อาหารเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน


เว็บไซต์ อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง 'เนื้อแดงเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน (ชนิดที่ 2)', ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ภาพที่ 1: อาการที่พบบ่อยในเบาหวาน = เหนื่อยง่าย ปัสสาวะ (ฉี่) บ่อย, หิวบ่อย นกเขาไม่ขัน น้ำหนักลด แผลหายช้า(ช้ากว่า 2 สัปดาห์ หรือติดเชื้อง่าย), ตกขาว หรือเป็นโรคเชื้อราบริเวณใกล้ช่องคลอด, มือเท้าชาหรือเจ็บแปล๊บๆ, หิวน้ำบ่อย, มองเห็นไม่ชัด (จากเดิมเห็นชัด)

เบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งพบบ่อยในผู้ใหญ่-เด็กอ้วน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการชัดเจน

กว่าจะมีอาการชัดเจนก็มักจะมีโรคแทรก เช่น แผลเท้าเบาหวาน ไตเสื่อม-ไตวาย ตาเสื่อม-ตาบอด ฯลฯ แล้ว

ภาพที่ 2: อังกฤษรณรงค์ให้คนจำอาการที่พบบ่อยในเบาหวานชนิดที่ 1 ในรูป '4T'

โรคนี้พบมากในเด็กผอม-ผู้ใหญ่อายุน้อย (น้อยกว่า 30 ปี) ซึ่งอาจมาด้วยอาการช็อค ได้แก่

  • Toilet = ห้องน้ำ = ฉี่บ่อย ปัสสาวะบ่อย
  • Thirsty = หิวน้ำบ่อย
  • Tired = เหนื่อยง่าย
  • Thinner = ผอมลง

ภาพที่ 3: อาการเบาหวานที่พบบ่อยได้แก่ รู้สึกไม่สบาย เหนื่อยง่าย ฉี่หรือปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย

ภาพที่ 4: อวัยวะที่เบาหวานชอบโจมตี หรือทำให้เกิดโรคแทรก

ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้จำเป็นคำคล้องจองกันว่า "หัว-หัวใจ-ไต-ตา-ตีน"

  • หัว > หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อม
  • หัวใจ > หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • ไต > ไตเสื่อม ไตวาย
  • ตา > ตาเสื่อม ตาบอด
  • ตีน > เท้าชา ขาดเลือด  เป็นแผลง่าย ติดเชื้อง่าย (เป็นโรคแผลเท้าเบาหวาน)

การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่าง 149,000 คน ติดตามไป 4 ปี

ผลการศึกษาพบว่า การกินเนื้อแดง หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น แพะ แกะ วัว หมู ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นเบาหวานที่พบในผู้ใหญ่-เด็กอ้วน = 48%

ถ้ากินไปด้วย น้ำหนักขึ้นด้วย, ความเสี่ยงจะสูงกว่านั้น (มากกว่า 48%)

ตรงกันข้าม, ถ้าลดเนื้อแดงลงครึ่งหนึ่ง จะลดเสี่ยงโรคเบาหวานลง = 14% (เทียบกับคนที่ไม่ลดเนื้อแดง)

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินเนื้อแดงเพิ่มเสี่ยงเบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็ง

คนอเมริกันกินเนื้อแดง = 75.3 กก./ปี = 210 กรัม/วัน = 2.1 ขีด/วัน ทำให้มีโอกาสได้รับกรดไขมันอิ่มตัว และสารอื่นๆ ในเนื้อแดง เช่น ธาตุเหล็ก ฯลฯ มากเกินพอดี

การศึกษาเร็วๆ นี้พบว่า แบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนสารอาหารในเนื้อแดงเป็นสาร TMAO

สารนี้ทำให้หลอดเลือดสัตว์ทดลองบาดเจ็บ เกิดเป็นรูขนาดเล็ก ทำให้โคเลสเตอรอลรั่วซึมออกจากเส้นเลือดไปสะสมเป็นคราบไขที่ผนังหลอดเลือดได้เร็วขึ้น เกิดการอักเสบ หลอดเลือดบวม และตีบตันได้ง่ายขึ้น

 

ถ้าชอบเนื้อ, การลดเนื้อลงอย่างน้อย 1/2 ลดเสี่ยงได้

การกินโปรตีนจาก "ข้าว-ถั่ว-งา" โดยเปลี่ยนข้าวขาวเป็นข้าวกล้องสีน้ำตาล-แดง, หรือขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีท (เติมรำสีน้ำตาล), กินถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร และเมล็ดพืช เช่น งา อัลมอนด์ ฯลฯ หลายๆ อย่างปนกันในมื้อเดียวช่วยได้มาก

การไม่กินเนื้อทุกวัน เพื่อป้องกันแบคทีเรียที่ชอบย่อยสลายเนื้อเพิ่มจำนวนมาก น่าจะช่วยได้

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                                 


Thank Dr.Gabe Mirkin > source > JAMA Intern Med, published online June 17, 2013.

บทความนี้เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ-ป้องกันโรค, ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค

ท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

ยินดีให้ท่านนำบทความนี้ไปใช้ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต > CC: BY-NC-SA

นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์

 

หมายเลขบันทึก: 540508เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2013 17:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท