ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การบริหารเวลากับการวิเคราะห์งาน


การบริหารเวลากับการวิเคราะห์งาน

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย ม.พิษณุโลก

www.drsuthichai.com

                บุคคลที่ประสบความสำเร็จ มักจะบริหารเวลาอย่างมีศิลปะ เพราะคนเรามีเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากัน แต่บุคคลที่ประสบความสำเร็จ มักใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่ามากกว่าบุคคลโดยทั่วไป การวิเคราะห์งานเป็นปัจจัยหนึ่งของการใช้เวลาอย่างมีศิลปะ

                ภายใน 24 ชั่วโมง ของคนเรา มักมีการใช้เวลาที่แตกต่างกัน การทำงานก็มีความแตกต่างกัน บางคนประกอบธุรกิจส่วนตัว บางคนเป็นนักเขียน บางคนเป็นวิทยากร บางคนรับราชการ บางคนทำงานเอกชน บางคนเป็น นักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ

                นักเรียน มักจะใช้เวลาเรียนตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์

                นักศึกษา นิสิต ภาคปกติมักเรียน จันทร์-ศุกร์ ส่วนภาคพิเศษหลายแห่งอาจเรียน เสาร์ อาทิตย์

                ข้าราชการ พนักงานของรัฐ ส่วนใหญ่มักทำงาน จันทร์-ศุกร์

                พนักงานบริษัท ส่วนใหญ่ทำงาน จันทร์-เสาร์

                พนักงาน 7-11 , พนักงานห้างสรรพสินค้า มักทำงานเป็นกะ

                นักเขียนหลายคนทำงานช่วงกลางวัน และอีกหลายคนทำงานช่วงกลางคืน

                บางคนมีหลากหลายอาชีพ เช่น ตัวของกระผมมีหลายอาชีพ อาชีพที่ 1 อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย , อาชีพที่ 2 เขียนหนังสือขาย , อาชีพที่ 3 ทนายความ , อาชีพที่ 4 วิทยากร , อาชีพที่ 5 เจ้าของธุรกิจ(สถานีวิทยุและจัดรายการวิทยุ) เป็นต้น

                ฉะนั้นการแบ่งแยกงานเพื่อทำการวิเคราะห์จึงทำให้เราสามารถบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ช่วงเช้ามืด 5:00-8:00 น. ผมมักใช้เวลาในการเตรียมงานวิทยากรและงานเขียน, ช่วง 9:00-16:00 น. ผมมักใช้เวลาเพื่อสอนหนังสือในอาชีพอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย , ช่วงเวลาตอนเย็น16:00-19:00 น.ส่วนใหญ่ผมมักจะใช้เวลาในการเตรียมงานทนายความหรืออ่านหนังสือทางด้านกฏหมาย, ช่วงเวลาค่ำ 19:00-20:00 น. ผมมักใช้เวลาในการจัดรายการวิทยุ ,ช่วงเวลากลางคืน 20:00-23:00 น. ผมจะใช้เวลาในการเขียนหนังสือ เป็นต้น

                การวิเคราะห์ลักษณะงาน จึงทำให้เราเป็นคนใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมผมถึงต้องใช้เวลา ช่วงเช้ามืด 5:00-8:00 น. ผมมักใช้เวลาในการเตรียมงานวิทยากรและงานเขียน และ 20:00-23:00 น. ผมจะใช้เวลาในการเขียนหนังสือ เพราะงานเขียน เป็นงานที่ต้องใช้สมาธิ ใช้เวลา เป็นอันมาก

                อีกทั้งการบริหารเวลาที่ดี เราควรวางแผนเป็นปีๆ เพราะจะทำให้เราเห็นภาพรวมได้ชัดยิ่งขึ้น เช่น งานอาชีพวิทยากร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ของแต่ละปี จะไม่ค่อยมีมากนักโดยเฉพาะลูกค้าที่เป็นหน่วยงานราชการ เพราะเป็นช่วงต้นงบประมาณ(ตุลาคมของทุกปี) ทำให้อาชีพวิทยากรของผมได้พักผ่อนแล้วได้มีโอกาสใช้เวลาในการเขียนหนังสือมากยิ่งขึ้น

 

                ฉะนั้น การวิเคราะห์ลักษณะงานกับการบริหารเวลา จึงทำให้เราสามารถบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการใช้เวลาของกระผมข้างต้น หลายคนอาจจะสงสัยว่า แล้วจะเอาเวลาไหน ไปเดินทาง แล้วเวลากิน เวลาคุย เวลาเล่น ละ อยู่ไหน เนื่องจากกระผมเชื่อว่า การบริหารเวลาเป็นศิลปะ ผู้บริหารเวลาจึงควรมีการยืดหยุ่น การใช้เวลาเพื่อให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #การบริหารเวลา
หมายเลขบันทึก: 545365เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 13:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท