เมื่อ นศ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ชอบเรียนรู้แบบ Learning By Doing


ปัญหาที่ผ่านมา

เชื่อว่าอาจารย์หลายท่าน คงมีคำถามที่ผมเองก็มีเช่นกัน เป็นต้นว่า

เหตุใด นศ จึงเปลี่ยนไปจากสมัยก่อนนัก

เหตุใดให้ความรู้กลับไม่ยอมรับ

เหตุใดเพิกเฉยต่อวิชาการใดๆที่ผู้สอนมอบให้

และเหตุใด นศ จึงเฉื่อยเนือยไม่ตอบสนองต่อการเรียนของผู้สอน

และอื่นๆ...



แนวคิด

สิ่งเหล่านี้เป็นความคิดสงสัยในใจผมตลอดมา

ทั้งพยายามขอความรู้จากอาจารย์รุ่นพี่ทั้งภายในภายนอกสาขา ภายในคณะหรือพูดให้ถูกคือแทบทุกท่านก็ว่าได้

โดยเฉพาะท่าน ผศ.สมศักดิ์ พงษ์เดช ได้เมตตาสั่งสอน ถ่ายทอดวิชาครูให้กับกระผม และขอขอบพระมา ณโอกาสนี้ด้วยครับ



กลับมาประเด็นของเรากันต่อครับ

...จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 กค ที่ผ่านมา

ทางสาขาได้จัดงานรับน้องสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

จากการสังเกตุงานที่ นศ จัด เกมส์ที่ให้น้องเล่น และสีสันความสนุกที่มีในแววตา

มันช่างต่างกับตอนเรียนกับเรานัก !!!!

ทีนี้ผมเองพยายามตามหา ศึกษาแนวคิดที่จะช่วยให้ นศ ได้ความสุข พร้อมกับได้วิชาความรู้เชิงประจักษ์ อย่างน้อยให้มันรู้บ้างเหอะนะ

ผมได้ศึกษาอีบุ้คเรื่องการกลับทางห้องเรียนจากท่าน นพ วิจารญ์ พาฯิชย์

สิ่งที่ท่านเขียนนั้นเป็นเรื่องที่ดีมากแต่ผมขอ กล่าวอย่างตรงไปตรงมา ผมมองว่ายาก และเหนื่อยแน่

แต่ก็เป็นสิ่งที่เราควรกระทำ หากไม่ทำแล้วยังจะเรียกตัวเองเป็นครูอาจารย์ได้หรือ ?



ดำเนินงานอย่างไร

ดังนั้นในรายวิชาของวันนี้เอง ผมได้เปลี่ยนจากวิธีสอนด้วยการบรรยาย Push เป็นการ Pull จากความสนใจของ นศ เอง สำหรับบทเรียนวันนี้เป็นหัวข้อเรื่อง การวางแผนและประเมินราคาทุนเพื่อการวางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผมใช้แปลนอาคารจริงหลากหลายแบบ ซึ่งคัดมาเพียงสามแบบซึ่งมีขนาด ความซับซ้อน และประเภทของแปลนแตกต่างกัน แล้วให้ นศ ทุกคนสมมุติบทบาทเป็นผู้รับจ้างติดตั้งระบบเครือข่าย

โจทย์ที่กำหนดคือให้ นศ ระบุอุปกรณ์ที่ใช้ลงในแปลนนั้น พร้อมสำรวจราคาจริง เพื่อหาต้นทุนดำเนินงาน (อย่างง่าย) ส่วนโจทย์ถัดมาคือถามจากความคิดเห็นของ นศ ว่าจะรับงานนี้หรือไม่ โดยพิจารณาจากราคาที่ลูกค้ากำหนดวงเงินให้ พร้อมระบุเหตุผลที่รับหรือไม่รับด้วย

ลืมบอกไปว่าผมสอนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ดังนั้นนอกจากความเป็นไอทีแล้ว ต้องเพียบพร้อมจะกอบโกย อุ้บส์ ? ผมหมายถึงสอนให้ นศรู้จักคิดเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจต่างหาก



ได้ผลอย่างไร

จากการเรียนของ นศ ในววันนี้ สิ่งที่ผมเห็นคือ ความสนใจที่จะลงมือปฏิบัติ วิเคราะห์ ค้นหา ตัดสินใจ ซึ่ง นศ สามารถทำได้กว่า 70% จากจำนวนทั้งห้องประมาณ 50 คน

และสามารถลงปฏิบัติได้อย่างดี

นศ เสนอทางเบือกอื่นๆเช่น การใช้อุปกรณ์แบบ ออลอินวัน สายแลนสำเร็จรูป

และที่น่าขำคือจะว่าจ้างบริษัท 3bb , true move , หรืออื่นๆให้เข้ามาดำเนินงาน

ซึ่ง หากยอมให้ทำเช่นนั้น พวก นศ ผมก็ตกงานสิครับ

เท่าที่ผมต้องเดินรอบห้อง เพื่อพูดคุย รับฟัง เสนอแนวทางให้ นศ ไปปฏิบัติ

รวมถึงแก้ปัญหาที่ นศ บางคนอาจจะไม่สามารถจัดการได้ด้วยศักยภาพของตนในวันนี้ แต่ นศ แบบนี้เชื่อว่ามีโอกาสจะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างแน่นอน

สำหรับ นศ ที่ช้า และไม่ใส่ใจต่อการเรียน ถามว่ามีไหม แน่นอนว่ามีครับ

แต่เราจะทำอะไรหรือไม่ ผมเพียงคอยถาม คอยเตือน และบางรายให้เพื่อนที่สามารถกว่ามาช่วยเหลือ อันนี้พอรับได้ครับ อย่างน้อยสภาพห้องที่โกลาหลเพราะทุกคนมีแนวทางที่คิดว่าน่าสนใจมานำเสนอกันในกลุ่มเพื่อน

ก็กระตุ้นให้ นศ กลุ่มล้าหลังกระเตื้องมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ยังไม่แสดงความสามารถให้ผมเห็นอย่างชัดเจนเท่าได คงต้องดูกันต่อไปละครัับ

และอย่างที่ผมคิดครับ การเรียนแบบดึงความสนใจจาก นศ ทำให้เราเหนื่อยขึ้นมาก แต่ นศ กว่า 70/100 ได้อะไรไปบ้าง ดีกว่าไม่ร้เลยว่าสักกี่สิบคนจะได้อะไร ?

การสอนรูปแบบนี้ ผู้สอนเหมือนเป็นพี่เลี้ยงนักมวย ที่ชี้ช่องทางไปสู่เป้าหมาย
ไม่ใช่ลากจูงจิกหัว นศ ซึ่ง เหนื่อยเอาการ แต่สิ่งที่ชดเชยนั้นมีค่ายิ่ง



เสียงสะท้อนจาก นศ

สิ่งที่ทำใหห้การเรียนในรูปแบบดังกล่าว ได้ผลคงมาจากหลายปัจัย อย่างแรก นศ กลุ่มนี้ชอบการเรียนเชิงปฏิบัติ ได้เห็นตัวอย่าง ได้เจอปัญหาแม้จะไม่จริงซะทีเดียว แต่ก็ใกล้เคียงกับประสบการณ์ที่ผมพบมาตลอดสิบสี่ปีในสายงานไอที

ท้ายคาบ นศ ตัวป่วนประจำห้องทั้งชาย หญิง

ได้พูดกับผมว่า อาจารย์สอนแบบนี้ ตั้งแต่แรกก็ดีสิคะ

แหม จะปลูกพืชคลุมดินยังต้องคิดนะว่าจะปลูกพันธ์ไหนที่เหมาะสม

ผมได้เพียงยิ้ม ....เพราะเหนื่อย...



ข้อเสนอแนะ

เชื่อว่าไม่มีสูตรสำเร็จการเรียนใดดีที่สุด

การเรียนแบบนี้เหนื่อย แต่หาก นศ ชอบเราจะหายเหนื่อย

นศ ที่ไม่ใฝ่ใจ ก็ไม่ใฝ่ใจเช่นเดิม เพียงสนใจเพื่อนว่าทำอะไรกันวุ่นวายหนอ แต่ความใส่ใจมีหรือไม่นั้นอาจจะมีมากขึ้นนิดหน่อย

การเรียนรูปแบบนี้หาก นศ ไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ไม่กระตือรือร้น ย่อมถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ดังนั้นปรบมือข้างเดียวไม่ดัง ให้อาจารย์เทพที่ไหนมาสอนก็ตาม แต่ นศไม่ต้องการทุกกรณี ก็ไม่น่าเข็นขึ้นครับ



สรุป

งานนี้ นศ ทั้งหลายสนุกที่เรียนแบบค้นคว้าด้วยตนเอง ที่สำคัญอาจารย์ต้องกล้าให้ นศ ผิดเพราะไม่เคยผิดจะรู้ได้อย่างไรว่าถูก จริงไหมครับ 


หมายเลขบันทึก: 544387เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 01:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2013 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับ น่าสนุกมาก

ตอนผมไปพิบูลย์สงครามทำไมไม่ได้พบอาจารย์ครับเสียดาย

ได้ลองใช้ ClassStart.org ไหมครับ

เอามาฝากครับ

http://www.gotoknow.org/posts/503341

http://www.gotoknow.org/posts/508176

พิบูลย์สงคราม

http://www.gotoknow.org/posts/537324

ที่สงขลาครับ

http://www.gotoknow.org/posts/535962

 

น้องขวัญ

สุดยอดค่ะ

จาก

อ.กบ

สวัสดีครับอาจารย์ขจิต

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ตอนนี้ นศ ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด

นิยมใช้ facebook กันเสียส่วนใหญ่

หากสามารถประสานข้อมูลข้ามเครือข่ายสังคมได้จะดีมากครับ

สวัสดีครับ อ. Krittaya-Kan

ผมเพิ่งเริ่มต้น และทดลองใช้

หากอาจารย์มีข้อเสนอแนะรบกวนอาจารย์ชี้แนะด้วยนะครับ

รอยยิ้มบนใบหน้าของผู้เรียนบ่งบอกความสุขของชั้นเรียนค่ะอาจารย์ :)

ขอบคุณมากครับ อ.จันทวรรณ 

คาดว่าจะเป็นที่น่าพอใจทั้งคนสอนคนเรียนครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท