เนื้อหาของการให้เหตุผลทางคลินิกในผู้รับบริการน้ำร้อนลวก


จากบล๊อกที่แล้วได้กล่าวถึงกรณีศึกษาคุณ ว. ผู้รับบริการน้ำร้อนลวกhttp://www.gotoknow.org/posts/541580
วันนี้ดิฉันจะมานำเสนอเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางคลินิกกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการน้ำร้อนลวกคะ ก่อนอื่นขอทบทวนข้อมูลของผู้รับบริการรายนี้ให้ผู้อ่านทุกคนได้ทราบกันก่อนนะคะ

ชื่อคุณว. (นามสมมติ)เพศหญิงอายุ58ปี ข้างที่ถนัดขวา
การวินิจฉัยโรค Burn of Left Arm and Hand (น้ำร้อนลวกบริเวณมือและแขนข้างซ้าย)
อาการสำคัญกำมือซ้ายไม่ได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว
ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนถึงปัจจุบันวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 6.00 น. โดนน้ำร้อนลวกจากอุบัติเหตุลื่นล้ม มีแผลบริเวณหน้า มือ แขน และขา (Secondary degree burn 18% ระดับ Superficial)
ความต้องการของผู้รับบริการ ต้องการให้มือกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันและทำงานได้อย่างสะดวก คล่องแคล่วเหมือนเดิม

เนื้อหาการให้เหตุผลทางคลินิก

1. บริบทของการให้บริการ
1.1) ปัจจัยที่ส่งเสริม คือ ผู้รับบริการมีกำลังใจที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง มีการให้คุณค่าต่อตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันและการประกอบอาชีพ สังเกตได้จากปัจจุบันคุณ ว. ยังคงขายน้ำเต้าหู้อยู่
1.2) ปัจจัยที่ขัดขวาง คือ จำนวนครั้งที่คุณ ว. เข้ารับบริการทางกิจกรรมบำบัดในแต่ละสัปดาห์มีความไม่สม่ำเสมอ
(ปกตินัดผู้ัรับบริการสัปดาห์ละ 2ครั้ง)

2. บริบทของชีวิตผู้รับบริการ

2.1) แรงจูงใจ ความปรารถนา และความอดทนต่อผลลัพธ์
- มีแรงจูงใจในการทำกิจวัตรประจำวัน ขายน้ำเต้าหู้ ถักหมวกไหมพรม
- มีความปรารถนาที่จะกำมือซ้ายได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว
2.2) ความสามารถและความบกพร่องที่มีอยู่
- สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ แต่ขาดความคล่องแคล่วในการทำกิจกรรม
2.3) ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิต
- มีความเข้าใจต่ออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ปัจจุบันสามารถทำกิจวัตรประจำวันและขายน้ำเต้าหู้ได้ โดยไม่มีความเครียด
2.4) ความคาดหวังในการใช้ชีวิตระยะยาว
- สามารถทำกิจวัตรประจำวัน ขายน้ำเต้าหู้ และถักหมวกไหมพรมโดยใช้มือทั้งสองข้างได้อย่างคล่องแคล่ว

3. ความเชื่อส่วนบุคคลของผู้ให้บริการ

3.1) อุปสรรคในการแสดงพฤติกรรมที่ยอมรับได้
- ผู้รับบริการเชื่อว่าหากใช้มือข้างที่ถูกน้ำร้อนลวกทำงานบ่อยๆ จะทำให้สามารถใช้มือทำงานได้คล่องแคล่วและเป็นปกติเหมือนเดิม
3.2) ความคาดหวังและความพึงพอใจ
- ผู้รับบริการสามารถกำมือซ้ายได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว
- มีความพึงพอใจในการฟื้นฟู จากการประเมินซ้ำ พบว่าผู้รับบริการมีช่วงการเคลื่อนไหวของข้อต่างๆในมือซ้ายเพิ่มขึ้น 5-15 องศา

4.ทัศนคติและความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของผู้ให้รับบริการ

4.1) ความคิดเห็นต่อกระบวนการให้บริการที่พึ่งประสงค์
- ผู้รับบริการมีทัศนคติที่ดีต่อการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด โดยนำโปรแกรมการฝึกไปฝึกที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ และมีการคิดค้นกิจกรรมการฟื้นฟูการทำงานของมือด้วยตนเอง เช่น นำดัมเบลยกน้ำหนักมายกขณะอยู่ที่บ้านเพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อของมือ
4.2) ความคาดหวังต่อผลลัพธ์ของการให้บริการ
- สามารถกำมือได้สุดช่วงการเคลื่อนไหว, มีกำลังกล้ามเนื้อมือเพิ่มขึ้น, มีความทนทานในการใช้มือทำกิจกรรมมากขึ้น และมีความคล่องแคล่วของมือเพิ่มขึ้น

5. กรอบอ้างอิงของผู้ให้บริการ

5.1) การอธิบายเหตุผลของข้อมูลทางคลินิกที่ยังไม่ชัดเจนด้วยการรับรู้ การตัดสินใจ และการกระทำที่เกิดขึ้นจริงระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
- Physical Rehabilitation Frame of Reference ใช้ในการฟื้นฟูการทำหน้าที่ของมือ เช่นการเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว การเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ การเพิ่มความทนทาน รวมถึงการเพิ่มความคล่องแคล่วในการทำกิจกรรม

หมายเลขบันทึก: 542238เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2013 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท