หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน : ปรากฏการณ์การขับเคลื่อน (บูรณาการโดยใช้ศาสตร์ต่างคณะ)


การบูรณาการโดยใช้ศาสตร์ต่างคณะ




ผศ.ดร.ชูพักตร์ สุทธิสา (คณะมนุษยศาสตร์ฯ) และ ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา (คณะวิทยาการสารสนเทศ)
จัดเวทีโสเหล่ร่วมกับ อบต.หนองบัว  และแกนนำชุมชน เพื่อวิเคราะห์บริบทชุมชนร่วมกัน




การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการบูรณาการศาสตร์ต่างคณะ (ข้ามศาสตร์) ในพื้นที่เดียวกัน ปรากฏเป็นรูปธรรมเด่นชัดในการทำงานระหว่างหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์ (คณะวิทยาการสารสนเทศ) กับหลักสูตรการพัฒนาชุมชน  (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  

กล่าวคือทั้งสองหลักสูตรปฏิบัติงานในชุมชนหนองบัว (ต.หนองบัว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม)  ซึ่งเป็นการเติมเต็มศักยภาพการจัดกิจกรรมวนชุมชนต่อกันและกัน เนื่องจากนิสิตหลักสูตรการพัฒนาชุมชน จะมีความรู้และทักษะในการลงชุมชนมากกว่านิสิตจากหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์  ขณะที่นิสิตจากหลักสูตรสารสนเทศศาสตร์  จะมีทักษะที่หลากหลายในการนำข้อมูลไปจัดระบบเป็นสารสนเทศเพื่อการเผยแพร่ในมิติต่างๆ  วิธีคิดเช่นนี้ จึงถือเป็นการออกแบบการเรียนรู้ที่ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน  เติมเต็มศักยภาพของการเรียนรู้ร่วมกันไปโดยปริยาย  ดังนี้


 


1จัดเวทีการพัฒนาโจทย์  การสำรวจ “ทุนทางสังคม” (Social capital)     ในเชิง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (Local knowledge)  เน้นการ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (โสเหล่) ร่วมกันระหว่างนิสิต อาจารย์และชาวบ้าน  จากทุกหมู่บ้านของชุมชนหนองบัว  เพื่อจัดกระทำกับข้อมูลผ่านกลไก  ของการ mapping  เพื่อให้เห็นศักยภาพของแต่ละหมูบ้านว่าโดดเด่น  ในเรื่องภูมิปัญญาด้านใด เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้นิสิตได้ลงพื้นที่เก็บ  ข้อมูล  และจัดหมวดหมู่ข้อมูลเชื่อมโยงเข้าสู่การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2จัดเวทีสะท้อนผลการเรียนรู้ โดยการเชิญ “ปราชญ์ชาวบ้าน”  ในด้าน  ต่างๆ อันเป็นข้อมูลที่เกิดจาการศึกษา รวบรวมของนิสิตและชาวบ้าน  มาจัดเป็นมหกรรมสาธิต หรือปฏิบัติการจริง เพื่อให้นิสิต ชาวบ้าน  รวมถึงเด็กและเยาวชนที่เป็น “นักเรียน”  ได้เข้ามาร่วมเรียนรู้และฝึก  ปฏิบัติจริงร่วมกันในเรื่องต่างๆ เช่น การทอสื่อกก  การจักสาน การขับร้อง  การทำดอกไม้ประดิษฐ์  การรักษาโรคด้วยสมุนไพร ฯลฯ 

ซึ่งข้อมูลทั้งหมดได้จัดกระทำเป็นฐานข้อมูลและใช้เป็นส่วนหนึ่งในการ  สร้างระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นและเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ในท้องถิ่นนั้นๆ




การขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ “กู่กาสิงห์” (บ้านกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด)  ของสาขาสถาปัตยกรรมภายใน (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์)  กับสาขาประวัติศาสตร์ (คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)  เป็นอีกสองหลักสูตรที่มีการบูรณาการการทำงานร่วมกัน  เบื้องต้นทั้งสองสาขาได้วางแผนการเก็บข้อมูลชุมชนร่วมกัน  รวมถึงการแบ่งบทบาทหน้าที่การปฏิบัติการ (Activity) อย่างเป็นรูปธรรม  เช่น  สาขาประวัติศาสตร์เน้นกระบวนการเก็บข้อมูล จัดหมวดหมู่ข้อมูลที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์กู่กาสิงห์ ส่วนสาขาสถาปัตยกรรมภายใน จะรับผิดชอบการออกแบบพื้นที่การจัดแสดงข้อมูลต่างๆ ไว้ภายในตัวพิพิธภัณฑ์ 

ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 542165เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2013 08:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นหลักสูตรที่ดีมาก ๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดีจ้ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆๆๆๆๆๆ

...นักศึกษาได่เรียนรู้ ....และการ การปฏิบัติการ (Activity) อย่างเป็นรูปธรรม นะคะ .... ขอบคุณมากค่ะ

มาชื่นชมค่ะอาจารย์

เข้ามาชื่อนชม และขอให้ประสบความสำเร็จ อย่างยั่งยืนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท