อ้วนแต่ขาดสารอาหาร


      ก่อนที่จะเขียนหัวเรื่องนี้  เห็นข่าวพาดหัวจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ " ไทยขาดความรู้โภชนาการ อ้วนตายปีละ2หมื่น!!"    หรือ  "อึ้ง! คนไทยตายจากโรคอ้วนถึง 2 หมื่นคนต่อปี อ้วนขึ้นปีละ 4 ล้านคน"  ด้วยมีโอกาสได้อ่านบทความ ของ Susan Bowerman assistant director of the UCLA Center for Human Nutrition,  consultant for Herbalife  ซึ่งเขียนไว้ในจดหมายข่าวประจำเดือนของ Herbalife-Hub ฉบับ July 2013 Vol.7  จึงนำมาบันทึกไว้ใน gotoknow   

       การขาดสารอาหารพบได้ในคนที่ได้รับแคลอรี่อย่างมากมาย นั่นคือการรับประทานมากเกินไปแต่ได้คุณค่าของสารอาหารเพียงน้อยนิดเท่านั้นเอง และสิ่งนี้จึงเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ว่า "mainubesity" เป็นคำผสมกันระหว่าง "การขาดสารอาหาร (mainutrition) และโรคอ้วน (obesity) ซึ่งดูเหมือนเป็นคำที่ขัดแย้งกัน แต่ในความเป็นจริง มันเป็นสิ่งที่มีจริง หลายคนต้องประสบกับภาวะอ้วนไขมันสูงเกินแต่ขาดสารอาหาร

       สมัยก่อนเคยได้ยินแต่ว่าคนผอมขาดสารอาหาร เพราะไม่มีอาหารรับประทาน  แต่ในโลกสมัยใหม่ อาหารต่างๆ ล้วนผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย  และอุดมไปด้วยแคลอรี่  อาหารยั่วน้ำลายที่มักขาดสารอาหารสำคัญและระบบประสาทของเราที่สั่งการให้เรารับประทานด้วยความเคยชินโดยปราศจากความยั้งคิด หรือแม้กระทั่งให้รางวัลชีวิตด้วยการรับประทาน จะเห็นได้จากงานเลี้ยงฉลองต่างๆ  ซึ่งเรายินดีที่จะทำตามเช่นกัน

      ผลดังกล่าวทำให้หลายคนต้องประสบกับการบริโภคที่มากเกินและได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ด้วยอาหารที่อุดมไปด้วยแคลอรี่ แต่ขาดวิตามิน เกลือแร่และสารต้านอนุมูลอิสระ  ทำให้สุขภาพของเราเสื่อมโทรม  ไขมันก็จะไปพอกพูนที่ตับหรือตับอ่อน จากนั้นก็จะแทรกตัวเข้าไปในเซลล์และมีผลต่อการทำงานของอวัยวะเหล่านี้ในที่สุด แน่นอนการเดินหรือการวิ่งเพื่อออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอีกนิดก็เป็นเรื่องที่ดีต่อการเผาผลาญไขมัน แต่หากมีภาวะอ้วนแบบขาดสารอาหาร ไขมันก็จะอยู่อย่างเดิม 

     เมื่อเราพิจารณาย้อนไปดูบรรพบุรุษของเราสมัยก่อน พวกเขาจำเป็นต้องบริโภคอาหารมากมาย เพื่อให้ได้พลังงานเพียงพอกับที่ต้องการ แต่สิ่งที่สำคัญคือพวกเขาแข็งแรง กระฉับกระเฉง เพราะได้เผาผลาญพลังงานเป็นพันๆ แคลอรี่ต่อวันในการทำงาน และอาหารของพวกเขาก็อุดมไปด้วยพืชผัก  แต่ในปัจจุบันความต้องการพลังงานของพวกเราไม่ได้มากอย่างบรรพบุรุษของเรา  หลายคนไม่ได้ทำงานหนักอย่างบรรพบุรุษของเรา  การเคลื่อนไหวมีน้อยในขณะที่ทำงาน แต่เราก็ยังต้องการอาหารที่ให้แคลอรี่สูงและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนส่งเสริม "ความอ้วน"  เราอยู่กับสิ่งรอบตัวที่ง่ายต่อการหาอาหารเข้าปาก  อาหารสำเร็จรูป  อาหารปรุ่งแต่ง หลากกลายและเป็นอาหารที่ให้แคลอรี่สูง 

     การจับคู่ที่ไม่เหมาะสมกันระหว่างพันธุกรรมและวิถีชีวิตเป็นสิ่งที่นำไปสู่สิ่งที่ผิดปกติที่ตรงข้ามกันคือ "การขาดสารอาหารแต่กลับอ้วน"  เรามักจะกินตรงกันข้ามกับสิ่งที่ร่างกายควรได้รับ  เราควรกินอาหารพวกพืชผักผลไม้ให้มาก  รวมทั้งโปรตีนที่ได้จากพืชและสัตว์อย่างเหมาะสม  ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพของโภชนาการแต่มีแคลอรี่ที่ต่ำลง

     เราควรขยันลุกจากโต๊ะทำงานและโซฟาเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ  คนส่วนใหญ่ไม่ได้เผาผลาญแคลอรี่ได้ 6000 แคลอรี่ต่อวัน แต่เรารับประทานราวกับว่าเผาผลาญได้ขนาดนั้น

      จริงเท็จประการใดลองพิจารณากันดูนะคะ :)

  บุญรักษา

28/7/2556


หมายเลขบันทึก: 543899เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใน ทางพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าได้หาทางแก้ไขไว้เรียบร้อยมานานกว่า 2500 ปีแล้ว คือการสอนให้พิจารณาอาหารก่อนรับประทาน ต้องมีสติ ต้องรู้เท่าทันกิเลศ การเจริญสติในพระพุทธศาสนาก็เพื่อให้เกิดปัญญา เกิดพุทธะภายในใจ ช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของชีวิตอย่างถูกต้อง การพิจารณาอาหารเป็นการเจริญสติรับรู้กับอิริยาบถในขณะรับประทานอาหาร รับประทานอาหารเพียงเพื่อให้มีพลังงานสำหรับปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการรับประทานอาหารหนักมื้อเพล(มื้อเที่ยง) รับประทานน้อยในมื้อเย็น ช่วยให้ไม่มีพลังงานเหลือขณะพักผ่อนในเวลากลางคืน ในขณะขบเคี้ยวก็ต้องกำหนดรู้ชนิดอาหารจึงรับประทานช้าลง ช่วยให้ระดับน้ำตาลไม่พุ่งสูงเร็ว การหลั่งอินซูลินจะช้าทำให้ไม่หิวบ่อย การมีสติจะทำให้เกิดความยับยั้งที่จะรับประทานตามความอยาก เกิดปัญญาหยั่งทราบว่าถ้าทำตามความอยากก็จะเกิดปัญหาสุขภาพคือแก่เร็ว เจ็บป่วยตามมา



บทสวดพิจารณาอาหาร (แปล)

ปะฏิสังขา โยนิโส ปิณฑะปาทัง ปะฏิเสวามิ เรายอมพิจารณาโดยแยบคาย แล้วฉันบิณฑบาต

เนวะ ทวายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน

นะ มะทายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อความเมามัน เกิดกำลังพลังทางกาย

นะ มัณฑะนายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ

นะ วิภูสะนายะ ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง

ยาวะเทวะ อิมัสสะ กายัสสะ ฐิติยา แต่ให้เป็นเพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

ยาปะนายะ เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพ

วิหิงสุปะระติยา เพื่อความสิ้นไปแห่งความลำบากทางกาย

พรัหมะจะริยานุคคะหายะ เพื่ออนุเคราะห์แห่งการประพฤติพรหมจรรย์

อิติ ปุรานัญจะ เวทะนัง ปะฏิหังขามิ ด้วยการทำอย่างนี้ เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกขเวทนาเก่า คือความหิว

นะวัญจะเวทะนัง นะ อุปปาเทสสามิ และไม่ทำทุกเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น

ยาตรา จะ เม ภะวิสสะติ อะนะวัชชะตา จะ ผาสุวิหาโร จาติ อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วยความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วยจักมีแก่เรา ดังนี้


โดยสรุปการรับประทานแบบพุทธะ คือ มีสติกับการรับประทานอาหาร ดังนี้
# ไม่เพลิดเพลิน สนุกสนานกับการรับประทานอาหาร ไม่คำนึงว่าอาหารจะทำให้สวยงามหรือเกิดกำลังกายแข็งแรง
# แต่ รับประทานเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้อย่างสะดวก สบาย และเพียงเพื่อระงับเวทนา คือความหิว และไม่สร้างเวทนาอื่นขึ้นมาเพิ่ม เช่น อาการแน่นอึดอัดหรือสะสมเป็นไขมัน คือเกิดโรคอ้วนตามมา

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า การเจริญสติ ทำให้การทำงานของสมองด้านขวาเด่นชัดขึ้น ซึ่งอาจมีผลทำให้ระบบการควบคุมในสมองกลับสภาพปกติ ดังนั้นการฝึกสติโดยสวดบทพิจารณาอาหารอย่างเข้าใจความหมายก่อนรับประทาน อาหารจะมีอานิสงค์จะช่วยควบคุมน้ำหนัก ป้องกันโรคอ้วนได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงๆ

ที่มาข้อมูล : นิตยสาร Health Today
จาก: lifestyle.th.msn.com/health/diet/article.aspx?cp-documentid=3624312

 

       พุทธวจนะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก เล่ม 7 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ 365 หน้า 116 เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงอ้วนมากไป จึงทรงให้คาถาลดความอ้วนบทหนึ่งความว่า “บุคคลผู้มีสติอยู่เสมอ รู้ประมาณในอาหารที่ได้มา จะมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า มีอายุยืนนาน”

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท