ต่างเป็นครูและผู้เรียนรู้ให้กัน (ตอนจบ) การพัฒนาวิธีการทางความรู้ไปบนการทำงาน


๘.  การริเริ่มและสั่งสมพัฒนาญาณวิทยาและระเบียบวิธี
      เพื่อทำงานทางปัญญาในแนวทางใหม่สู่อนาคตสำหรับสังคมไทย


                                    

โอกาสการจัดงานระดับนี้และด้วยความมีองค์ประกอบอย่างสมบูรณ์แบบอย่างนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก ดังนั้น นอกจากจะต้องพาทีมเรียนรู้ไปบนการดำนเนินการและปฏิบัติการต่างๆ ทั้งให้ได้ความสำเร็จและได้บทเรียนนำกลับไปทำงานต่อไปให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว ผู้เขียนในฐานะผู้วางแนวคิด ออกแบบกระบวนการหลัก และนำทีมจัดกระบวนการให้ดำเนินไปอย่างผสมผสานแล้ว ก็ถือโอกาสพาทีมทำและเรียนรู้เครื่องมือและวิธีการสร้างความรู้ วิธีเข้าไปสังเกตและได้รู้สิ่งต่างๆ ที่ไม่ติดกรอบอยู่กับความรู้และบทบาทหน้าที่แยกส่วนของตนเอง หรือการได้วิธีทำงานความรู้และการพัฒนาญาณวิทยาใหม่ๆ โดยได้สัมผัสในสถานการณ์การทำงานจริงและได้ความรู้เฉพาะตนแก่ตนเองไปด้วย ซึ่งจะหาไม่ได้จากตำราและแหล่งประสบการณ์ใดทั้งในและต่างประเทศ 

ตัวอย่างเช่น วิธีสร้างทีมและเครือข่ายเรียนรู่ พร้อมกับเก็บข้อมูลไปด้วยโดยใช้การปฏิบัติของคนเป็นหลัก เครื่องมือและเทคโนโลยีนำมาใช้อย่างมีเหตุผล รู้และเข้าใจความหมาย ทั้งหลากหลายและเพียงพอ ขณะเดียวกัน ผู้เขียนก็ได้ทำเป็นกรณีศึกษา พัฒนาให้เหมือนเป็นการวิจัยย่อยๆเบ็ดเสร็จอยู่ในตัวเอง และบันทึกรวบรวมเป็นข้อมูลพัฒนาไปบนการใช้ทำงานทีละนิดๆในบริบทสังคมไทย

เวทีสัมนาครั้งนี้  จึงใช้ประเด็นการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และแผนแม่บท มาเป็นเงื่อนไขสร้างวาระการระดมพลังวิชาการและพลังทางปัญญาของประเทศ มาสู่การเคลื่อนไวเพื่อพัฒนาการศึกษาของสังคม โดยชี้นำการมุ่งไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้และเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการปฏิรูปสังคมทั้งระดับท้องถิ่นและของสังคมไทย ก่อเกิดการร่วมคิดและสร้างความเป็น ‘มหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น’ ในบริบทของสังคมไทย แต่มีนัยต่อการชี้นำโอกาสและทางเลือกใหม่ๆของการจัดการศึกษาเพื่อนำการเปลี่ยนแปลงสังคม ไม่เพียงของสังคมไทย แต่ต่อประเด็นแนวโน้มของสังคมในวงกว้างทั้งในระดับภูมิภาคและของโลกด้วย 

ขณะเดียวกัน ก็เป็นโอกาสให้สังคมความหลากหลายได้เป็นครูและผู้เรียนกันและกัน ได้สร้างทีมเพื่อเป็นกำลังบุกเบิกริเริ่มความเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาหลายระดับต่อสังคม สร้างแนวคิดและแนวพัฒนาการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม ทดลองและตรวจสอบระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจัดการศึกษาที่บูรณาการกับวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ 

ก่อเกิดแนวทางพัฒนาเครื่องมือวิจัย ญาณวิทยา และวิธีทำงานความรู้แบบเดินเข้าหาสังคม ข้ามศาสตร์ ทำการศึกษาให้เชื่อมโยงกับมิติสังคมวัฒนธรรมอย่างมีชีวิต.

(จบบทสรุปข้อสังเกตเบื้องต้นจากเวที)

........................................................................................................................................................................

Field note : การพัฒนาวิธีการทางความรู้ไปบนการทำงาน
Case : เวทีสัมมนาแผนยุทธศาสตร์สร้างความเป็น'มหาวิทยาลัยวิจัยของท้องถิ่น' มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ 
Date : ๓๐ มิถุนายน - ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ 
Place : โรงแรมรอยัลเจมส์ จังหวัดนครปฐม 
Proponent and Implementator : มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ และจังหวัดอำนาจเจริญ
Conceptual Design and Process Facilitator : ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ นักวิชาการอิสระ
Project Director : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นคร เหมะ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
Coordinator : ดร.จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

หมายเลขบันทึก: 541309เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2013 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์สบายดีนะคะ ยังระลึกถึงค่ะ อาจารย์ก็มีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอนะคะ ขอบคุณที่นำมาให้เรียนรู้ค่ะ


สบายดีครับครูตูม ขอบคุณครับ รำลึกถึงครูตูม อาจารย์หมอ ป. ครูกานดาน้ำมันมะพร้าว คุณอักขณิช และทุกท่านที่ได้เคยไปร่วมทำกิจกรรมให้เด็กๆที่โรงเรียนสันทรายเช่นกันครับ

ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาทักทายครับ ดร.โอ๋-อโณ อาจารย์ขจิต อาจารย์ Wasawat ชาดา ครูตูม ดร.พจนา และคุณอักขณิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท