อาหารเสริม(บำรุง)+ทำร้ายลำไส้(คุณเลือกได้)


.
เว็บไซต์ อ.ดร.เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'New colon cancer risk factor: sugary foods'
= , ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
สถิติสหรัฐฯ พบว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่พบ = 9.7% ของมะเร็งทั้งหมด, และเป็นสาเหตุการตายจากมะเร็ง 8%
.
สรุป คือ มะเร็งนี้พบประมาณเกือบๆ 10% ของมะเร็งทั้งหมดรวมกัน
.
.
ภาพที่ 1: ทางเดินอาหารจากปาก-หลอดอาหาร จะเป็นกระเพาะอาหาร (1), ลำไส้เล็ก (2), ลำไส้ใหญ่ (3), ไส้ตรง (6), ทวารหนัก (7)
.
หมายเลข 5 เป็นไส้ติ่ง
.
.
มะเร็งลำไส้ใหญ่มีอาการไม่ชัดเจน อาจมีอาการดังต่อไปนี้
.
(1). แบบแผนในการถ่ายอุจจาระ (อึ) เปลี่ยนไป
.
ที่พบบ่อย คือ ท้องผูกสลับท้องเสีย เส้นผ่าศูนย์กลางอุจจาระเล็กลง (จากใหญ่เป็นเล็ก)
.
(2). เลือดจาง ซีด เพลีย เนื่องจากการเสียเลือดเรื้อรัง
.
(3). ทางเดินอาหารอุดตัน ไม่ถ่าย ไม่ผายลม (ตด)
.
(4). อาการที่ไม่จำเพาะ เช่น ผอมลง น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไข้ ภูมิต้านทานต่ำลง (เช่น เป็นงูสวัด 2 ครั้ง นับจากตลอดชีวิต ฯลฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่จะพบไม่เกิน 1 ครั้ง)
.
(5). คลำได้ก้อนในท้อง หรือก้อนจากการกระจายของมะเร็ง เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต (กระจายไปตับ) ฯลฯ
.
.
ภาพที่ 2: ทางเดินอาาหรจากบนลงล่าง คือ ปาก, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร (stomach) _ ลำไส้เล็ก (small intestine), ลำไส้ใหญ่ (large intestine), ทวารหนัก (anus)
.
ตับ (liver) อยู่ในช่องท้องส่วนบนทางขวา, ไส้ติ่ง (appendix) อยู่ในช่องท้องส่วนล่างทางขวา
.
การศึกษาใหม่จากมหาวิทยาลัยเอดินเบรอ สกอตแลนด์ พบว่า คนเราไม่ได้ชอบของหวานๆ อย่างเดียว... มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ชอบของหวานๆ เช่นกัน
.
อาหารที่เรากินเข้าไปก็มีส่วน ทั้งเพิ่มเสี่ยง และลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
.
.
อาหารที่พบว่า ลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แก่
.
(1). ผัก ผลไม้ทั้งผล ถั่ว เมล็ดพืช อาหารที่มีเส้นใยหรือไฟเบอร์สูง เช่น รำข้าว (พบในข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท) > ลดเสี่ยง 25-40%
.
(2). ปลาที่ไม่ผ่านการทอด > ลดเสี่ยง 33%
.
.
ภาพที่ 3: ทางเดินอาหารจากบนลงล่าง คือ กระเพาะอาหาร (stomach), ลำไส้เล็ก (small intestine), ลำไส้ใหญ่ (colon), ไส้ตรง (rectum), ทวารหนัก (anus)
.
ไส้ติ่ง (appendix) อยู่ในช่องท้องส่วนล่างทางขวา
.
.
อาหารที่พบว่า เพิ่มเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้แก่
.
(1). เนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ
.
การลดเนื้อสัตว์ใหญ่เป็นไม่เกิน "วันเว้นวัน" มีแนวโน้มจะดีกว่าลดเนื้อลง 1/2
.
เนื่องจากเร็วๆ นี้มีการศึกษาพบว่า แบคทีเรียหรือสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋วในลำไส้เปลี่ยนสารจากเนื้อแดง (คาร์นิทีน) เป็นสาร TMAO ก่อน
.
หลัง จากนั้น, เจ้าสาร TMAO จะเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเป็นรูพรุน เสื่อมสภาพได้ง่าย เช่น ทำให้หลอดเลือดตีบตันเร็วขึ้น ฯลฯ
.
คนที่กินเนื้อแดงทุกวันมักจะมีแบคทีเรียกลุ่มที่ย่อยสลายสารจากเนื้อแดงสูงกว่าคนที่กินมังสวิรัติ หรือไม่กินเนื้อแดงทุกวัน
.
(2). อาหารจานด่วน ฟาสต์ฟูด หรืออาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง (เช่น ชา-กาแฟแบบซื้อจะใส่น้ำตาลสูงมาก), เนื้อสำเร็จรูป
.
(3). เนื้อสำเร็จรูป
.
(4). อาหารไขมันสูง เส้นใยหรือไฟเบอร์ต่ำ
.
(5). อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง หรือกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กสูง
.
ข้อนี้พบบ่อยในคนที่กินเนื้อมาก กินเครื่องในสัตว์หรือตับมาก โดยเฉพาะฝรั่งหรือคนตะวันตก
.
คนไทยควรตรวจเลือดดูก่อนกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก
.
ถ้า มีโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย ไม่ควรกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันการได้รับธาตุเหล็กมากเกิน ซึ่งเพิ่มเสี่ยงตับเสื่อม กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
.
ถ้าเป็นโรคเลือดจางจากการขาด ธาตุเหล็ก (พบบ่อยในไทย และในผู้บริจาคเลือด), ควรกินยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก เฉลี่ยประมาณ 15 เม็ดต่อรอบบริจาคเลือดในผู้ชาย, 30 เม็ดต่อรอบบริจาคเลือดในผู้หญิง
.
การบริจาคเลือดเป็นประจำ เป็นวิธีป้องกันภาวะธาตุเหล็กในร่างกายสูงเกินที่ดีมาก
.
(6). อาหารทอด
.
หลัก การทั่วไปในเรื่องมะเร็งและสุขภาพ คือ อาหารประเภท "นึ่ง-แกง-ต้ม-ผัด" ปลอดภัยกว่า "ปิ้ง-ย่าง-ทอด-รมควัน) โดยเฉพาะปลาไม่ทอดดีกับสุขภาพ ปลาทอดไม่ดีกับสุขภาพ
.
.
ภาพที่ 4: ทางเดินอาหาร จากบนลงล่าง คือ กระเพาะอาหาร (stomach), ลำไส้เล็ก (small intestine), ลำไส้ใหญ่ (large intestine)
.
ไส้ติ่ง (appendix) อยู่ในช่องท้องด้านล่างทางขวา
.
.
กลุ่มเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่สำคัญได้แก่
.
(1). มีติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ (colo-rectal polyps)
.
(2). เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง พบบ่อยในฝรั่ง พบน้อยมากในคนเอเชีย คนไทย (Crohn's disease, ulcerative colitis)
.
(3). ประวัติครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ พี่น้อง ลูก เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
.
(4). สูบบุหรี่ ยาสูบ บารากู่ (บ้องยาสูบผ่านน้ำแขก = อันตรายกว่าบุหรี่)
.
.
(5). ดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะดื่มหนัก
.
(6). ติดเชื้อไวรัสหูด HPV เพิ่มเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนล่างสุด-ทวารหนัก
.
(7). ไม่ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
.
(8). ใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ เช่น นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง โดยไม่ลุกขึ้นยืน หรือเดินสลับบ่อย ฯลฯ
.
ออกกำลังให้หนักหน่อย ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ดีกว่าออกกำลังเบาๆ หรือหนักปานกลาง
.

.
คนเราคงจะเลือกเกิดไม่ได้ ทว่า... เราเลือกที่จะใช้ชีวิตได้
.
เช่น เลือกอาหารที่ป้องกันโรค เลือกการใช้ชีวิตแบบพอดี ไม่นั่งนาน ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ฯลฯ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


 > [ Twitter ]

  • ขอขอบพระคุณ / Thank source by Dr.mirkin > http://www.drmirkin.com/public/ezine072113.htm
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์. 29 กรกฎาคม 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 


หมายเลขบันทึก: 543954เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 07:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2013 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณค่ะ

กำลังจะไปตรวจที่รามาพอดีเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท