รายงานการให้เหตุผลทางคลินิกในกิจกรรมบำบัด : ผู้รับบริการอัมพาตครึ่งซีกทางด้านขวา (Right hemiparesis)


เนื่องจากเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาดิฉันได้มีโอกาสไปฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก ในผู้รับบริการที่มีความบกพร่องทางกาย คือ ผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตครึ่งซีก ดิฉันจึงได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในชั้นเรียน และได้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในบล็อกนี้ ดิฉันจะกล่าวถึงภาพรวมของผู้รับบริการในการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ดังนี้

ข้อมูลทั่วไปของผู้รับบริการ

ชื่อ นายพล (นามสมมติ)  เพศ ชาย  อายุ 39 ปี   ข้างที่ถนัด ขวา

อาชีพ นักออกแบบหลังคาโรงงาน
การวินิจฉัยโรค  อัมพาตครึ่งซีกในร่างกายซีกขวา (Right hemiparesis)

จากโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke)
อาการสำคัญ มีอาการอ่อนแรงขวาร่างกายซีกขวา โดยปัญหาทางกิจกรรมบำบัดส่วนใหญ่ คือ การควบคุมการเคลื่อนไหวของแขน มีอาการเกร็งเล็กน้อย บริเวณข้อศอก และนิ้วมือ

ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงปัจจุบันวันที่ 26 มกราคม 2556 มีอาการความดันโลหิตสูง ขณะตื่นนอน หน้ามืด เวียนศีรษะ เกิดอาการชาของร่างกายซีกขวา เนื่องจากมีอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

ความต้องการของผู้รับบริการ  ต้องการให้มือกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง และสามารถกลับไปประกอบอาชีพได้

เนื้อหาการให้เหตุผลทางคลินิกในกิจกรรมบำบัด

1.  บริบทของการให้บริการ

ปัจจัยที่ส่งเสริมผลลัพธ์ในการให้บริการ

-  ผู้รับบริการมองเห็นคุณค่าในตนเองมีความหวังและตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการฝึก  มีการวางแผนชีวิตในอนาคตในเรื่องการกลับไปประกอบอาชีพ

-  ผู้รับบริการให้ความร่วมมือ และมีความตั้งใจในการฝึก เพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้

-  มีญาติ คือ ภรรยาและบุตร คอยให้กำลังใจ และกระตุ้นการทำกิจกรรม ผู้รับบริการจึงมีความตั้งใจ และให้ความร่วมมือในการฝึกมากขึ้น

ปัจจัยที่จำกัดผลลัพธ์ในการให้บริการ

-  ปัจจัยทางด้านร่างกาย  คือ ผู้รับบริการมีรูปร่างท้วม จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายตัว และการเคลื่อนไหวของแขน จึงทำให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย และมีอาการเจ็บหัวไหล่เนื่องจากมีอาการแทรกซ้อน คือ หัวไหล่หลุด (Shoulder subluxation) จึงต้องเว้นช่วงพักทำกิจกรรมเป็นระยะ

2.  บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

แรงจูงใจ ความปรารถนา และความอดทนต่อผลลัพธ์

-  มีแรงจูงใจที่ดีในการฝึกกิจกรรมการรักษาในแต่ละครั้ง เนื่องจากผู้รับบริการมีกำลังใจที่ดีกับบุคคลในครอบครัวขณะการฝึก ซึ่งความต้องการในการกลับไปช่วยเหลือตนเองได้ และสามารถกลับไปประกอบอาชีพได้

ความสามารถและความบกพร่องที่มีอยู่

-  ความสามารถของผู้รับบริการทางด้านร่างกาย  คือ สามารถใช้มือข้างดี ช่วยมือข้างที่เป็นอัมพาตในการทำกิจกรรม เช่น กิจกรรมที่ใช้สองมือ (Bilateral activity)

-  ความบกพร่องที่มีอยู่คือ ข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ได้แก่ ผู้รับบริการมีการเคลื่อนไหวแบบไม่ได้ตั้งใจหรือการเคลื่อนไหวแบบกลุ่มก้อน (Synergy movement)

ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิต

-  ผู้รับบริการเข้าในต่อการใช้ชีวิต  สามารถทำใจและยอมรับได้กับสภาพร่างกายหรือพยาธิสภาพของตนเองจึงทำให้มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการฝึกเพื่อจะสามารถกลับไปช่วยเหลือตนเองได้

ความคาดหวังในการใช้ชีวิตระยะยาว

-  ผู้รับบริการมีความคาดหวังในเรื่องการกลับไปช่วยเหลือตนเองได้ อยากกลับไปประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว เนื่องจากผู้รับบริการมีบทบาทเป็นหัวหน้าครอบครัว

3.ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

ความคาดหวังและความพึงพอใจ

-  ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ได้แก่ การอาบน้ำ แปรงฟัน การเคลื่อนย้ายตัว

-  ผู้รับบริการสามารถใช้มือเอื้อมหยิบจับสิ่งของได้ด้วยตนเอง

-  ผู้รับบริการสามารถกลับไปประกอบอาชีพ ตามระดับความสามารถ เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว  ตลอดจนมีการทำกิจกรรมยามว่างตามความสนใจของผู้รับบริการ

4. ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้บริการ

ความคิดเห็นต่อกระบวนการให้บริการที่พึงประสงค์

-  ผู้รับบริการมีทัศนคติที่ดีต่อการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด โดยนำโปรแกรมการฝึกไปทำที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ

ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการให้บริการ

  -  ผู้รับบริการสามารถใช้มือเอื้อม หยิบจับสิ่งของได้ด้วยตนเอง

   -  ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง

  -  ผู้รับบริการสามารถกลับไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ โดยมีบทบาทเป็นผู้นำครอบครัว

5. กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

การอธิบายเหตุผลของข้อมูลทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจนด้วยการรับรู้ การตัดสินใจ และการกระทำ ที่เกิดขึ้นจริงระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ

Neurodevelopmental Frame of Referenceเป็นกรอบอ้างอิง ที่ใช้กับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ของ Berta Bobathนักกายภาพบำบัด ซึ่งเน้นการส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติ

หมายเลขบันทึก: 542328เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 22:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 22:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท