KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ 180 : Hot-stove Effect


     ผมอ่านเรื่องนี้จาก HBR (Harvard Business Review) ฉบับเดือนตุลาคม 2006 เรื่อง Ideas as Arts ซึ่งเป็นคำสัมภาษณ์ James A. March กูรูด้าน management

     hot-stove effect เป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้    ดังนั้นนัก KM ต้องเข้าใจเรื่องนี้

     ถ้าเลี้ยงหนูไว้ในกรง   เอา hot plate ร้อนใส่ไว้   พอหนูปีน hot plate ก็จะร้อน และเข็ด ไม่กล้าปีน hot plate อีก ไม่ว่า hot plate นั้นจะร้อนหรือเย็น
  
     James G. March บอกว่า รูปแบบหนึ่งของ hot-stove effect คือ competency trap หรือกับดักความชำนาญ    คนเรา (หรือองค์กร) ที่เก่งเรื่องใด    ก็ตั้งหน้าตั้งตาพัฒนาความเก่งด้านนั้น    ซึ่งมักพัฒนาได้ทีละเล็กน้อย    แทนที่จะใช้เวลาและความพยายามพัฒนาทักษะใหม่ขึ้นมา 

     ในด้านการจัดการ hot-stove effect ทำให้หน่วยงานตั้งหน้าตั้งตาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า    ไม่หาแนวทางใหม่ๆ    ไม่เป็น Learning Organization ที่แท้จริง

      hot-stove effect ทำให้เราไม่กล้าเสี่ยงลองสิ่งใหม่ วิธีการใหม่ๆ เพราะกลัวอันตราย

     Learning Organization ต้องไม่ตกหลุมพราง Hot-stove Effect

วิจารณ์ พานิช
๘ ตค. ๔๙
บนเครื่องบินจาก แอลเอ - ฮ่องกง
    

หมายเลขบันทึก: 54400เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท