จริต


พระพุทธองค์ทรงกล่าวเอาไว้ว่า คนบนโลกนี้มีจริตอยู่ ๖ ประเภท

เรียนรู้เพื่อเข้าถึงและเข้าใจ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ชีวิตในทุกสถานที่และทุกสถานการณ์
ความหมายของจริต

จริต หรือ จริยา มีความหมายอยู่หลายความหมาย ดังต่อไปนี้

๑. แปลว่า ความประพฤติ ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน พื้นเพของจิต อุปนิสัย พื้นนิสัย แบบ หรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน
๒. แปลว่า จิตท่องเที่ยว สถานที่จิตท่องเที่ยว หรืออารมณ์ที่ชอบท่องเที่ยวของจิต
๓. แปลว่า ลักษณะอันเป็นพื้นฐานของจิต หรือนิสัยอันเป็นพื้นฐานของแต่ละบุคคคล
รวมความว่า จริต คือ ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเป็นพื้นฐานใจของแต่ละบุคคคล
ประเภทของจริต

จริตของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ มีความแตกต่างออกไป ๖ อย่าง ดังนี้ คือ

๑. ราคจริต คือ ประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากราคะเป็นพื้นฐานใจ
๒. โทสจริต คือ ประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโทสะเป็นพื้นฐานใจ
๓. โมหจริต คือ ประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากโมหะเป็นพื้นฐานใจ
๔. วิตกจริต คือ ประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากวิตกเป็นพื้นฐานใจ
๕. สัทธาจริต คือ ประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากศรัทธาเป็นพื้นฐานใจ
๖. พุทธิจริต คือ ประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย อันเกิดจากปัญญาเป็นพื้นฐานใจ

คำสำคัญ (Tags): #พุทธศาสตร์#จริต
หมายเลขบันทึก: 546085เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2013 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2013 15:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท