ภารกิจขับรถพาครูกลับยโสธร


ภารกิจขับรถพาครูกลับยโสธร

  เอาหล่ะเส้นทางการภาวนาแบบเข้มข้น เป็นข้อสอบข้อสุดท้ายก็ทริปนี้

ครูบอกให้เป็น คือ ขับรถอย่างมีสติ คิดใคร่ครวญโจทย์ และเดินทางให้ปลอดภัย นี่คือเส้นทางแห่งการฝึกฝน

ลงเครื่องเสร็จ ครูชี้ให้ดูจิตข้างใน ที่มันแสดงอาการเอ๋อ ๆ หมอง ๆ

ออกไประยะทางเกือบจะพ้นเส้นเลี่ยงมือ ถึงได้เห็นว่า

“เป็นอาการ จิตดื้อด้าน แสดงออกมาเป็นความเงอะ ๆ งะ ทำอะไรไม่ถูก”

พอเห็นปุ๊บอาการของจิตเปลี่ยน

ครูชี้ให้เห็นลงไปว่า จิตดื้อด้าน แต่แค่เปลี่ยนหน้าตา

ครานี้ถ้าเป็นหนัก ๆ พิจารณาลงไปเลย จิตมีอาการดื้อด้าน แล้วเป็นยังไง

หากเกิดเหตุการณ์ซ้ำ ๆ เดิม นั่นแสดงว่า

เรากำลังเรียนอะไรที่ลึกซึ้งขึ้นกว่าเดิม

เหมือนบทสวดบารมี 30 ทัศเป็นระดับ

บารมี เกิดซ้ำอีก เป็น อุปปะปารมี หรือ บางทีก็เป็นปรมัตถบารมี

ขับรถไปเรื่อย ๆ ครูถามซ้ำ ดีขึ้นกว่าเดิมไหม

“ดีขึ้นกว่าเดิมแต่ยังมีหนัก ๆ”

ตอบครูปุ๊บใจหนัก ขึ้น ๆ มันมีอะไรในจิตผิด

กว่าจะแงะงัดได้ ก็ไปหลายกิโลว่า

“ถ้ายอมรับ แล้วไม่ต่อหางก็จบ”

แต่นี่จิตมันต่อหาง เอากิเลสมาต่อ

ครูชี้ “เหมือนครูบอกว่า นี่รถปิคอัพ”

หนูก็ไปตอบว่า “ค่ะรถปิคอัพ แต่หนูว่าสีน้ำเงิน”

นี่ครู คลี่ให้เห็นจิตที่มันต่อต้านในอีกมุม

ดังนั้นพระป่าท่านจึง “สำรวม”

ครูคอยปลุกให้สติ

แล้วครูก็เมตตาชี้เรื่อง ปริยัติ กับปฏิบัติ

การสอนเพียง ปริยัติ การรับรู้ของหนู คือ จำได้แค่ระดับสมอง

ส่วนปฏิบัตินั้นมันเข้าไปข้างใน เป็นความเข้าใจที่เกิดขึ้น นำไปปฏิบัติพลิกแพลงได้

ครูยอกตัวอย่าง “โลภ โกรธ หลง”

ปริยัติก็บอกมี 3 อย่าง แต่ไม่เห็นอาการของจิต

ส่วนปฏิบัตินั้น ดูเลย ดูให้เห็นหน้าตาตอนที่มันมา ดูลงไปตอนที่มันทุกข์

พออธิบายแบบนี้ใจหนูก็เห็นแบบ จะ จะ

ครูเป็นให้ดู ทั้งการมีสติ ให้โอกาสลูกศิษย์ที่จิตดื้อด้านอย่างหนู

ครูหาช่องทาง วิธี ทำอย่างไร หนูถึงจะเข้าใจธรรม

เส้นทางนี้ ครูเมตตาชี้ให้หนูประเมินตนเองว่า เป็นอย่างไร

ก็ได้คำตอบกับตนเองว่า “ผ่านแบบร่อแร่เจ้าค่ะ”

เป็นการเดินทางที่ได้เรียนรู้ ทั้งแก้ไข อ้อมีเรื่องเล่าของนักภาวนาในวัดเพื่อไปนิพพานว่า

“พระท่านเหมือนผู้พายเรือไปนิพพาน เวลาเรือรั่วได้สิทธิพิเศษในการขึ้นไปซ่อมในฝั่งได้

ส่วนฆารวาสก็เหมือนผู้พายเรือไปนิพพาน แต่หากเรือรั่วไม่มีสิทธิ์ขึ้นไปซ่อมเรือบนฝั่ง

ต้องพายไปซ่อมไป แบบพายไปข้างหน้าก็พาย วิดน้ำออกก็วิด ซ่อมเรือก็ซ่อม แต่ก็ถึงฝั่งได้เหมือนกัน

เป็นสัญญาณว่า ฆารวาสต้องเพียรมาก จึงจะพ้นภัย สาธุเจ้าค่ะ


คำสำคัญ (Tags): #aar#km#ภาวนา#วิมังสา
หมายเลขบันทึก: 542241เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 03:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท