แม่งูเอ๋ย...ของเด็กๆ ในยุคสังคมก้มหน้า


          ทุกบ่ายวันพุธครูนกจะประจำฐานที่มั่นคือ ลานอิฐบล็อกบริเวณหน้าเสาธงเพื่อสอนกิจกรรมในเครื่องแบบคือลูกเสือ - เนตรนารี ระดับชั้นม.๑  ม.๒ และ ม.๓ ระหว่างช่วงเปลี่ยนคาบหันไปด้านหน้าตึกอีกฟากหนึ่งพบศิษย์เก่าห้อง ม.๖/๔ กำลังจับกลุ่มกันเล่นแบบเด็กๆ ระดับประถม ทำให้ใครๆ ที่เดินผ่านต้องเหลียวมอง  เหล่าน้องๆ ก็หยุดดู
           ภาพที่ครูนกมองเห็นคือ สมาชิกในห้องมี ๓ กลุ่มคือกลุ่มเล่นงูกินหาง  กลุ่มเล่นแบดมินตัน และกลุ่มสังคมก้มหน้าอยู่กับสมาร์ทโฟน

                         

          จากสิ่งที่มองเห็น...จากสัมผัสทางเสียงที่ได้ยิน  นั่นคือ การละเล่นงูกินหาง (อ่านได้ที่นี่)

                                                  พ่องู : แม่งูเอ๋ย 
                                                  แม่งู : เอ๋ย (ลูกงูช่วยตอบ)
                                                  พ่องู : กินน้ำบ่อไหน
                                                  แม่งู : กินน้ำบ่อโศก
                                                  ลูกงู : โยกไปก็โยกมา (แม่งูและลูกงูโยกตัว ขยายแถวทั้งแถว)
                                                  พ่องู : แม่งูเอ๋ย
                                                   แม่งู : เอ๋ย..........

                          
          อีกภาพที่ถัดไปบริเวณใกล้ๆ กัน สังคมก้มหน้าซึ่งเป็นสังคมที่ครูนกอยากเห็นน้อยที่สุดในโรงเรียน  หรือแม้แต่ในการประชุม

                                  
         กลุ่มสังคมก้มหน้าจะหันมามองกลุ่มที่เล่นงูกินหางในช่วงที่กลุ่มงูเสียงดังมาก จากนั่นก็ก้มหน้าอยู่กับสมาร์ทโฟนต่อ   ประหนึ่งเพื่อนเราเล่นไม่รู้จักโต 
         สำหรับครูนกดีใจค่ะที่เห็นภาพนี้ เด็กๆได้พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ที่เรียกสั้นว่า EQ : Emotional Quotient เตรียมความพร้อมในการเข้าสังคม การเคารพกฏ กติกา การสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อผู้อื่น  การรู้จักแพ้รู้จักชนะ และครูนกเชื่อว่าการละเล่นที่ครูนกเห็นวันนี้จะจุดประกายให้น้องๆ อยากเล่นแบบพี่ๆ ซึ่งทำได้ยากในโรงเรียนของเราซึ่งพื้นที่จำกัด แต่ก็ไม่ยากจนกระทั่งเป็นไปไม่ได้

ทำไมครูนกคิดแบบนี้
เพราะในช่วงเวลาถัดมา
เด็กๆ ที่มารอเรียนลูกเสือมีการละเล่นแบบนี้ค่ะ

                  

             กลุ่มสาวน้อยเริ่มใช้สิ่งในธรรมชาติมาเล่นกันแบบเด็กสมัยโบราณ....สำหรับครูนกยกให้เป็นภาพน่ารักค่ะ ร้องเตือนอย่างเดียวว่า "ระวังหน่อยนะค่ะ...เราใส่กระโปรง" และสังเกตว่า ความสามัคคีเริ่มแล้ว..ดูจากเครื่องแบบของสาวน้อยมีตั้งแต่เนตรนารีเหล่าเสนา(สีเขียว) เนตรนารีเหล่าอากาศ(สีฟ้ากรมท่า)  เนตรนารีเหล่าสมุทร (สีขาว)เกือบครบทุกเหล่าของโรงเรียนเลยค่ะ
                  
           สรุปภาพที่เห็นเป็นภาพที่แสดงว่าลูกศิษย์เรายังมีความฉลาดทางอารมณ์ รอจังหวะและสถานที่เหมาะแสดงออกมา เหนืออื่นใดอยากเห็นเด็กๆ ลดปริมาณชั่วโมงในการอยู่กับสังคมก้มหน้าที่นั่งก้มดูเฉพาะหน้าจอ มือน้อยๆ ก็สไลด์และสไลด์ ครูยังอยากได้ยินเสียงหัวเราะและรอยยิ้มร่วมกันค่ะ


        

หมายเลขบันทึก: 545168เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2013 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

 

       กิจกรรม สอน/แฝง แง่คิด + ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยนะคะ ....

 

       

 

 

 

การละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยหลาย ๆ อย่าง ช่วยเตรียมพร้อมให้เด็ก ๆ เป็นพลเมืองที่มี

คุณภาพ รู้จักเคารพกฎ กติกา มารยาท ยอมรับฟัง  มีเหตุมีผล  น่าเสียดายที่แทบไม่มีเด็ก

ไทยรู้จักกับการละเล่นเหล่านี้แล้ว  ดีใจที่ลูกศิษย์ครูนกยังสืบทอดไว้จ้ะ

 

ชื่มชมค่ะ...ครูบางคนไม่ชอบให้เด็กเล่นส่งเสียงดังในระหว่างพักกลางวัน...ชอบให้เด็กเข้าห้องสมุดอ่านหนังสือ...ซึ่งผิดอย่างมหันต์เพราะการที่เด็กได้เล่นได้ส่งเสียงหัวเราะดังๆเป็นการผ่อนคลายและออกกำลังกายที่ดีที่สุด...ที่สำคัญเด็กได้พัฒนาการครบทั้ง 4 ด้านนะคะ...ขอบคุณค่ะ

ชื่นชมกับคุณครูนกค่ะ  ที่มองเห็นแง่งามนี้ของเด็ก ๆ และความประณีตของครู ขอบคุณค่ะ

การละเล่นแต่ดั้งเดิมมักมีกุศโลบายสอนอยู่  นอกจากทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว  ออกกำลังกายแล้ว  สิ่งที่สำคัญไปกว่านั้นคือ ของ ๆ ไทย ก็เป็น ของ ๆ ไทยค่ะ  หากคนไทย เด็กไทย ไม่เห็นคุณค่าที่มีอยู่นี้  ก็คงเห็นทีว่า ของ ๆ ดี คงเก็บไว้เป็นเรื่องเล่าและความทรงจำนะคะ

(@^_________^@) 

มองภาพแล้วคิดถึงตัวตนในอดีตนะค่ะ

ดีจังค่ะที่ลูกศิษย์ครูนก ยังรู้จักการเล่นแบบนี้อยู่

น่าจะจัดกลุ่มสาธิตการเล่นแบบอื่นๆ ดูบ้างนะค่ะ

ดีใจค่ะที่เห็นเด็กๆ ยังเล่นแบบนี้อยู่

ชื่นชมนะคะครูนก

ขอบคุณครับ ที่นำบันทึกกิจกรรมดีๆมาแบ่งปัน

เอามาฝากหนึ่งภาพครับ

สวัสดีวันแม่...และขอบคุณทุกๆท่านสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ

อาจารย์ อ.นุ
พี่ โอ๋-อโณ
คุณหมอ nui
คุณ เขียวมรกต
คุณ Wahoo_KrooKay
คุณ เพชรน้ำหนึ่ง
อาจารย์ ชยพร แอคะรัจน์
คุณหมอ Dr. Ple
คุณ พ.แจ่มจำรัส
คุณ ครูมะเดื่อ
อาจารย์ บูรพากรณ์
อาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา
คุณ นิตยา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท