ปัญหาที่ทำให้มะนาวเหี่ยวเฉาและใบเหลือง


เรื่องโรครากเน่าโคนเน่าที่เกิดในพืชตระกูลส้มและมะนาวนั้น  ในอดีตนับว่าเป็นปัญหาที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้แก่พี่น้องเกษตรกรกรในทุ่งรังสิตที่ในอดีตแถบนี้จะมีการปลูกส้มกันอย่างแน่นหนา พอๆกับปัญหาเรื่องโรคแคงเกอร์ เพราะว่าเชื้อราฟัยท็อปทอร่า (phytophthora sp.) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสำคัญที่ทำให้รากเน่านั้น มักจะก่อตัวสะสมอยู่ในดินจนเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยที่เกษตรกรไม่ทราบถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง มีการใช้สารปราบเชื้อราที่เป็นสารเคมีที่มีพิษรุนแรง ทำลายระบบนิเวศน์รอบรากของต้นส้มและมะนาวให้ล้มหายตายจากไปอย่างสิ้นเชิง ไม่หลงเหลือสิ่งมีชีวิตชนิดดีที่คอยเกื้อหนุนค้ำจุนให้ระบบนิเวศน์อยู่กันได้อย่างสมดุล

การปลูกมะนาวในปัจจุบันก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ยังคงมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ปลูกมะนาวกันอยู่ในรูปแบบเดิมๆ คือการใช้สารเคมีที่เป็นพิษหรือยาฆ่าแมลงที่มีโทษต่อการทำลายระบบนิเวศน์สูง ป้อนข้อมูลส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ลงไปในแปลงเรือกสวนไร่นา โดยที่มิได้ฉุกคิดสักนิดหนึ่งว่าระบบการใช้สารเคมีแบบเก่านั้นทำให้สวนส้มในอดีตนั้นต้องเจ๊งไม่เป็นท่า อพยพโยกย้ายไปตามภูมิภาคต่างๆ จนเกือบจะทั่วประเทศ ขณะนี้ก็เริ่มที่จะเริ่มกันใหม่ในแถบจังหวัดบุรีรัมย์...พี่น้องเกษตรกรจะเห็นว่าการทำเกษตรกรรมเชิงเคมีที่เป็นพิษนั้น ทำให้อายุของสวนพืชไร่ไม้ผลหรือมะนาวมีอายุสั้น ไม่ยั่งยืน ไม่สามารถทำให้เป็นสมบัติพัสถานส่งต่อไปยังลูกหลานให้เป็นอาชีพหรือธุรกิจที่สามารถเลี้ยงตัวและครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นไปได้ตลอดรอดฝั่งไม่

ความจริงแล้วการแก้ปัญหาเรื่องโรครากเน่าโคนเน่าทำได้ไม่ยากเลย เพียงแค่เราเข้าใจหลักการทำงานของเจ้าเชื้อโรคที่ว่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์เชื้อรา (fungi) หลักการทำงานของจุลินทรีย์หรือเชื้อราที่ว่านี้ก็คือถ้ามีพวกหรือจำนวนที่มากกว่าก็สามารถที่จะครอบครองควบคุมพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ หากพบปัญหาเรื่องรากเน่าโคนเน่าบริเวณใดที่มีการระบาดรุนแรงหรือสูงเกิน บ่งบอกว่าพื้นที่ในบริเวณนั้นเริ่มมีกองทัพของจุลินทรีย์ตัวร้ายอยู่ค่อนข้างมาก จะต้องทำการบำรุงส่งเสบียงกองทัพลงไปปราบปราบ ถ้าปริมาณหรือจำนวนกองทัพที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นส่งลงไปน้อยกว่า กองทัพของเชื้อโรคที่มีมากกว่าก็อาจจะทำให้ไม่สามารถรักษาโรคได้ กองทัพของจุลินทรีย์ชนิดดีก็จะแพ้ ทำให้การใช้งานดูแล้วไม่เห็นผล ไม่เกิดผล ฉะนั้นอาจจะต้องหมั่นส่งกองกำลังไปอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เดือนละครั้ง ไตรมาสละครั้ง ตามแต่ความสามารถความชำนาญ (Skill) ของเจ้าของสวนที่สามารถที่จะเฝ้าสังเกตและนำจุลินทรีย์ดีมีประโยชน์อย่าง “ไตรโคเดอร์ม่า Tricoderma sp.” ลงไปใส่โคนต้นหรือีระบบนิวเศน์ในสวนของเราได้มากน้อยแค่ไหน?

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

 

หมายเลขบันทึก: 546621เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 10:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท