การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการบำบัดที่เหมาะสม กับสภาพสังคมไทยที่ใช้ในการบำบัดผู้ที่ประสบปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการ ดื่มแอลกอฮอล์, บูมิมิซีบีที


ดรุณี ภู่ขาว

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

วัตถุประสงค์
พัฒนารูป การบบัดระยะสั้นซึ่งได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย เพื่อให้บริการกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราโดยเฉพาะการ รักษาที่มีเป้าหมายพื่อจะที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดื่มสุราของตนเอง และตรวจสอบประสิทธิภาพรูปแบบารบำบัดดังกล่าวโดยการเปรียบเทียบกับรูปแบบการ รักษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ผลการศึกษา
จากการติดตามผลการรักษา 3 ครั้งภายในระยะเวลา 6 เดือน ภายหลังจากเสร็จสิ้นการเข้าร่วมบำบัดรักษาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดแอลกอฮอล์ซึ่งได้รับการบำบัดชนิดใหม่ ร่วมกับวิธีการรักษามาตรฐานมีแรงจูงใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดื่ม แอลกอฮอล์เป็นไปในทางที่ดีขึ้น, สามารถลดอัตราการ ดื่มแอลกอฮอล์ลงได้ มีจำนวนวันที่หยุดดื่มสุรามากกว่า มีสัมพันธภาพกับผู้บำบัดในเชิงบวก และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าผู้ป่วยที่ได้รับวิธีการรักษามาตรฐานเพียง ชนิดเดียวอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ในเรื่องของทักษะทางความคิดและทักษะทางพฤติกรรม

- รูปแบบการบำบัดระยะสั้นสามารถนำมาใช้ร่วมกับรูปแบบ การรักษามาตรฐานในโรงพยาบาลธัญญารักษ์และสามารถส่งผลให้ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเองไปในทางที่ดีขึ้น

จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ

การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548

 


หมายเลขบันทึก: 54295เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท