วิจัยในชั้นเรียน(คณิตศาสตร์ ป.5)


การทดสอบบ่อยๆส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์

รายงานวิจัยชั้นเรียน   เรื่อง การทดสอบบ่อยๆ ส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์                             ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนบ้านนาบอนผู้รายงาน                 นางประเพ็ญ  ตันจำรูญ   ตำแหน่ง ครู คศ.4  โรงเรียนบ้านนาบ อน              เหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักเรียนประสบปัญหาในการเรียนคณิตสาสตร์  คือ นักเรียนไม่ฝึกทักษะ ไม่ทบทวนความรู้เดิม ไม่ยอมทำการบ้านส่งครุ  จึงทำให้เรียนคณิตศาสตร์ไม่สนุกและไม่ยากเรียน      การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูจึงเป็นไปอย่างช้าๆ จนในที่สุดครูสอนไม่ทันตามเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร        จากการวิเคราะห์สาเหตุ  พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ ร้อยละ 70  ของนักเรียนทั้งชั้น                ขาดทักษะพื้นฐานการเรียนคณิตศาสตร์มาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างต่อเนื่องจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5      เช่น เรื่อง จำนวน  การบวก การลบที่มีการทด  การคูณ การหารจำนวนที่มีหลายหลัก            สำหรับการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จ คือ ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งหรือแต่ละชั่วโมง  ทบทวนความรู้เดิม โดยการให้นักเรียนทำข้อสอบง่ายๆ ครั้งละ 5 -10 ข้อ  (เน้นข้อสอบชนิดเติมคำตอบ)ใช้เวลา 5-10  นาที   เมื่อนักเรียนทำเสร็จ ครูกับนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบอีกประมาณ 5 นาที   รวมใช้เวลาทั้งหมด 10-15 นาที   ครูใช้วิธีการแก้ปัญหาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนสิ้นภาคเรียนที่ 1 โดยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนทุกคน พร้อมทั้งจดบันทึกไว้  และทำการวัดผลประเมินผลโดยใช้ข้อสอบรวม จำนวน 50 ข้อ  เป็นการทดสอบปลายภาคเรียนที่ 1            ผลที่ได้รับ  พบว่า            1. ทำให้นักเรียนทุกคนมีความกระตือรือร้น เตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบ     เพราะทราบว่า คุณครูต้องทดสอบทุกวัน   เช่น ทบทวนบทเรียน  ตั้งใจเรียน  พยายามทำการบ้านส่งครูมากขึ้น     นอกจากนี้คะแนนในการสอบแต่ละครั้งถูกบันทึกไว้   เพื่อล่ารางวัลใหญ่ในวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ ......รางวัลใหญ่ๆๆๆในทุกสิ้นเดือน            2. นักเรียนทุกคนมีพฤติกรรมการเรียนคณิตศาสตร์ในทางบวก คือ ชอบเรียนมากขึ้น เพราะเรียนเข้าใจทำแบบฝึกหัดทันเพื่อนๆ และได้ส่งครูทันเวลาที่ครูกำหนด             3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้            4. นักเรียนทุกคนมีความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้น             สรุปผลการวิจัย  พบว่า การทดสอบบ่อยๆ ส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน

หมายเลขบันทึก: 54299เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีค่ะอาจารย์

รายงานตัวก่อนเป็นครูคณิตศาสตร์เช่นกัน

งานวิจัยของอาจารย์  ดีมาก  ขอนำไปต่อยอดค่ะ

ขอบคุณ

ดีจังเดี่ยวเอามาใช้บ้าง!
เป็นการวิจัยที่ได้ผลดีจริงๆค่ะ  อยากจะนำวิจัยไปทดลองใช้กับนักเรียนบ้างนะคะ
ค้นฟ้าคว้าครูนักวิจัย

จริงหรือที่ว่า นักเรียนไม่ฝึกทักษะ ไม่ทบทวนความรู้เดิม ไม่ยอมทำการบ้านส่งครุ  จึงทำให้เรียนคณิตศาสตร์ไม่สนุกและไม่อยากเรียน  

 

เราอาจจะคิดเอาเองก็ได้นะครับ   อะไรเป็นหลักฐานในเชิงการวิจัยที่สพท้อนภาพเหล่านั้นได้  อาจารย์คิดว่สิ่งสำคัญที่สุดในการสอนคืออะไรคับ

เป็นการวิจัยที่ได้ผลดีจริงๆค่ะ อยากจะนำวิจัยไปทดลองใช้กับนักเรียนบ้างนะคะ

เราอาจจะคิดเอาเองก็ได้นะครับ อะไรเป็นหลักฐานในเชิงการวิจัยที่สพท้อนภาพเหล่านั้นได้ อาจารย์คิดว่สิ่งสำคัญที่สุดในการสอนคืออะไรคับ

ดีจังเดี่ยวเอามาจริงหรือที่ว่า นักเรียนไม่ฝึกทักษะ ไม่ทบทวนความรู้เดิม ไม่ยอมทำการบ้านส่งครุ จึงทำให้เรียนคณิตศาสตร์ไม่สนุกและไม่อยากเรียน

ใช้บ้าง!

ขอบคุณค่ะคุณครู งานของครูมีประโยชน์ต่อวงการศึกษาไทยมาก น่าชื่นชมจริง ๆ ค่ะ

จาก ครูบ้านนอก ขอนแก่นค่ะ

สวัสดีครับ

หลักสูตรของ คุมอง Kumon มีต้นกำเนิดที่ญี่ปุ่น มีการบ้านให้เด็กทำทุกวัน ทำซ้ำๆ เกิดความชำนาญ ผมว่าน่าสนใจ หากมีการออกแบบฝึกหัดให้เด็กทำในโรงเรียนต่างๆของเมืองไทย ผมว่าทำให้ชั้นเรียนก็ได้ โดยแบ่งเวลากับการสอนกับทำแบบฝึกหัด จะมีหรือไม่มีการบ้านขึ้นกับคุณครูผู้สอนว่าจะแบ่งเวลาและแบ่งงานให้เด็กทำอย่างไร รวมถึงหลักศุตรให้เด็กคิดในใจ หรือ การใช้ลูกคิดมือ ผมว่าน่าสนใจเหมือนกันนะครับ

คณิต

ได้ผลจิงๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

คับ

เป็นงานวิจัยที่ดีมากค่ะขอนำงานวิจัยไปทดลองต่อยอดนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ่

ขอรายงานตัวค่ะ เพิ่งเข้ามาอ่านครั้งแรกค่ะ งานวิจัยของอาจารย์ดีมาก หนูขออนุญาตนำไปต่อยอดและใช้จริงนะค่ะ

อ่านงานวิจัยแล้วจะนำไปทดลองสอน แล้วจะนำเสนอต่อไป

เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจขอนำไปเป็นต้นแบบเพื่อนำไปพัฒนานักเรียนนะค่ะ

เป็นงานวิจัยที่ดี นำไปปรับใช้ได้

ดีมากค่ะ ขอบคุณนะคะ

REALLY fANTASTIC

ขอบคุณ ที่อาจารย์มีจิตใจดีงาม เผยแพร่เป็นวิทยาทานให้กับคนอื่น ขออานิสงส์ให้อาจารย์และครอบครัวมีความสุขกายสุขใจและเจริญในหน้าที่การงานต่าง ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท