ข้อมูลของกรณีศึกษา ผู้รับบริการติดสุราที่มีภาวะ delirium และ MCI


กรณีศึกษาที่ได้นำเสนอในการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในบันทึก http://www.gotoknow.org/posts/541532

มีรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษา และเรียนรู้บทบาทของนักศึกษากิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการติดสุราที่มีภาวะdelirium และการสูญเสียการทำงานของสมองเล็กน้อย ดังนี้

ชื่อนาย  อนุ  (นามสมมติ) เพศ ชาย  อายุ  56 ปี  ประกอบอาชีพ ช่วยที่บ้านขายอาหารพื้นเมือง (แต่ไม่มีหน้าที่หรือบทบาทที่ชัดเจน)   ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ติดสุรา มีภาวะของ delirium และสมองเสื่อมเล็กน้อย (Alcohol dependent ,Alcohol withdrawal with delirium , MCI)

ก่อนมาโรงพยาบาล :

             -  ดื่มเหล้าจำนวนมาก (ข้ามคืน) เพราะมีงานเลี้ยง

             -  มีอาการสับสน วัน เวลา สถานที่ บุคคล

            -  เดินออกจากบ้านไปไกล แต่บอกลูกว่าไม่ได้เดินไปไห

ปัญหาของผู้รับบริการคือ

           -  มีอาการสับสน วัน เวลา สถานที่ บุคคล

           -  มีช่วงความสนใจขณะทำกิจกรรมกลุ่มสั้น

           -  มีการควบคุมตนเองให้ทำกิจรรมกลุ่มได้สำเร็จไม่เหมาะสม

           -  ไม่มีกิจกรรมที่ให้คุณค่า หรือแสดงความสนใจ

1.  เนื้อหาของการให้เหตุผลทางคลินิก

        1.1  ทฤษฎีและวิทยาศาสตร์

              §  Alcohol dependent เป็นความผิดปกติของการดื่มสุรา มีการดื่มเป็นอาจิณ จนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย  จิตใจ เศรษฐกิจ และการทำหน้าที่ในสังคม ถือว่าเป็นความเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นความสัมพันธ์โดยตรงกับการดื่มสุราในปริมาณมากและเป็นเวลานาน รวมทั้งการมีการเสพสุราซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นจำนวนมาก  แม้จะรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการดื่มสุราก็ไม่สามารถควบคุมตนเองได้[WHO](2005)  

            §  ผลกระทบของการติดสุราที่มีภาวะ delirium



                  -  ช่วงความสนใจหรือสมาธิในการทำกิจกรรมลดลง

                  -  มีระดับความรู้สึกตัวน้อยลง

                  -   มีปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจ คือ ด้านความจำ

1.2  บริบทของการให้บริการ

            §  ปัจจัยที่ส่งเสริม

                  -  Self confidence  ผู้รับบริการมีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง เข้าร่วมทุกกิจกรรม  มีความ 

                       มั่นใจในตัวผู้ให้บริการโดยให้ความร่วมมือ สอบถามเมื่อสงสัย  มีปฏิสัมพันธ์อย่างเหมาะสม

                  -  Self esteem  ผู้รับบริการมีความภาคภูมิใจเมื่อทำกิจกรรมได้สำเร็จ มีผลงานเป็นของตนเอง โดยแสดง

                       ความคิดเห็นว่าจะตนจะนำผลงานที่ได้ไปวาไว้ที่หน้ารถเมื่อตนได้กลับบ้าน

          §  ปัจจัยที่จำกัด

                   -  Value ผู้รับบริการไม่ให้คุณค่ากับการเลิกเหล้า ไม่คิดว่าการเลิกเหล้าเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำ  และไม่

                       ให้คุณค่ากับการทำกิจกรรมยามว่างเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน

                  -  Interest  ผู้รับบริการไม่มีกิจกรรมที่สนใจ เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตทำให้      

                      การทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตไม่สมดุล เกิดเวลาว่างค่อนข้างมาก และใช้เวลาว่างนั้นในการดื่มเหล้า

1.3  บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

                -  ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง มีความภาคภูมิใจเมื่อทำงานได้สำเร็จ แต่มีอาการสับสนใน

                    บางครั้ง  ขณะทำกิจกรรมแต่เมื่อให้การกระตุ้นผู้รับบริการก็สามารถทำกิจกรรมต่อได้จนสิ้นสุดกิจกรรม

               -  ผู้รับบริการไม่รับรู้ หรือไม่ตระหนักว่าการดื่มเหล้าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม

               -  ผู้รับบริการคาดหวังว่าอาการของตนจะดีขึ้นและได้กลับไปใช้กิจกรรมการดำเนินชีวิตที่บ้าน

1.4  ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

              -  ผู้รับบริการปฏิเสธการทำกิจกรรมในบริเวณห้องพักผ่อนเนื่องจากมี ผู้รับบริการคนหนึ่งส่งเสียงดัง ทำให้ตน

                  เกิดความราญ และหงุดหงิดใจ

1.5  ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้บริการ

            -  ผู้รับบริการอยากมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อไม่อยากอยู่ว่าง

            -  เมื่อผู้รับบริการได้รับผิดชอบงานแล้วจะทำให้สำเร็จ

            -  เมื่อทำกิจกรรมได้สำเร็จ ผู้รับบริการจะเกิดความภาคภูมิใจ และแสดงความคิดเห็นว่าอยากนำไปใช้หรือนำ

                ผลงานที่ได้ไปให้คนอื่น

            -  ผู้รับบริการคาดหวังว่าตนสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้อย่างปกติ  ไม่แสดงอาการที่ต้องเข้าโรงพยาบาล

                 อีก (อาการสับสน)

1.6 กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

            •   Cognitive rehabilitation  : cognitive remediation  เพื่อป้องกันการเป็น dementia ภาวะสมองเสื่อม

 


              •   Psychosocial  rehabilitation:  self-development groups การจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อการบำบัดฟื้นฟู

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของผู้รับบริการจะทำให้เราให้การบำบัดรักษา และเข้าใจเกี่ยวกับผู้รับบริการได้มากขึ้น เป็นกระบวนการที่สำคัญที่ส่งผลให้การให้เหตุผลทางคลินิกมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 542326เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท