ผ้าอนามัย


                                                                 ผ้าอนามัย

                                                นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)


ผ้าอนามัย sanitary towel (U.K) หรือ sanitary napkin (U.S) หมายถึง แผ่นซับใช้แล้วทิ้ง สำหรับสตรีใช้ซับเลือดประจำเดือน ทั้งนี้ไม่รวมถึง incontinence pads ซึ่งใช้โดยผู้หญิงที่มีปัญหาการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ ผ้าอนามัย ชนิดสอดไม่เป็นที่นิยมใช้ ส่วนผ้าอนามัยชนิดที่ใช้ภายนอกซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า maxi pad ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลก เป็นแผ่นทำด้วยวัสดุที่มีคุณลักษณะซึมซับได้ดีหุ้มด้วยผ้าสำลี(quiltedcotton)Max pad แบ่งออกเป็น 2ประเภทคือ
1.Ultrathin(ชนิดบาง)ซึ่งเป็นที่นิยมของวัยรุ่น
2.Maxi(ชนิดหนา)ดูดซับได้มากกว่าและแบ่งออกเป็น3แบบคือ
Regular (ปกติ) สำหรับการไหลของเลือดประจำเดือนปานกลาง

Super (พิเศษ) สำหรับการไหลของเลือดประจำเดือนมากกว่าปกติ และมีปัญหาทำให้เปรอะเปื้อนที่ด้านหน้าและด้านหลังของกางเกงใน Overnight ออกแบบมาสำหรับดูดซับเลือดประจำเดือนที่ไหลรินออกมาขณะนอนหลับ
Maxi ทั้ง 3 แบบ มีการเพิ่มรูปลักษณะให้มีปีก เพื่อการป้องกันได้สูงสุด เป็นการเพิ่มกาวเพื่อยึดแผ่นผ้าอนามัยให้ติดแน่นกับกางเกงใน คุณลักษณะอื่นคือดับกลิ่น (deodorant) โดยการใส่น้ำหอมในแผ่นผ้าอนามัย เพื่อดับกลิ่นเลือดประจำเดือน มีการใช้โลชั่นที่มีส่วนผสมของ chitosan material ซึ่งมีขนาด particle มากกว่าประมาณ 250 ไมครอน ไม่เกิน ร้อยละ 1 ใส่ในผ้าอนามัย เพื่อต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์และลดกลิ่น แผ่นผ้าอนามัยใช้ได้นาน 6 ชั่วโมง บางครั้งอาจใช้ได้ 4-8 ชั่วโมง ขึ้นกับคุณภาพในการดูดซับและการไหลของเลือดประจำเดือน ผ้าอนามัยที่ใช้แล้ว ให้ห่อด้วยกระดาษชำระ และทิ้งในถังขยะ อย่าทิ้งในโถส้วม เพราะจะทำให้ส้วมอุดตัน
นอกเหนือจากแผ่นผ้าอนามัย ยังมีผลิตภัณฑ์เรียกว่า pantiliners หรือ แผ่นอนามัย มีลักษณะเป็นแผ่นบางขนาดเล็กใช้ดูดซับของเหลว ที่ไหลออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกวัน หรืออาจใช้ในวันที่ประจำเดือนกำลังจะหมด หรือใช้เป็น backup (แผ่นกัน) สำหรับผู้ที่ใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด แผ่นอนามัยช่วยให้สตรีรู้สึกสดชื่น และแห้งไม่ว่าจะเป็นวันใดในแต่ละเดือน
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 10 ) พ. ศ. 2535 เรื่อง ผ้าอนามัย กำหนดให้ผ้าอนามัยเป็นเครื่องสำอางควบคุมและจำแนกผ้าอนามัยออกเป็น2ประเภท
1. ผ้าอนามัยชนิดที่ใช้ภายนอก หมายความว่า ผ้าอนามัยที่ใช้รองรับเลือดประจำเดือน (ระดู) ซึ่งมิได้สอดใส่เข้าในช่องคลอด ในการผลิตต้องผ่านการทำให้สะอาด และถูกสุขลักษณะมีคุณสมบัติทางจุลชีววิทยา ตามมาตรฐานที่กำหนดดังนี้ แบคทีเรียทั้งหมด น้อยกว่า 1000 โคโลนี/กรัม ยีสต์และรา น้อยกว่า 100 โคโลนี/กรัม ปรีซัมป์ตีฟ โคลิฟอร์ม น้อยกว่า 100 โคโลนี/กรัม ฟีคัลโคไลต้องไม่พบ
2. ผ้าอนามัยชนิดสอด หมายความว่า ผ้าอนามัยที่ใช้สอดใส่เข้าในช่องคลอด เพื่อดูดซับเลือดประจำเดือน (ระดู) ในการผลิตต้องผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และระบุคำว่า ปลอดเชื้อไว้ในฉลากอาการข้างเคียงจากการใช้ผ้าอนามัย ผิวหนังอักเสบ (dermatitis หรือที่เรียกกันว่า eczema) คือการระคายเคืองของผิวหนังสังเกตจำผิวหนังมีสีแดง ตกสะเก็ด บางทีผิวแตก หรือเป็นตุ่มพอง มักมีอาการคันอย่างรุนแรง แต่การเกาทำให้เกิดอันตรายต่อผิวที่เปราะบาง และทำให้ขยายลุกลามมากขึ้น
ผิวหนังอักเสบเนื่องจากการสัมผัส (contact dermatitis associated with the use of sanitary napkins) มีรายงานในวารสารสมาคมการแพทย์ของประเทศแคนาดา ในปี 1996 จากการติดตามระหว่าง กันยายน 1991 และสิงหาคม 1994 ที่กรุงมอนทรีออล ในคนไข้หญิงที่มีอาการคันหรือแสบไหม้ บริเวณที่สัมผัสกับผ้าอนามัยยี่ห้อหนึ่งโดยเกิดขึ้นอย่างน้อย 1 วัน หลังจากเริ่มใช้ผ้าอนามัย และอาการหายไปภายในไม่เกินกว่า 5 วัน หลังจากใช้ผ้าอนามัย
พบคนไข้หญิง 28 คน มีอาการคันอวัยวะเพศและแสบไหม้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดผื่นจากผิวหนังอักเสบจากการสัมผัส หลังจากใช้ผ้าอนามัย คนไข้หญิง 26 คน รายงานว่าอาการดังกล่าวหายไป หลังจากหยุดใช้ผ้าอนามัยยี่ห้อนั้น และมีคนไข้หญิง 7 คน ที่กลับมาใช้ผ้าอนามัยยี่ห้อเดิมเกิดอาการระคายเคืองอวัยวะเพศคำแนะนำการใช้ผ้าอนามัย1.เวลาซื้อควรดูลักษณะของภาชนะบรรจุควรปิดสนิทและไม่มีกลิ่นอับชื้น
2. เมื่อเปิดใช้แล้ว ควรปิดกล่องหรือภาชนะบรรจุให้เรียบร้อย เก็บไว้ในที่มิดชิดเพื่อป้องกันฝุ่นและแมลงผ้าอนามัยที่เปิดกล่องใช้เหลือเก็บไว้นานๆไม่ควรเอามาใช้
3. ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแต่ละชิ้นนานเกินควร (ประมาณ 8 ชั่วโมง) โดยเฉพาะผ้าอนามัยชนิดสอดต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่าลืมทิ้งไว้ในช่องคลอด อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเกิดกลุ่มอาการเป็นพิษ เนื่องจากได้รับสารพิษ (Toxin) จากเชื้อแบคทีเรียพวกสตาฟีโลคอคคัส (Staphylococcus spp.) มีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เรียกกลุ่มอาการนี้ว่าทอกซิคชอคซินโดรม(ToxicShockSyndrome)
4. เมื่อใช้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น แพ้ คัน หรือ เกิดการระคายเคือง ควรเปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่นผ้าอนามัย คือแผ่นที่ใช้ซับเลือดประจำเดือนของสตรี ลักษณะใช้แล้วทิ้ง มีรูปแบบการใช้งานตามแต่ละประเภท ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุที่มีความสามารถซึมซับของเหลวได้ดี มีความนุ่ม และห่อทับด้วยผ้าสำลี บางชนิดเพิ่มกลิ่นหอม เพื่อดับกลิ่นประจำเดือนด้วย

ในประเทศไทย ผ้าอนามัยถือว่าเป็นเครื่องสำอางควบคุมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2535 ประเภทของผ้าอนามัยผ้าอนามัยแบบใช้ภายนอก (maxi pad)แบบแผ่นหนา แบ่งตามขนาดมี 3 แบบ คือ แบบปกติ แบบพิเศษ และแบบสำหรับกลางคืน ซึ่งบางยี่ห้อเพิ่มแบบมีปีกเพื่อป้องกันการซึมเปื้อนด้านข้าง แบ่งตามลักษณะใช้งาน 3 แบบ คือ แบบมีห่วง แบบแถบปลาย และแบบแถบกาวแบบแผ่นบาง นิยมในกลุ่มวัยรุ่น หรือใช้เมื่อใส่ชุดรัดรูป

ผ้าอนามัยแบบสอด  เวลาใช้ผ้าอนามัยชนิดนี้จะต้องสอดเข้าช่องคลอด ผ้าอนามัยชนิดนี้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เหมาะสำหรับใช้ในบางโอกาสเท่านั้น เช่น ใช้เมื่อแข่งขันว่ายน้ำ เป็นต้น จึงยังไม่ค่อยแพร่หลาย

ผ้าอนามัยสมุนไพร บิวตี้ คอมฟอร์ท  ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ 100% คุณจึงสัมผัสได้ถึงความนุ่มสบาย ปลอดภัย ไม่ระคายเคือง สวมใส่แนบกระชับ แผ่นใยซึมซับดีเยี่ยมไร้การซึมเปื้อนด้านข้าง แม้ในวันมามากหรือ ในขณะนอนหลับ และสัมผัสได้ถึงความสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพร ให้ความมั่นใจในทุกอิริยาบท ช่วยขจัดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าวันไหน ๆ คุณจึงมั่นใจได้เต็มร้อย ผ้าอนามัยสมุนไพร บิวตี้ คอมฟอร์ท ผ้าอนามัย ที่คุณผู้หญิงต้องเลือก

                                     
หมายเลขบันทึก: 541072เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 20:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท