โครงการ DFC3 : ๕. เยี่ยมชมมหาวิทยาลัยชายแดน แล้วเดินทางโดยรถไฟลงใต้



          เช้าวันที่ ๑๒ มิ.ย. ๕๖ ออกไปเดินออกกำลังที่หน้า Zoo เสียดายที่ประตูปิด  

          วันนี้เราไปเยี่ยมชมมหาวิทยาลัยชายแดนคือEuropean University Viadrina  อยู่ชายแดนโปแลนด์ ต้องนั่งรถไปชั่วโมงเศษ ไปยังเมือง Frankfurt (Oder)  โดยหยุดเข้าห้องน้ำที่จุดพักรถ ได้เห็นป่าตลอดเส้นทางรวมทั้งที่จุดพักรถด้วย

          มหาวิทยาลัยชายแดนประเทศ แต่อยู่ในชัยภูมิร่วมมือกับประเทศในยุโรปตะวันออก อายุเพียง ๒๒ ปี จิ๋วแต่แจ๋ว  มี นศ. ๖ พัน ๒๕% เป็น นศ. ต่างประเทศ  ไม่มีกลิ่นไอต่อต้าน Excellence Initiative อย่างที่ HU Berlin  คนนำเสนอ ๓ คน ก็ ๓ แบบ  คือแนวผู้บริหาร  แนวศาสตราจารย์ประวัติศาสตร์  และแนวนักคิด concept เชื่อมงานสอนกับวิจัย  ผอ. สนง. วิเทศสัมพันธ์ ถามหา ม. มหิดล  อยากร่วมมือด้วย กับ School of Management

          ต่อไปนี้เป็นบันทึกการดูงาน ที่ผมบันทึกไว้ด้วย iPad Mini นำมาปรับปรุงนิดหน่อย


ระหว่างเดินทางด้วยรถบัส ๑ ชั่วโมง เราทำ BAR ต่อจากวันก่อน

ชวลิตศึกษาศาสตร์ มมส.

   คณะศึกษาศาสตร์ อายุ อจ. อาวุโส 15 ท่าน เฉลี่ย 70 ปี  ใช้ KM ถอดความรู้จากผู้อาวุโส  หาทางต่อ ค กับรุ่นใหม่ 17-18 คน  ใช้การสอนเป็นทีม  ทำโครงการ

   PAP จะเปลี่ยนจากเดิมเที่ขียนไว้ว่า พัฒนาค่านิยมองค์กร child center ว่าเป็นพฤติกรรมแบบไหน  จะเปลี่ยนเป็นดำเนินการพัฒนาพนักงานในสำนักงานวิชาการ 17 คน ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นลูกจ้างชั่วคราว  ทำอย่างไรเขาจะรักองค์กร

อรรจน์ มวล.  รองอธิการบดีกิจการสภา

  อยู่ระหว่างปฏิรํปสภามหาฯ  เพิ่งตั้งคณะ กก บริหารความเสี่ยงระดับสภา  ตนเปนเลขาชุดนี้ด้วย  กำลังคิดกรอบแนวคิดในการทำงาน ไม่ให้ซ้ำซ้อนกับฝ่ายบริหาร  ที่มาตนจับได้ HRD  prof 200, lecturer 800 มี part time  มวล. จ่าย งด. 2.7x  คิดว่า ควร freeze lecturer ถ้าเลื่อนไม่ขึ้น ตองกลายเป็น part time  เปนวิธีควบคัมค่าใช่จ่าย

กฤษณ์ชนม์ มทร. ธัญบุรี  คนสุรินทร์

  จะเปลี่ยนเรื่อง PAP ที่เสร็จใน ๗ ด. เห็นผลรูปธรรม 

  ย้ายจากเทเวศร์ 6-7 ปี  อจ. รุ่นเก่ามาดูงานเยอรมันบ่อย เอาระบบไปใช้  แต่จำกัดเวลาเรียน  ตนจะเอาประสบการณ์ไปปรับต่อ 

สมเกียรติ รองคณบดีวิทย์  จุฬา

  คณบดีแนะนำให้มา  กำลังทำ คก. ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ  ๑๔ ภาค  ห้อง lab กว่า100  กลิ่นสารเคมีแรง  ห้อง lab ของอาณาจักรภาควิชา

  สวทช. มี คก. ความปลอดภัย  คณะเปนต้นแบบ  ตนเขียน PAP แบบคิดๆ เอา 

เครือมาศหนุ่ย มก. กำแพงแสน  รองคณบดีฝ่ายพัฒนาและ ปชส.

  คณบดีให้มา 

  ตอนเป็น ผช. บริหาร ดูแล รปภ. 

  พัฒนาบุคลากรสนับสนุน  ทำฐานข้อมูลคณะ  ไปงาน event

  PAP การทำฐานข้อมูล  ที่มีอยู่เอาไปใช้ในงานประกันคุณภาพไม่ได้  และให้คนภายนอกค้นมาพบความเชี่ยวชาญ สำหรับมาร่วมมือได้  มก. อยากออกนอกระบบ 

สุทิน มข. รองประธานสภาคณาจารย์  อายุ ๓๓

  เป็นฝ่ายตรงข้ามกับผู้บริหาร  ทำหน้าที่เสนอแนะ  ผู้บริหารรำคาญ  ขอผลประโยชน์ให้พนักงาน

  PAP เรื่องความเป็นนานาชาติ  ตนไม่มีอำนาจ  ใช้วิธีขายความคิด 

  ชอบ cooperative studies อยากเสนอสร้างหลักสูตรเอื้อคนทำงาน 

  ตนเป็นนักเศรษฐสาสตร์  นักเศรษฐศาสตร์ชอบสมมติ ตีกรอบ

AAR D1

สงวนสิน  Session 2

 Tim Flink ว่า Excellence Initiative ประกอบด้วย ๓ ส่วน

  Grad Sch

  Cluster

  Excellence Initiative

Guidance

การ orientate BoT

  ตนสนใจการ control ซึ่งเป็นส่วนที่ ๓ และ  Tim พูดไม่ทัน

จิตเกษม

  Tim ว่า การเปลี่ยนแปลงของเยอรมัน ใช้ยุทธศาสตร์คล้ายๆของ Kotter  ใช้ guidance  ให้คนเสนอความคิด initiative

กาญจนา  ม. สยาม  ช่วงบ่ายไปดูงาน

  BSEL ชอบ career service, cooperative studies

  Career Service เน้น soft skills : negotiation, self control

  จะเน้นความร่วมมือ นานาชาติ สร้างการยอมรับในสังคมไทย

  จะไปปรับปรุง Coop study  ให้ นศ. เข้าใจชีวิตการทำงาน 

นพมาส วจก.มข.

  More with less. ตนยึด Less for more คุณภาพของคน  มข. ตอนนี้ผู้นำเรียนมาจากญี่ปุ่น 

วิภาวรรณ  บี  มวล. พยาบาล

  HU Berlin  ชอบ ว่าสอน How to learn ไม่ใช่ What to learn 

  readiness to change. ที่ตนเองก่อน 

  Flip classroom, ClassStart

  ให้ นศ. เรียนโภชนาการตอนกินอาหารเที่ยง  ให้ค้นมาก่อน

สมเกียรติ

  สนใจ บ. Spin Off

กฤตชนม์

  ระบบเยอรมัน  คนเรียนไม่เก่งห้ามย้ายแท่ง  แยก FacHoc กับมหาฯ ชัดเจน  คนเก่งจะเรียน กม.  หมอ วิศว รองๆ ลงมา  แต่ ง/ด ไม่ต่างกันมาก 

  ต้องไปทำเอกชนไม่ต่ำกว่า ๕ ปี จึงจะมาเป็น อจ. ได้  มาทำงานใต้ ศ. อีก ๓ ปี

European University Viadrina

  อยู่กลางทวีปยุโรป นศ. ต่างชาติ 25%  ตั้ง 22 ปี

  Weimar Triangle

 

F of Social & Cultural Sciences

Prof. Dr. Klaus Weber

  interdisc culture  ตนเป็น historian  จะเล่า historical perspective

  ตั้งมหาฯ เพื่อเชื่อม ตต - ตอ, และถมช่องว่างหลากหลายด้าน 

  borderland studies for inclusivity

  ในอดีต Frankfurt Oder & Berlin are like American West for Europe  ภาพเมืองและแม่น้ำ  เมืองอยู่บนฝั่งซ้าย หรือ ตต. อีกฝั่งหนึ่งเป็นพวก Barbarian  บริเวณนี้เป็น frontier region  มี รง. อุต ส่งไปขายยุโรป  ทอผ้าขายแข่งกับอินเดีย 

  มีกระบวนการ exchange หลากหลายด้าน  ทั้งของ elite กับ คนยากจน

งานวิจัย Orders in Motion

  หลัง 1989 liberalization

 Study Pgm : Modular, facilitate interdisc interaction

หนังสือ Poland's Wild West : Forced Migration and Cultural Appropriation of the Order Region 

เป็น ม. หลายภาษา 

ยังสอนแบบ lecture based

R Strategy

J Koch

  หน้าที่ 50% สอน  50% วิจัย  30% บริหาร

 - Production sphere : Input - Output : FOM

 - Financial :  FACT

 - Management : F Marketing & Mgt

R

  R Factory ช่วยเชื่อมต่างสาขา

  Excellence Initiatives จากภายนอก ๓ ปีมาแล้ว

border = limit, boundaries,

  B/Orders in Motion  ใช้เชื่อม ๒ คณะที่ต่างกัน : Business Ad & Management

salary is only hygiene factor, not a real motivation

อจ. ต้องสอน เปน w load 50%  อีก 50% วิจัย แต่ไม่บังคับวิจัย  เลือก publish or perish เอาเอง  ให้อิสระ

Full Prof. must come from outside

คนจบ PhD ที่ไหน จะไม่ได้รับเชิญเป็น ศ. ที่นั่น  เรียก house call  ต้องไปอยู่ที่อื่น เมื่อก่อน ๓ ปี  ตอนนี้ ๒ เดือนก็ได้ 

R Grant overhead 20%, 10% to Dept, 10% to univ


ดู ppt ประกอบการนำเสนอได้ ที่นี่


อาหารเที่ยงที่ “บ้านมันฝรั่ง” (Kartoffelhaus)  เยอรมันเก่งด้านปลูกมันฝรั่งรสดี และปรุงมันฝรั่งเก่ง

อุดมศึกษาเยอรมัน ไม่เชื่อ online learning

AAR

จิตเกษม

  ชอบ BSEL ดูแล นศ. อย่างเอาใจใส่  มีระบบความช่วยเหลือ

นาถรพี  มทร. ธัญบุรี

  วันนี้ได้ตัวอย่างการชัก % จาก Training & Research  จะไปเสนอทางมหาวิทยาลัย

   ชอบระบบบั้ดดี้ ให้ นศ. ต่างชาติ 

ชลทิศ ม. ศรีปทุม

  บุคลิกของคนเยอรมัน วางแผน ปฏิบัติ  จึงจัดระบบ Cooperative ed

  Viadrina เปน boutique university

มนัสมทร. ศรีวิชัย

  ประทับใจระเบียบวินัย  ของเราอธิการบดีต้องนำ คณบดีทำยาก

  อยากทำแบบ FOM ในสาขาอ่อน  นศ. มทร. โดน มรภ. แย่งไปมาก 

อรรจน์  มวล.

  ยุให้ มทร. รวมตัวกันเสนอโครงการสนองการขนส่งระบบราง 2.2 ล้านล้าน เพื่อสร้างคนรองรับระบบราง 


          หลังจากกลับมาเมืองไทยแล้ว  ทีม มข. ส่งการบ้าน บันทึกการนำเสนอของมหาวิทยาลัยนี้  เขียนดีมาก จึงขออนุญาตนำมาลงไว้ด้วย อ่านได้ Viadrina.pdf  โดยผมปรับวรรคตอนนิดหน่อย

 

          ขาเข้าเมืองรถติด ต้องเปลี่ยนแผนไม่ไป ช็อป  ตรงไปสถานีรถไฟเลย  ได้ตามทานัสไปซื้อของด้วย  ได้ซื้อ ช็อกโกเลต dark 85% 10 แผง  €15.9  ที่นี่ VAT 7% 

          เพราะน้ำท่วม รถไฟต้องเปลี่ยนราง จากราง 4 เป็นราง 1  และต้องวิ่งตามโบกี้หมายเลข 6 เอาเอง  ดีที่รถมาตรงเวลา 16.33 น.  ซึ่งก็ไม่ยากอะไร  โบกี้แบบเดียวกับที่เราเคยนั่งที่สวิส  มีห้อง ๖ คนด้วย  เรานั่งในห้องใหญ่ ที่นั่งสบาย

          หนุ่มๆ ตั้งวงดื่มไวน์ ที่ ดร. ชลทิศซื้อมา แบบราคาถูกมาก  ดร. นพมาศ จัดการไปขอให้พนักงานห้องเสบียงช่วยเปิดให้


          กินอาหารที่ห้องเสบียง  อาหารอร่อย เบียร์ก็อร่อย 

          ผมสั่งเมนู 6 : Nuernberger Rostbratwuerstchen mit Kartoffelsalat (6 small Nuremberg fried sausages with potato salad)

          และสั่งเบียร์ Franziskaner Hefe-Weissbier Hell (Fresh flavourful wheat beer from Bavaria)  ครึ่งลิตร แบ่งกับ ดร. กาญจนา


          ระหว่างทางเห็นร่องรอยน้ำท่วมเป็นระยะๆ

          รถไฟเสียเวลา ถึง Mannheim 22.45 (กำหนดเวลาเดิม 21.27)  รถบัสที่เช่าไว้ไม่รอ เพราะหมดเวลาทำงานของคนขับ  ต้องนั่งแท็กซี่ไปโรงแรม  ได้เห็นลวดลายของคนขับแท็กซี่  การมีไกด์ของเยอรมันคอยจัดการช่วยได้มาก

          พักโรงแรม Steigenberger Mannheimer Hof  ห้อง 209  ห้องพักเล็กและเครื่องอำนวยความสะดวกน้อยกว่าที่เบอร์ลิน  แต่ก็สบายพอสมควร


วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๕๖




ทำ AAR กันในรถ ระหว่างเดินทางจากเบอร์ลินไป Frankfurt Oder



ที่ลานเอนกประสงค์ของมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่มารับ



ผอ. ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ที่ถามหาผู้แทนจากมหาวิทยาลัยมหิดล 
เพราะอยากร่วมมือกับ CMMU



บรรยากาศในห้องประชุมอันสวยงาม  เดิมเป็นวัง



บันไดและหน้าต่างกระจกสี



รูปหมู่



ไปชมวิธีปรับปรุงอาคารทำเป็นหอสมุดที่ใช้แสงสว่างธรรมชาติอ่านหนังสือ



โบสถ์ร้้าง บูรณะไว้ใช้เป็นที่จัดพิธีกรรมชุมชน



สะพานข้ามไปเกาะกลางแม่น้ำ Oder ซึ่งกั้นเขตแดนกับโปแลนด์



นั่งรถไฟจากเบอร์ลินไปมานน์ไฮม์





หมายเลขบันทึก: 542447เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท