beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เตรียมความพร้อมเมื่อวันเกษียณอายุใกล้มาเยือน


ปีที่เกษียณอายุจะได้รับเงินก้อนจากกบข. เงินบำเหน็จดำรงชีพร้อยละ ๒๕ และเงินบำนาญรายเดือนจากราชการ

   วันนี้ (๑๕ ก.ค.๕๖) แวะไปใช้บริการการเงินกับสหกรณ์ฯ แต่ว่าต้องรอถึง ๙ โมงครึ่งจึงจะได้เงิน ระหว่างนั้นเลยไปหาข้อมูลที่งานการเงินและกองบริหารงานบุคคล นำมาเป็นเรื่องเล่าดังนี้

   ในปีที่เกษียณ ประมาณกลางๆ เดือนกรกฎาคม เจ้าหน้าที่กบค.จะติดต่อไปที่คณะวิทยาศาสตร์ จะคิดคำนวณเงินที่จะได้รับจากราชการเมื่อเกษียณอายุเบื้องต้นไปให้ดูก่อน

    หลักคิดเมื่อจะขอไปใช้สูตรบำนาญแบบเดิม คือ

  1. ต้องมีอายุราชการเกิน ๓๕ ปี
  2. ต้องมีอายุหลังเกษียณยืนยาวเกิน ๑๕ ปี (เสียชีวิตหลังอายุ ๗๕ ปี) ถึงจะคุ้มกับบำนาญแต่ละเดือนที่ได้รับ
  3. จะได้รับเงินจากกบข.เฉพาะส่วนของเงินสะสมของตัวเอง และดอกผลที่เกิดจากเงินสะสม ส่วนเงินประเดิมและเงินที่ทางราชการสมทบให้นั้นจะคืนเข้ากองทุนกบข.
   สำหรับบีแมนเลือกกองทุนกบข.เหมือนเดิม โดยมีหลักคิด
  1. อายุราชการเพียง ๓๓ ปี และต้องการเงินก้อนสัก ๑ ก้อน ซึ่งควรจะอยู่ในวงเงิน ๑ ล้านบาท (ส่วนนี้ก็เอาไปใช้หนี้เงินกู้สหกรณ์นั่นเอง-กู้เงินตัวเองเอาไปใช้ล่วงหน้า..อิอิ)
  2. เลือกสูตรบำนาญของกบข.

    สูตรบำนาญกบข. คือ เงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือนสุดท้าย คูณด้วยอายุราชการ และหารด้วย ๕๐ 
  • สมมุติเงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือน ผมได้ราวๆ ๔ หมื่นบาท คูณอายุราชการ ๓๓ ปี และหารด้วย ๕๐ เป็นเงินบำนาญรายเดือนเท่ากับ ๒๖,๔๐๐ บาท
   เมื่อได้ตัวเลขเงินบำนาญรายเดือน ประมาณ ๒๖,๔๐๐ บาทแล้ว จะนำไปคิดเงินบำเหน็จตกทอดโดยเอา ๓๐ มาคูณบำนาญที่ได้รับ ก็จะเป็นเงิน ๗๙๒,๐๐๐ บาท
    เงินบำเหน็จตกทอดซึ่งจะให้กับทายาทนั้น จะเอามาให้ผู้รับบำเหน็จใช้ก่อนเรียกว่า "บำเหน็จดำรงชีพ" จะรับมาได้ครึ่งหนึ่งของบำเหน็จตกทอดแต่ไม่เกิน ๔ แสนบาท (ในที่นี้คือ ๓๙๖,๐๐๐ บาท)
  • อายุ ๖๐ ปี มารับไป ๑๙๘,๐๐๐ บาท
  • อายุ ๖๕ ปี มารับไปอีก ๑๙๘,๐๐๐ บาท 
  โดยบีแมนจะต้องเปิดบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ แล้วนำเลขบัญชีไปฝากไว้กับทางเจ้าหน้าที่ ซึ่งบัญชีนี้จะเป็นบัญชีที่ทางราชการจะโอนเงินบำนาญเข้าบัญชีด้วย
   สรุปว่า เมื่อเกษียณอายุ บีแมนจะได้รับเงิน
  1. บำนาญรายเดือน ประมาณมากกว่า ๒๗,๐๐๐ บาทต่อเดือน
  2. เงินก้อนจากกบข. ประมาณ ๑ ล้านบาท
  3. บำเหน็จตกทอดส่วนที่เป็นบำเหน็จดำรงชีพ ประมาณ ๑๙๘,๐๐๐ ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท 
   แต่ว่าถึงตอนนั้น บีแมนอาจมีเจ้าหนี้มารอเก็บหนี้ หรืออาจมีญาติหน้าใหม่เพิ่มขึ้นก็เป็นได้..อิอิ

หมายเลขบันทึก: 542454เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สมมุติเงินเดือนเฉลี่ย ๖๐ เดือน ผมได้ราวๆ ๔ หมื่นบาท คูณอายุราชการ ๓๓ ปี และหารด้วย ๕๐ เป็นเงินบำนาญรายเดือนเท่ากับ ๒๖,๔๐๐ บาท

ถ้ารับบำนาญแบบเดิมน่าจะคุ้มกว่านะคะ

...อาจารย์บีแมน...เงินกบข.หักรายเดือนด้วยนะคะ...ต้องไปถามให้ชัดเจนว่าหักเดือนละเท่าไหร่...

เรียน ท่านทะเลงาม

  • จริงๆ แล้ว ผมยังมีรายได้อื่นๆ อีก รวมทุกอย่างเฉลี่ยแล้วผมก็ยังได้เงินเดือนหลังเกษียณ ๔ หมื่นเหมือนเดิม (ยังเหลืออีกหลายปี ผมคิดวางแผนล่วงหน้า) ผมต้องการเงินดำรงชีพไม่มาก ๔ หมื่นนั้นใช้สบายและยังเหลือเก็บอีก เพราะมีวิธีประหยัดมากมาย
  • และอีกอย่างเรายังมีเงินก้อนมาใช้ก่อนด้วย
  • ทุกวันนี้ชีวิตก็มีกำไรมากอยู่แล้ว กำไรชีวิตครับ

ดิฉันกับสามีเลือกรับบำนาญแบบเดิม เพราะเงินบำนาญเยอะกว่า และคิดว่าเราจะอยู่เกิน ๑๕ ปี (ตอนนี้ใช้หนี้หมด สบายตัวแล้ว)

เรียน ดร.พจนา

  • กบข.หักเงินเดือนไว้เป็นเงินสะสม เดือนละ ๓ เปอร์เซนต์ของเงินเดือน และทางรัฐบาลสมทบให้อีก ๓ เปอร์เซนต์ครับ
  • และส่วนนี้ เรานำไปเป็นค่าลดหย่อนในการหักภาษีประจำปีด้วย

เรียน คุณนุ้ย (หรือเปล่า)

  • ขอบคุณที่แวะมาแลกเปลี่ยนความคิดกันครับ
  • ผมว่าเป็นวิธีคิดที่ถูกครับ และตัวบำเหน็จตกทอดก็สูงตามไปด้วย
  • ถ้าอยู่ต่อไปเกิน ๑๕ ปี จะมีเรื่องเงินเฟ้อมาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นได้ตัวเลขสูงๆ ไว้ก่อนนี่ก็จะปลอดภัยมากกว่า
  • ผมชอบตรงที่ไม่มีหนี้นี่แหละ แสดงว่ามีวิธีการบริหารเงินที่ดี
  • และครอบครัวคงมีความสุข

ต้องขอบคุณผู้เกษียนส่วนหนึ่งที่ออกมาเรียกร้องต่อสู้จนกระทรวงการคลังและ กบข ต้องพิจารณาอย่างจริงจังและปรับปรุงวิธีการโดยให้โอกาสเลือกว่าจะรับบำนาญวิธีเดิมหรือวิธีของ กบข.

ประสบการณ์ของตนเองที่รับแบบวิธี กบข. คำนวนบำนาญที่ได้รับกับเงินก้อนที่ได้รับรวมกัน ภายใน 10 ปีเทียบกับเพื่อนที่เงินเดือนสุดท้ายเท่ากันแต่ไม่อยู่ใน กบข. ตั้งแต่ต้นจึงรับบำนาญแบบเดิม 10 ปี ปรากฏว่าเราได้รับน้อยกว่า นั่นหมายความว่า หลังจากปีที่ 10 เป็นต้นไป เราได้บำนาญน้อยกว่าเพื่อนมาก และในวันนั้นค่าของเงินก็ลดไปมากด้วย นอกจากนี้บำเหน็จตกทอดที่ได้รับ 30 เท่าของบำนาญก็น้อยกว่ากันมากด้วย ถึงแม้ว่าเราจะพอเพียงกับทางเลือกของเราแล้ว แต่ทางเลือกที่รัฐสร้างขึ้นควรเป็นธรรม เงินก้อนที่ได้รับก็สามารถนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์ได้ เมื่อใช้ไปแล้วสิ่งทีเหลืออยู่ในระยะยาวมีค่าลดลงเรื่อย ๆเป็นสิ่งที่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวถือคติว่าได้มากเท่าไรก็ไม่สำคัญเท่ากับมีเหลือเท่าไรในแต่ละเดือน

เรียน คุณทะเลงาม
  • ขอบคุณที่บอกเล่าวิธีคิด
  • เดี๋ยวบีแมนต้องลองไปคำนวณใหม่
  • ใช้ ๑๐ ปีหลังเกษียณ เป็นฐานในการคิด
  • หรืออาจใช้ ครึ่งทางของ ๑๕ ปี คือ ๗ ปีครึ่ง เป็นฐานการคิด

อ บีแมนคะ ตอนนี้ กบข มีช่องทางที่จะให้สมาชิกจัดการกับเงินก้อนที่จะได้รับมากขึ้น ถ้าจำไม่ผิด ให้กบข. ลงทุนต่อไป หรือเอาออกมาบางส่วนแล้วให้ กบข. ลงทุนส่วนที่เหลือต่อไป เป็นทางเลือกที่น่าพิจารณา ถ้าไม่มีความจำเป็นจะใช้เงินก้อน เอาออกมาก็อยู่เฉย ๆก็ไม่งอกเงย เอามาลงทุนเองคนเกษียนแล้วและเป็นข้าราชการมาตลอดชีวิตคงไม่ค่อยกล้าลงทุนพลาดพลั้งเงินจะหมด ให้ กบข. ลงทุนน่าจะได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 8 % หรือเอาออกมาลงทุนในกองทุนรวมก็ดีมากเหมือนกัน

ผู้เกษียนปีนี้จังหวะไม่ดี เงินก้อนที่จะได้รับอาจลดลงกว่าปีก่อนหน้านี้พอควรเพราะช่วงที่ผ่านมา 2-3 เดือนหุ้นตกอย่างหนักจาก 1600 จุดเหลือประมาณ 1400 จุด ทุกวันนี้ก็ยังไม่ค่อยฟื้น ปีที่ดิฉันเกษียนก็เกิดเหตการณ์แบบนี้เงินหายจากปีก่อนหน้า 60000 บาทเศษ หวังว่าอีก 2 เดือนจากนี้ตลาดจะสดใสเหมือนเดิม กบข. สามารถเรียกกำไรคืนได้ทัน

เรียน คุณทะเลงาม

  • รับทราบตามข้อคิดเห็นครับ
  • ในปีภาษี 2555 นั้น รายได้ของผมหลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว ไม่มีเงินที่ต้องเสียภาษี ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะเพิ่มเงินลงทุนในกบข. แต่หลังจากนี้ไปในปีท้ายๆ ก่อนเกษียณ อาจลงทุนเพิ่มในกบข.
  • ส่วนว่า จะถอนเงินก้อนทั้งหมดหลังเกษียณหรือไม่ ก็ยังอยู่ในแผนที่จะเฝ้าดูกองทุนฯ ในภาพรวมต่อไปก่อน โดยขณะนี้ผมเก็บสถิติของกบข.ย้อนหลังไว้ประมาณ 10 ปี และวิเคราะ์ห์ ผลตอบแทนจากการลงทุนเอาไว้ด้วยแล้ว เพื่อเปรียบเทียบ ว่าจะเลือกรับบำนาญแบบไหนด้วย..ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท