน.
          และที่ผมต้องพูดว่า กศน. ว่าเป็นหน่วยจัดการทรัพยากรบุคคลที่คอยเติมเต็มศักยภาพให้แก่ประเทศไทยได้มาก ก็เพื่อสร้าง Empowerment ให้น้องเขา เนื่องจากดูแล้วค่อนข้างจะแปลกแยกอยู่ในช่วงเปิดเวทีแรก ๆ ซึ่งก็ผมพูดความจริงนี่ครับ (ยาวไปไหม...ฮา)

หมายเลขบันทึก: 5472เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2005 04:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท