107.วันภาษาไทยแห่งชาติ


วันภาษาไทยแห่งชาติ

วันนี้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

 วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.  ๒๕๐๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงอภิปรายเรื่อง ปัญหาการใช้คำไทย” ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ซึ่งทรงแสดงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจผู้ร่วมประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งความว่า

“เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือ ให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สาม คือ ความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้...สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก”

ดังนั้น รัฐบาลได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันสำคัญ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒

                                                                                       ที่มา : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

-ผู้เขียนลองถามพรรคพวกว่าวันนี้เราน่าจะทดลองเขียนคำคล้องจองของภาษาไทยดูซิว่าจะถูกต้องหรือไม่เพื่อให้เพื่อนๆชาว GTW ได้ตรวจสอบความถูกต้องดู เช่น

ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่  ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ   มิหลงใหลใครขอดู

จะใคร่ลงเรือใบ  ดูน้ำใสและปลาปู

สิ่งใดอยู่ในตู้  มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ถือใบบัว  หูตามัวมาใกล้เคียง

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง  ยี่สิบม้วนจงจำดี

ขอขอบคุณนะคร้าบ.....


หมายเลขบันทึก: 543998เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

 

 

                        ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่  ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

 

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ   มิหลงใหลใครขอดู

 

 

จะใคร่ลงเรือใบ  ดูน้ำใสและปลาปู

 

 

สิ่งใดอยู่ในตู้  มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

 

 

บ้าใบ้ถือใบบัว  หูตามัวมาใกล้เคียง

 

 

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง  ยี่สิบม้วนจงจำดี

 

บทความนี้...เคยถ่องสมัยเด็กๆ นะคะ .... เดียวนี้ไม่รู้ว่ามีอยู่หรือเปล่า นะคะ    ขอบคุณค่ะท่าน

 

 

ขอบคุณ Dr.Ple ที่แวะมาให้กำลังใจ.....เดี๋ยวนี้ไม่มั่นใจว่ามีการสอนในโรงเรียนอยู่หรือไม่ ต้องให้เพื่อนๆท่านผู้รู้หรือท่านที่สอนวิชาภาษาไทยช่วยตอบครับ......ขอบคุณท่านนะคร้าบ...

-ขอบคุณ อ.เพชรน้ำหนึ่ง ที่แวะมาให้กำลังใจครับ...

ตามหาหลายวันเพิ่งมาเจอวันนี้...เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ...ขอบคุณมากค่ะ...ได้ทบทวนไม้ม้วนนะคะป๋าเด

ดร.เปิ้ลครับ ถึงแม้จะไม่มีสอน แต่ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ก็ยังคงอยู่เป็นความทรงจำไม่จางหายไปเลยครับ 

มาร่วมอนุรักษ์ภาษาไทยค่ะท่าน

-ขอบคุณท่าน Dr.Patty ที่แวะมาให้กำลังใจนะคร้าบ......

ขอบคุณน้อง nobita ที่แวะมาอ่าน ถ้าอยากจะสื่อสารกับ ดร.เปิ้น ก็สามารถคริ้กที่ภาพท่านได้เลยนะ....

ขอบคุณน้อง tuknarak ที่แวะมาเยี่ยมเยือนครับ....

"จังเลย" กำลังกลายเป็น "จุงเบย"ขอบคุณครับสำหรับกิจกรรมดีๆ

 

-ขอบคุณท่านเดชามากที่แวะมาให้กำลังใจ...

เมื่อผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬา มาเขียนเรื่องภาษา ก็ออกมาเป็นภาพที่น่าเอ็นดูนะคะ ยายไอดินต้องขออภัยด้วย ที่เข้ามาเยี่ยมป๋าเด ช้าไปหน่อย

ขอบคุณนะคะ ที่ช่วยทบทวนคำคล้องจองการใช้ไม้ม้วน วรรครองสุดท้าย ยายไอดินฯ ก็เลือนๆ ไปเหมือนกัน บันทึกนี้ของป๋าเดจึงช่วยให้ยายไอดินฟื้นความจำขึ้นมา และยังเป็นประโยชน์ด้านการเขียนของกัลยาณมิตรด้วย จึงขออนุญาตนำไปใส่ในบันทึกที่เกี่ยวข้องของบันทึก "เพื่อนภาษา : (๒) ..." ของยายไอดินฯ ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

เป็นบันทึกเกี่ยวกับภาษา เพื่อนภาษา ยายละเอียดขออนุญาตทำหน้าที่ นะคะ

  • ตัวย่อของ "GotoKnow" เห็นใช้กันว่า "GTK" นะคะ ไม่ใช่ "GTW"
  • ในการตอบความเห็น ป๋าเดเขียนว่า "...ถ้าอยากจะสื่อสารกับ ดร.เปิ้น ก็สามารถคริ้กที่ภาพท่าน..." คำว่า "Click" ในภาษาอังกฤษ บัญญัติเป็นคำไทยว่า "คลิก" จัดอยู่ในคำที่คนไทยมักใช้ผิดค่ะ   

 

 

สวัสดียายไอดินฯ

-ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม..พักนี้ป๋าเดไม่ได้เขียนอะไร.....ป๋าเดก็พลาดจนยายไอดินจับได้ต่อไปคำว่า "คลิก" จะไม่ให้ผิดอีกครับ....ว่าแต่ไปเที่ยวเกาะสมุยคงสนุกมากซิท่า.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท