ต้นไม้คือชีวิตและสุขภาวะทางจิตวิญญาณ


ขอขอบคุณเครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำสุขภาวะ หรือ คศน. ที่สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับดร.ป๊อป และผู้นำสุขภาวะจากหลากหลายอาชีพ ประสบการณ์สร้างสุขภาวะ และนพลักษณ์ อีก 26 ท่าน ในหัวข้อ เรียนรู้นิเวศ - วัฒนธรรมชุมชน เข้าใจตัวตนและเพื่อนมนุษย์ ระหว่างวันที่ 15 - 23 มิถุนายน 2556

เมืองบ่ตาย คือ เมืองแพร่ ที่มีการสร้างความสัมพันธ์และการขับเคลื่อนของคนผ่านเรื่องราวของผี โดยไม่ต้องถามที่มาของผี ตลอดจนมีนิทานของยักษ์นาม "ปู่ระหึ่ง" ที่ไถนาด้วยช้าง แล้วสาปช้างเป็นเขา ควักขึ้หูเป็นน้ำ หุงข้าวบนหินสามเส้า ทั้งนี้พบว่า เมืองแพร่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 700 ปี โดยเฉพาะ "ระบบการจัดการน้ำ ทำให้น้ำในแม่น้ำยมไม่ขึ้นมาท่วมคูเมือง เพราะมีการทำฝายกระจายน้ำโดยรอบเมืองและมีการทำกำแพงเมืองโดยรอบที่มีความสูงพอเหมาะ" 


จะเห็นได้จากการสร้างอาคารแบ่งน้ำ ในปี พ.ศ. 2485 เกิดการแบ่ง 3 ลำน้ำไปสู่การใช้น้ำใน 8 ตำบล ซึ่งแต่ละตำบลมีแนวคิดของการสร้างฝายที่ช่วยกระจายน้ำสู่การเกษตรท้องถิ่น รวมทั้งยังสืบทอดพิธีเลี้ยงผีคูน้ำ มีคัมภีร์น้ำ มีการสร้างอ่างพวง และมีการจัดสรรโฉนดชุมชน ที่ทำให้ชาวบ้านแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความเป็นเจ้าของแหล่งน้ำร่วมกันมาช้านาน ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตที่งอกงามด้วยสัปปุริสธรรม 7 ที่ชาวบ้านเข้าใจตนเอง แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้กลับไปเชื่อมโยงในบริบทของตน ถือเป็นทุนทางสังคมที่ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง

แต่แล้วอำนาจของรัฐก็แทรกแซงให้ระบบการจัดการน้ำของเมืองแพร่เสียหายไม่น้อย มีการทำลายกำแพงเมืองมาทำถนน มีนโยบายการสร้างเขื่อนแ่ก่งเสื้อเต้น (ที่จะทำลายป่าสักทอง ทำลายพื้นที่อาศัย และเกิดปัญหาำน้ำท่วม) และมีการจัดสรรระบบสุขภาพชุมชนที่ไม่พอเหมาะ (ระบบสุขภาพชุมชนมีวัฒนธรรมของผีและพ่ออาจารย์สู่ขวัญ แต่ทีมงานรพ.สต.ต้องทำงานอย่างหนักและมีจำนวนไม่พอเพียงต่อจำนวนประชากรหมู่บ้าน) ฯลฯ 

ผมได้เรียนรู้จาก อ.โกมาตร ถึง "สิ่งที่เป็นนามธรรมของสถาบันในชุมชนที่ควรสืบทอดและอนุรักษ์เพื่อการเติบโตของคนรุ่นต่อๆไปของชุมชน ได้แก่ เครือญาติ เศรษฐกิจ การศึกษาเชิงวัฒนธรรมที่ประสบประสานกับการศึกษาเชิงเทคนิค (ความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ Vs ความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเร็วๆ) สภาวะผู้นำทางการเมือง (ภาคประชาชน กับ ภาครัฐ) ศาสนา และความสัมพันธ์องค์กร 

จะเห็นว่า "อำนาจรัฐพยายามทำงานในชุมชนอย่างล้มเหลว ซึ่ง อ.โกมาตร ได้ระบุว่า เป็นเหตุของมิจฉาทิฐิ" ไดแก่

  • มองชุมชนเป็นเสมือภาชนะว่าง มีปัญหาต้องการวิธีจัดการข้างนอก มองไม่เห็นสิ่งที่เป็นนามธรรมข้างต้น
  • มองชุมชนแยกเป็นส่วนๆ ขาดความเชื่อมโยง - จริงๆ ชุมชนมีศักยภาพ
  • มองชุมชนว่ามีกลไกอยู่อันเดียว - จริงๆ ชุมชนมีกลไกตามธรรมชาติที่สะสมมาจากประวัติศาสตร์
  • มองชุมชนทั้งหลายล้วนเหมือนกัน เป็นนโยบายรวมศูนย์ของรัฐ 

ผมเชิญชวนพี่น้องคนไทยลองพิจารณาความเชื่อมโยงที่ชุมชนมีศักยภาพตามธรรมชาติในการ "บวชป่า" และมีประวัติศาสตร์ของการทำเกษตรกรรมที่ผสมผสานกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ ตั้งแต่อ.บ้านนาหลวง อ.สระเอี่ยม และอ.อาข่า แต่เป็นการรวมกลุ่มรักษาป่าสักทองที่มุ่งมั่นกลุ่มหนึ่งที่ต้องการให้รัฐทำในสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งคนเมืองแพร่ทุกคนต้องช่วยกันรักษาป่าสักทองร่วมกันคนในอำเภออื่นๆด้วยเช่นเดียวกับ "เครือข่ายรักเมืองแพร่" ทุกคน


รูปภาพ 1 แสดง ความรักในป่าสักทองที่เชื่อมโยงกับศาสนาในการทำพิธีบวชป่า-ครั้งหนึ่งในชีวิตของดร.ป๊อป-เมล็ดป่าสักทองที่ต้องใช้เวลาและสถานการณ์ไฟไหม้ป่าจนกว่าจะงอกงามเป็นต้นไม้ใหญ่

รูปภาพ 2 แสดง รูปแบบการทำนาผสมกับการทำไร่ข้าวโพด ที่เชื่อมโยงกับการรักษาพื้นป่าและน้ำของ ม.อาข่า - ม.บ้านาหลวง 

รูปภาพ 3 แสดง การบูชาผีป่าที่มีการทำเป็นลานเผาศพแบบโบราณและพิธีสืบชะตาของชาวบ้านที่สุดท้ายก็จะมากองไม้สามง่ามที่ต้นไม้ใหญ่ของหมู่บ้าน


รูปภาพ 4 แสดง อาคารแบ่งน้ำ-ภาพในเมืองที่มีการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่-ภาพชานเหมือนที่มีต้นไม้ร่มรื่นกับถนนคนเดิน

และบันทึกได้รับการถ่ายทอดที่ คศน. ด้วยความขอบคุณทีมงาน คศน. มากครับผม



หมายเลขบันทึก: 540959เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2013 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2013 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ปลูกป่าในหัวใจ ครับ

ขอบคุณประสบการณ์และเรื่องเล่าดี ๆ นะคะ

โอ พี่ดร.ป๊อบไป trip นี้เหรอครับ คน สรพ.ก็ไปด้วย คงได้เอาเรื่องราวคนกับชุมชนมากมายมายนะครับพี่..

ร่วมชื่นชม อ.ป๊อบ ด้วยคนคะ ^___^

ขอแสดงความชื่นชมด้วยอีกคนค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณหมอธิรัมภา คุณลูกหมูเต้นระบำ คุณ NewLeader คุณแมววิเชียรมาศ คุณชยพร และคุณยายธี 

สวัสดี น้องป็อป


ดีมากเลย หลายเรื่องพี่จำไม่ได้ มาอ่านที่ป็อปเขียน เลยจำได้ ชอบค่ะ

บทความนี้ได้ถูกถ่ายทอดใน http://www.wasi.or.th/wasi/index.php?page=link_news&group_=04&code=01&menu=5-0&idHot_new=157


ขอบคุณมากครับสำหรับทีมงาน คศน. 

ขอบคุณมากครับคุณกานดาน้ำมันมะพร้าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท