ตอนที่ ๗ "ฝึกตั้งคำถามกับ มีม(Meme)ของแมว"


บทบาทของครูในห้องเรียนวันนี้อาจเปลี่ยน Chalk and Talk เป็น Organizer

          .คาบที่ ๗ - ๘ วันนี้ในการจัดการเรียนสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้มุ่งเน้นให้นักเรียนตั้งคำถามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยใช้หลักการตั้งคำถาม 5W1H  พบว่าการเรียนรู้ในครั้งก่อนครูนกได้นำบทความจากข้อสอบ PISA เรื่อง "เทคโนโลยีทำให้จำเป็นต้องมีกฏใหม่" พบว่าการตั้งคำถามของนักเรียนยังไม่แหลมคม  ครูนกสรุปว่าปัญหาเกิดจาก

                        
          -  เนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ซึ่งยากต่อการคิดวิเคราะห์ ผนวกกับเรื่องนี้ต้องมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วย
          -  นักเรียนยังต้องการเวลาในการฝึกทักษะการตั้งคำถามเพิ่ม
          วันนี้ครูนกเลยนำสื่อซึ่งได้จากการรับชมเมื่อวันพุธที่ผ่านแล้วคิดว่า รายการนี้เป็นรายการที่ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ ตลอดจนการตั้งคำถามเพื่อสร้างองค์ความรู้ได้อย่างอีกรูปแบบหนึ่งนั่นคือรายการ "วัฒนธรรมชุบแป้ง"ของสถานีโทรทัศน์ ThaiPBS ในชื่อตอนว่า "อิทธิพลแมว"

                
            กติกาของกิจกรรมในวันนี้คือ
           -  นักเรียนนั่งเป็นกลุ่มตามประเด็นปัญหาที่คิดร่วมกันในคาบก่อนหน้านี้
           -  ให้นักเรียนฝึกตั้งคำถามที่พบระหว่างการชมรายการ  พร้อมให้เพื่อนในกลุ่มวิพากษ์ถึงคุณภาพของคำถาม โดยจะแบ่งช่วงเวลาการฝึกทักษะการตั้งคำถาม และการแสดงความคิดเห็นเป็นสองช่วงคือ
              ชมไปถึงช่วงที่ ๑ หยุดตั้งคำถามและวิพากษ์คุณภาพของคำถามภายใน พร้อมรับคำแนะนำจากครู  
              รับชมต่อแล้วฝึกตั้งคำถามพร้อมวิพากษ์ในช่วงที่สอง
              คาบถัดไปจะนำเสนอคำถามของแต่ละกลุ่มร่วมวิพากษ์กันทั้งห้อง
             เรามาชมเรื่องราว "วัฒนธรรมชุบแป้งทอด ตอนอิทธิพลแมว" กันค่ะ 

                     
             ในรายการจะมีการตั้งคำถามมากมาย เช่น  สังเกตกันไหมว่า ตอนนี้แมวกำลังกลายเป็น ‘ปรากฎการณ์’ ในโลกอินเตอร์เน็ต หรือ  ทำไมแมวถึงได้ปรากฎตัวบนหน้าจอโลกออนไลน์บ่อยกว่าสัตว์ประเภทอื่นๆ จนอาจพูดได้ว่าว่าเกิด ‘วัฒนธรรมแมว’ ขึ้นมา โดยมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นจากรศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร นายสัตวแพทย์ชื่อดัง  คุณแทนไท ประเสิรฐกุล นักชีววิทยา  หรือคุณวิชัย มาตุกุล นักเขียนบ้าแมว
                      
           ระหว่างที่เปิดคลิบรายการดังกล่าวสังเกตพบว่า

  1. ความตั้งใจของเด็กๆ เต็มร้อย ผู้กำกับรายการน่าจะดีที่สุดที่ดึงดูดผู้ชมได้มากแบบนี้
  2. เด็กๆ ได้สัมผัสความรักของคนต่อสัตว์ที่จะทำให้เด็กมีแรงบันดาลใจในการเลี้ยงสัตว์ การทำอาชีพใหม่ และมุมมองต่อวิถีชีวิตของคนรักสัตว์
  3. เด็กๆ ได้รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ ที่มีประโยชน์ในโลกดิจิตอลเช่น  มีม (meme) คาเฟ่แมว   LOLCAT
  4. เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสหศาสตร์ที่ใช้ในเรื่องเพียงหนึ่งเรื่อง
  5. เด็กๆ ได้เรียนรู้คำถามจากการรับชมรายการ พร้อมกับการแสดงความคิดเห็น
    วันนี้เด็กๆ แต่ละกลุ่มได้คำถามที่ผ่านการวิพากษ์ของกลุ่มและครู วันพฤหัสบดีนี้นำเสนอต่อชั้นเรียนและวิพากษ์ร่วมกัน  นอกเหนือจากนี้หลายๆ คนเริ่มสนใจจะชมรายการวัฒนธรรมชุบแป้งทอด ในตอนอื่นๆ เพราะเป็นรายการที่สอนทักษะการเก็บข้อมูล การสังเกต  การตั้งคำถาม และการคิดสร้างสรรค์   สำหรับครูดีใจที่เลือกสื่อได้ถูกใจวัยเรียน
              

หมายเหตุ
-  มีม (อังกฤษ: meme) เป็นรูปแบบของ ความคิดทางวัฒนธรรม สัญลักษณ์ หรือการปฏิบัติ ที่สามารถส่งผ่านจากจิตใจคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง ผ่านการเขียน การพูด ท่าทาง พิธีกรรม หรือปรากฏการณ์ลอกเลียนแบบอื่น ๆ คำว่า meme ในภาษาอังกฤษ มาจากการผสมของคำว่า "gene" และคำภาษากรีกว่า μιμητισμός ([mɪmetɪsmos] หรือ การเลียนแบบบางอย่าง) ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ได้ถือว่า เป็นสิ่งที่คล้ายกันทางวัฒนธรรมสู่ยีน มีการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองแรงกระตุ้นที่เลือกเฟ้น(อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A1)

-  lolcat (pronounced /ˈlɒlkæt/ lol-kat) is an image combining a photograph of a cat with text intended to contribute humour. The text is oftenidiosyncratic and grammatically incorrect, and its use in this way is known as "lolspeak" or "kitty pidgin".

"Lolcat" is a compound word of the acronymic abbreviation for "laugh out loud" (LOL) and the word "cat". A synonym for "lolcat" is cat macro, since the images are a type of image macro. Lolcats are commonly designed for photo sharing imageboards and other Internet forums. Similar image macros that do not feature cats are often simply referred to as "lols".(อ้างอิงจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Lolcat)

หมายเลขบันทึก: 544112เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท