Colles fracture กับกิจกรรมบำบัด (กรณีศึกษา)


จากการฝึกปฏิบัติงานในช่วงเดือนเมษยน-พฤษภาคมที่ผ่าน ดิฉันได้มีโอกาสในการศึกษา กรณีศึกษาท่านหนึ่งซึ่งเป็น Fracture of distal radius หรือ Colles fracture ซึ่งในผู้รับบริการเกิดจากการได้รับอุบัติเหตุ ใช้มือซ้ายยันพื้น ส่งผลให้เกิดการหักของกระดูกบริเวณแขนท่อนล่าง มีอาการปวด ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนและมือได้ หลักจากได้รับการรักษาจากแพทย์แล้ว ได้มีการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดในเวลาต่อมา ซึ่งดิฉันได้มีการประเมิน และวางแผนการรักษาให้แก่ผู้รับบริการท่านนี้ โดยมีประวัติเบื้องต้น และรายละเอียดอื่นๆ ดังต่อไปนี้

ชื่อ-นามสกุล นางซี (นามสมมติ) เพศ หญิง   อายุ 63 ปี
การวินิจฉัยโรค Close fracture of left distal radius ข้างที่ถนัด ขวา
อาการสำคัญ  ปวดไหล่ แขน ศอกข้างซ้าย
ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงปัจจุบัน4 เดือน (7ม.ค.56 – ปัจจุบัน)
ประวัติการรักษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
-  เข้ารับการผ่าตัด โดยผ่าตัด ORIF with Locking compression plate with K-wire
-  เข้ารับการบำบัดทางกิจกรรมบำบัดทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชม. หลังจากนำ Plate ออก 
ความต้องการของผู้รับบริการ สามารถใช้มือข้างซ้ายทำงานได้ปกติ

หลังจากได้รับประวัติส่วนตัว ได้มีการประเมินทางกิจกรรมบำบัดโดยใช้ OPP Summary Form สามารถแจกแจงปัญหาได้ดังนี้

  • Performance Areas 

- Clothing care ไม่สามารถซักผ้า รีดผ้า และซ่อมแซมเสื้อผ้าได้ด้วยตนเอง
- Cleaning ไม่สามารถทำความสะอาดบ้านได้ เช่น ถูบ้าน เป็นต้น เนื่องจากไม่สามารถกำมือได้สุดช่วง

  • Performance components 

- Range of motion มีช่วงการเคลื่อนไหวที่ขำกัดในข้อหัวไหล่ ข้อมือ และนิ้วมือ ทำให้ไม่สามารถกำมือได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว
- Strength เป็นการประเมินความแข็งแรงของนิ้วมือ โดยให้ผู้รับบริการออกแรงบีบ เครื่องมือที่ใช้คือ Hand dynamometers พบว่าในมือข้างซ้ายมีแรงบีบน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในคนปกติ
- Endurance เป็นการประเมินความทนทานในการทำกิจกรรม โดยในผู้รับบริการท่านนี้ใช้การทำกิจกรรมในการบีบไม้หนีบที่มีแรงบีบ 1.8 kg. และนับจำนวนตัวไม้หนีบ พบว่าผู้รับบริการทำได้ 15 ตัว และจะแสดงอาการล้า
- Fine coordination ในผู้รับบริการ เป็นการประเมินความคล่องแคล่วในการทำกิจกรรมโดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคือ Groove pegboard จากการประเมินพบว่าในมือข้างซ้ายใช้เวลามากกว่ามือข้างขวา และมากกว่าค่าเฉลี่ยในคนปกติที่มีอายุในกลุ่มเดียวกัน

การตั้งเป้าประสงค์การรักษา  มีรายละเอียดดังนี้
เป้าประสงค์ระยะสั้น
  1. เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของไหล่
  2. เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อมือ
  3. เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของนิ้วมือ
  4. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือข้างซ้าย
  5. เพิ่มความทนทานของมือซ้ายในการทำกิจกรรมไม้หนีบที่มีแรงบีบ 1.8 kg.
  6. เพิ่มความคล่องแคล่วของมือในการทำกิจกรรม groove pegboard 
เป้าประสงค์ระยะยาว
  1. ผู้รับบริการสามารถกำมือซ้ายได้
  2. ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันและทำงานโดยใช้มือทั้งสองข้างได้
การวางแผนการรักษา มีรายละเอียดดังนี้

-  Neutral warmth เป็นการประคบร้อนเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณมือ จำนวน 15 นาที อุณหภูมิประมาณ 52-54 องศาเซลเซียส

-  Active and passive stretching เป็นการยืด คลายกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ ข้อมือ และนิ้วมือ

-  Joint manipulation  เป็นการเคลื่อนไหวของข้อต่อบริเวณข้อมือ และมือ

-  Prolonged stretching เป็นการยืดกล้ามเนื้อของข้อมือ และนิ้วมือ

-  Grading activities

นอกจากนี้ยังมีการให้กิจกรรมการรักษา โดยมีการปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น กิจกรรม Putty กิจกรรมการหนีบไม้หนีบ เป็นต้น ผลการรักษาพบว่า ผู้รับบริการสามารถบรรลุตามเป้าประสงค์ระยะสั้นที่ได้ตั้งไว้ และมีความสามารถในการกำมือเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในกระบวนการฝึกและการฟื้นฟู ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องรวมถึงความใส่ใจในการทำการบ้านตามคำแนะนำของผู้บำบัด และการดูแลตนเองของแต่ละบุคคลร่วมด้วย

หมายเลขบันทึก: 542329เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท