สาระการเรียนรู้ที่ 4 : กระบวนการพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานช่วงชั้นและขึ้นปีของหลักสูตร


มาตรฐานช่วงชั้นและขึ้นปีของหลักสูตร


โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมี ดังนี้
1. ระดับช่วงชั้น
    กำหนดหลักสูตรเป็น 4 ช่วงตามระดับัฒนาการของผู้เรียน คือ 
    ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3
    ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6
   ช่วงชั้นที่ 3  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3
   ช่วงชั้นที่ 4  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6
2. สาระการเรียนรู้
 มาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางสามารถแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มสาระ  คือภาษาไทย , คณิต , วิทย์ , สังคมศาสนาและวัฒนธรรม , สุขศึกษาและพลศึกษา , ศิลปะการงานอาชีพเทคโนโลยีและ  ภาษาต่างประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน  สำหรับส่วนที่ตอบสนองความสามารถ  และความถนัด  ในด้านความสนใจของผู้เรียน

3.กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

สถานศึกษาได้มีการดำเนินการตามเป้าหมาย  มีรูปแบบและวิธีการเหมาะสมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  2 ลักษณะคือ

3.1 กิจกรรมแนะแนว  เพื่อให้นักเรียนได้ค้นพบศักยภาพของตนเอง  ผู้สอนทำหน้าที่แนะแนวให้คำปรึกษาด้านชีวิต  

3.2 กิจกรรมนักเรียน  ให้ผู้เรียนปฏิบัติวางแผน  ประเมินและปรับปรุง   โดยเน้นการทำงานร่วมกลุ่ม เช่น  ลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์

4. มาตรฐานการเรียนรู้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์อยู่ 2 ลักษณะ4.1 มาตรฐานการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน4.2 มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น  



5. เวลาเรียน
    ช่วงชั้น 1  และช่วงชั้น 2  จะมีเวลาเรียนเท่ากัน  ประมาณปีละ 800 - 1,000 ชั่วโมง วันละ 4 - 5 ชั่วโมง
    ช่วงชั้น 3 มัธยมปีที่ 1-3 ปีละประมาณ 1,000 - 1,200  วันละ 5 - 6 ชั่วโมง
   ช่วงชั้นที่ 4 มัธยมปีที่ 4 - 6 เวลาไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมง วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

การศึกษาภาคบังคับ  คือชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตรเป็นรายปี  และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จัดเป็นหน่วยกิต ดังนี้
ช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 และปีที่ 4 - 6  การศึกษาระดับนี้ช่วงแรกคือภาคบังคับ ตามหลักสูตรที่จัดขึ้น  เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาคุณภาพชีวิตกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม  ทักษะพื้นฐานด้านการอ่าน  เขียน  การคำนาณ  การคิดวิเคราะห์  การติดต่อสื่อสาร  และพ์้นฐานความเป็นมนุษณ์  เน้นการบูรณาการอย่างสมดุลทั้งร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์  สังคมและวัฒนธรรม
ช่วงชั้น 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ี 1 - 3  เป็นช่วงสุดท้ายของการศึกษาภาคบังคับมุ่งเน้นผู้เรียนใช้ความสามารถ  ความถนัด  ความสนใจของตนเอง  และพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตัว  พัฒนาความรู้ความสามารถ  ทักษะในด้านการเรียนรู้ต่างๆ  เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  ให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้  ความคิด  ความสามารถ  ความดีงาม  และความรับผิดชอบต่อสังคม  เสริมสร้างสุขภาพและชุมชน  มีความภูมิใจในความเป็นไทย  ตลอดจนใช้พื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 เป็นหลักสูตรที่เน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทักษะเฉพาะด้าน  มุ่งปลูกฝังความรู้  ความสามารถ  และทักษะในวิทยาการและเทคโนโลยี  เพื่อให้เกิดการริเริ่มสร้างสรรค์ เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาและมุ่งประกอบอาชีพ  มุ่งพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน  สามารถเป็นผู้นำ  และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่างๆ  
สรุป
จากการที่ได้ค้นคว้าในครั้งนี้ทำให้เกรทได้ทราบถึงความเป็นครูที่จะต้องรู้ทุกเรื่อง  โดยเฉพาะในด้านที่ครูจะต้องสอนนักเรียนให้มีประสิทธิภาพ  ผ่านช่วงชั้นมาตรฐานของแต่ละชั้นปีที่ได้มาตรฐานตามหลักสูตรที่กำหนดไว้  ทำให้ทราบถึงการแบ่งชั่งชั้นอย่างละเอียด รายวิชา  กระบวนการเตรียมการสอนของแต่ละชั้นมีความแตกต่างกัน  กลุ่มสาระรายวิชาพื้นฐานต่างๆ  เพื่อเตรียมพร้อมเด็กเข้าสู้กระบวนการของสถานศึกษาที่จะต้องมีการประเมินคุณภาพ  



แหล่งที่มา
  •  เอกสารประกอบการสอนการพัฒนาหลักสูตร  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี   
  • อ.อุดม  สุขทอง . หนังสือมาตรฐานวิชาชีพครู . กรุงเทพฯ . AP ACADEMY.

หมายเลขบันทึก: 542239เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 กรกฎาคม 2013 04:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

หลักสูตรเหมือนแฟชั่น สารพัดจะจัดสรรให้ครูปวดหัวเนาะ

 

- ยังไม่เห็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับมาตรฐานช่วงชั้นและมาตรฐานชั้นปีเลยนะคะ รวมทั้งตัวอย่างมาตรฐานของวิชาที่คุณจะสอน
- ยังนำเสนอเนื้อหาไม่ตรงประเด็นที่มอบหมายนะคะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท