ผ่านมา 79 ปี จากโรงเรียนสู่มหาวิทยาลัย


...จากโรงเรียน - วิทยาลัยครู - สถาบันราชภัฏ - มกาวิทยาลัยราชภัฏ ......


            " เจ็ดสิบเก้าก้าวย่างอย่างคงมั่น   ผ่านคืนวันฝึกหัดครูสู่วันใหม่  

               วิทยาลัยครูยะลาก้าวมาไกล   จงร่วมใจสืบทอดปณิธาน "

                             (บันทึกไว้ในห้องเรียน 20-605 โดย : กฤษฎา กุณฑล)

------------------------------------------------------------------------------------------------

วันนี้เมื่อ 79 ปีที่แล้ว เป็นวันก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครู 

     ถึงแม้จะมาทำงานที่สถาบันแห่งหนึ่งได้เพียง 19 ปี แต่ก็ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ในช่วงหนึ่งจากวิทยาลัยครูยะลา - สถาบันราชภัฏยะลา - มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามลำดับ ความเปลี่ยนแปลงมีหลายหลากทั้งบุคลากรและอาคารสถานที่  ที่เห็นได้ชัดเจนคือ อาคารสถานที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย 

-- ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มากมาย แต่เรายังคงทำงานตามภารกิจเพื่อช่วยพัฒนาเด็กๆในพื้นที่ให้มีความรู้ ปรับปรุงความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นแค่นี้ก็พอ--   


ประวัติมหาวิทยาลัย. 

           มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เดิมเป็นโรงเรียนอาชีพประจำจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 ที่หมู่บ้านมลายูบางกอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเป็นผู้ตั้ง ใช้เงินศึกษาพลี (เงินศึกษาพลี เป็นเงินที่รัฐเก็บจากชายไทยอายุ 18 – 60 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา) เป็นค่าก่อสร้างสถานที่เป็นเงิน 2,000 บาท ดำรงโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาพุทธศักราช 2464 สอนชั้นประถมปีที่ 4 และประโยคประถมบริบูรณ์ คือชั้นประถมปีที่ 6 ในสมัยนั้น วันที่ 17 พฤษภาคม 2478 ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ข้างวัดพุทธภูมิ คือ ส่วนของบริเวณที่เป็นโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจังหวัดยะลาขณะนี้ การย้ายโรงเรียนครั้งนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่าตั้งโรงเรียนเดิม คือที่มลายูบางกอกเป็นเนินสูง ไม่เหมาะแก่การฝึกหัดภาคปฏิบัติ คือการทำสวนปลูกผักในสมัยนั้น พระภูมิพิชัย เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด

พ.ศ. 2477 จัดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นต้นปีที่ 1-2

พ.ศ. 2504 โรงเรียนฝึกหัดครูยะลา ได้ย้ายมาจากศาลากลางเก่าที่สะเตง มาอยู่ที่ปัจจุบันได้ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง หอนอน 1 หลัง และโรงอาหารชั่วคราว 1 หลัง และยังใช้สถานที่เดิมอยู่ด้วยเพราะสถานที่สร้างใหม่ไม่เพียงพอ ที่สถานที่ปัจจุบันนี้ ฯ พณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแผนผังของสถาบันราชภัฏไว้ไห้ ตั้งแต่เมื่อแรกที่ได้ที่ดินมาดำเนินการก่อสร้าง

พ.ศ. 2505 กรมการฝึกหัดครู ประกาศยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูยะลาเป็นวิทยาลัยครูยะลาและในปีการศึกษา 2506 ได้เปิดชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงเป็นรุ่นแรก และขยายการเปิดสอนชั้น ปกศ. ชั้นสูง วิชาเอกต่างๆ ต่่อมา

พ.ศ. 2518 " ทำให้วิทยาลัยครูทั่วประเทศสามารถเปิดสอนถึงระดับปริญญา วิทยาลัยครูภัฏยะลาได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีรุ่นแรก บังคับวิชาเอกภาษาอังกฤษและวิชาโทภาษาไทยและได้เปิดสอนมาถึงปัจจุบันเป็นจำนวนหลายวิชาเอก และวิชาโท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2527

พ.ศ. 2535 เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญาสาขาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) โปรแกรมวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ โปรแกรมวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานนามสถาบันว่า "สถาบันราชภัฏ" แทนวิทยาลัยครู จึงถือเอา วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันราชภัฏ" สืบต่อมา วันที่ 24 มกราคม 2538 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 4 ก. "พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ" พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูยะลาจึงมีนามใหม่ว่า "สถาบันราชภัฏยะลา" ซึ่งทำให้สถาบันฯ สามารถเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี

 พ.ศ. 2548 จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาแทนสถาบันราชภัฏยะลา และรับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 20 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2548 นอกจากนี้ยังได้จัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา

(ส่วนหนึ่งจากประวัติมหาวิทยาลัย. http://www.yru.ac.th/web54/content/detail/1/2)

- - บันทึกเพื่อรำลึกถึงปณิธาน อุดมการณ์แห่งมหาวิทยาลัย - - 

หมายเลขบันทึก: 541066เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 18:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2013 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท