แผน การจัดการความรู้ ม.อ.ปี 2550


เราจะนำ Communication platform มาใช้ในมหาวิทยาลัยเพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนคือเราจะเอา Knowledge Volution มาลงใน ม.อ. เพื่อการสื่อสารภายใน และเราจะจัดให้มีเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จจากคณะหน่วยงานต่างๆเล่าในที่ประชุมผู้บริหารครั้งละ 15 นาที

เมื่อ 28-29 กย.49 สัมมนาทำแผนการจัดการความรู้ ของ ม.อ.แม้เวลาผ่านหลายวันแล้ว ดิฉันยังคงต้องเก็บวันนั้นมาเล่าสู่กันฟัง วันนั้นกรรมการมาสัมมนากันครบทีมกว่าที่ดิฉันคาดหวังไว้ มีแขกรับเชิญ 4 ท่านจาก ภาควิชาพยาธิ 3 ท่าน คือ อ.ปารมี พี่เม่ย และคุณโอ๋-อโณ  และอีกคนที่เราเชิญคือ ดร.ธวัชชัย ปิยวัชร์ปิยะวัฒน์ จากวิทยาการจัดการงานนี้เราผสมผสานกันระหว่างการทำงานแบบทางการกับไม่ทางการ 
      ตลอดช่วงเช้าของวันเราทบทวนการทำงานในรอบปีโดยวิธี AAR กันบรรยากาศในช่วงต้นไม่ค่อยดีดูเหมือนมีกำแพงบางๆกั้นไว้ ดิฉันสัมผัสได้ว่าเกิดจากสองประการคือเราไม่ใช้สุนทรียสนทนากันเท่าไรต่างคนต่างอยากพูด บวกกับกรรมการคงติดอาการเกรงใจทีมเลขาฯที่จะพูดออกมาจากใจว่าเป็นฐานงานที่ส่งผลออกมาไม่สะใจอย่างไร แต่กระนั้นบรรยากาศเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ จากคำพูดของพวกเราที่คอยย้ำเตือนว่าขอพูดจากใจไม่มีผิดไม่มีถูกเป็นเพียงมุมหนึ่งที่มองมหาวิทยาลัยไม่ได้มองกรรมการชุดนี้ หลังจากนั้นดูเหมือนมีเรื่องที่แต่ละคนจะพูดมากมาย ขอคิวกันแบบให้ไม่ทัน 
สรุปความตามโจทย์ 4 ข้อแบบ การทำ AAR รวมๆ ว่า 
ความคาดหวังของการจัดการความรู้ ม.อ. ความคาดหวังส่วนตนว่าจะช่วยมหาวิทยาลัยได้ตามกำลังของตน หวังจะมองเห็นองค์กรเป็นองค์กรที่มีการแลกเปลี่ยน พูดคุยกันได้อย่างเป็นธรรมชาติมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์แบบง่ายๆ สบายๆ ไม่เน้นสาระวิชาการที่หาอ่านได้ กลุ่มคนในมหาวิทยาลัย รู้ว่าตนมีความสำคัญในบทบาทของตน คุยกันได้เป็นภาษาองค์กรนำองค์กรสู่คุณภาพ
ได้มากกว่าความคาดหวัง เราไปได้ไกล...ในขณะที่องค์กรเราใหญ่(เรามีบุคลากร 8,000 คน มีคณะหน่วยงาน 53 หน่วยงานกระจายกันอยู่ใน 5จังหวัด)  เรามีต้นทุนเดิมมีผู้บริหารไฟเขียว มีการนำ KMไปใช้แบบหลากหลายเราช่วยกันทำ...โดยมีกรรมการ kmเป็นตัวคูณส่วนหนึ่งเป้าเราไม่ใหญ่มาก ดัดแปลงกิจกรรมเดิมที่มีอยู่เน้นการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดบุคลากร 1คนไปสู่คนอื่นอีกหลายคน
ได้น้อยกว่าความคาดหวัง เรา Implementไปยังคณะได้ช้ากว่าที่ควร(ไม่นับรวมคณะแพทยศาสตร์มีอยู่เป็นทุนเดิม)ไปยังรองอธิการ(ผู้นำ)ที่รับผิดชอบภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยยังไม่ได้(เราคุยกับ CKO แบบ f2f 1 ครั้งยังไม่เริ่ม ติดต่อกับ cko ในเวทีเสมือน)
สิ่งที่จะทำต่อไป
กรรมการฯขอเรียนแบบเลียนแบบการทำงานการจัดการความรู้ของท่านอาจารย์วิจารณ์ พานิช โดยขอจำลองวิธีทำแบบเป็น Change agent คือไม่ทำเอง ไปเชียร์ ไปขายความคิด ไปกระตุก ให้คณะหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายของเราดำเนินการเราเพียงคอยสนับสนุนส่งเสริมมองดู จัดเวทีกลาง
        หลังจากนั้นช่วงบ่ายและอีกครึ่งวันเช้าของวันที่ 29 กย.49 ต่อมา เราก็ได้แผนการจัดการความรู้ของ ม.อ. ออกมาอย่างสวยงาม(อันนี้ดิฉันพูดเอง)ในแผนเรามีรูปแบบต่างๆ มากมายส่วนใหญ่เป็นการไปเชียร์ให้เกิดในคณะหน่วยงาน สองสิ่งที่ดิฉันปลื้มใจมากคือเราจะนำ Communication platform มาใช้ในมหาวิทยาลัยเพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนคือเราจะเอา Knowledge Volution มาลงใน ม.อ.เพื่อการสื่อสารภายใน และ อีกสิ่งที่ภูมิใจคือเราจะจัดให้มีเรื่องเล่าแห่งความสำเร็จจากคณะหน่วยงานต่างๆเล่าในที่ประชุมผู้บริหารครั้งละ 15 นาที (การประชุมทีมบริหารและที่ประชุมกรรมการบริหารบุคคลทุกเดือน)เพื่อชื่นชมและโชว์ความสำเร็จของกันและกันขณะนี้แผนการจัดการความรู้ของเรา รอเข้าที่ประชุมทีมบริหารขอความเห็นชอบที่จะกระจายสู่คณะหน่วยงานในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้

 

 

หมายเลขบันทึก: 54583เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2006 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

 Love Letter เรียนท่านพี่เมตตา พาสุขใจ นำไทยเจริญ และ ชาว KM_PSU

 ชาวมอดินแดงให้กำลังใจครับ

 พวกเราจะเน้น CoP และ สร้างคุณอำนวย ครับ





จะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไหร่คะ สำหรับ Knowledge Volution ฉบับม.อ. เนี่ย ดีใจจังเลย...อย่าลืมประชาสัมพันธ์ให้กระหึ่มไปเลยนะคะ คุณเมตตา
เข้ามาชมบล็อกสวยๆค่ะ
  • ฝั่งซ้ายยังว่างๆ อยู่ คุณเมตตาลองเข้าไปแก้ไขคำสั่ง CSS ตรงที่บอกว่า font size xx-small ให้เป็น xx-medium แล้วเปลี่ยน code สี font ให้เป็นขาว(#ffffff) หรือเหลือง (#ffffcc)  ก็จะได้ชื่อบล็อกที่เด่นเป็นสง่าด้านซ้ายด้วยค่ะ
  • หา code สีอื่นได้ง่ายๆ ด้วยการคลิ๊กที่จานสี  แล้วดูรหัสสีที่แสดงด้านล่างขวาของ box ค่ะ

พี่เม่ย ขอบคุณ ขอบคุณหลายๆ ปฏิบัติแล้วค่ะ

  • ม.อ. work มากเลยครับ
  • โชคดีที่เข้ามาศึกษาบ่อยๆ
  • ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท