สิรภัทร
สิรภัทร จิตตะมาลา ลิ่มไพบูลย์

“โครงการอัตลักษณ์ท่าศาลาเชิงบูรณาการ” จังหวัดนครศรีธรรมราช (ภาค 27 : หารือกับผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช)


ชนบท คือ Save Server ของโลกปัจจุบันและอนาคต มาร่วมมือกันฉันท์พี่น้องไทยกันเถิด

             วันนี้ 25/มิ.ย./2556    สุมีนัดกับผู้นำศาสนาอิสลาม 2 ท่าน คือ ท่านกรียา กิจจารักษ์(ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย) และท่านเอกชัย ดารากัย(ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช) ณ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช

             แต่บรรยากาศก่อนพบกับผู้หลักใหญ่ทั้ง 2 ท่าน ขอนำเสนอสถานที่แวะ 2 จุด คือ 1) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช(แวะส่งลูกชายไปเรียน พร้อมหารือคุณครูเรื่องขอให้ช่วยแก้ปัญหาการแบกกระเป๋านักเรียนที่หนักมากๆขึ้นอาคารเรียนชั้น 3 ซึ่งคุณครูรับปากแม่สุจะจัดหาล็อกเกอร์เก็บของให้ แม่สุต้องขอขอบคุณมากค่ะ) 2)แวะโขลกส้มตำและถ่ายรูปกับแมวเหมียว ร้านน้องจารุวรรณ โต๊ะระเด็น/น้องอารยา โต๊ะเด็น  ณ บริเวณสี่แยกวัดโหนด จากนั้นจึงมุ่งตรงไปพบกับผู้หลักผู้ใหญ่ทั้ง 2 ท่าน (ท่านกรียาฯ และท่านเอกชัยฯ)

                              

                         ภาพ 1 : กระเป๋าหนักอย่างนี้ ตัวเล็กอย่างนี้ แบกขึ้นชั้น3 แก้ไขแล้วค่ะ

                              

                ภาพ 2 : บรรยากาศสถานศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษาที่ร่มรื่นแห่งหนึ่งของ จ.นครศรีธรรมราช

                                

                            ภาพ 3 : แม่สุกับแม่แมวและลูกแมว   ณ บริเวณ ต.โพธิ์ทอง สี่แยกวัดโหนด อ.ท่าศาลา

 

                               

                                                     ภาพ 4 : ส้มตำมืออาชีพ  รสชาติกดไลค์  

                                        ณ ข้างร้านสุบรรณก็อบปี้ บริเวณ ต.โพธิ์ทอง สี่แยกวัดโหนด อ.ท่าศาลา

                ท่านทั้งสองกรุณาปรับ KPI โครงการฯ 3 หมวด ได้แก่ 1) หมวดประชาชน : การมีส่วนร่วม/ความรู้สึกเป็นเจ้าของ/ความรู้สึกมีส่วนได้รับประโยชน์ 2) หมวดที่มาของทุน : ทุนสติปัญญา/ทุนเงินตรา 3) หมวดผู้บริหารจัดการกระบวนการ : ความน่าเชื่อถือ/โปร่งใสไม่หาประโยชน์เข้าตน 4)หมวดผู้ประกอบการ : ความเหนือกว่าการขายสินค้า/ความสามารถผูกโยงระบบ

                              

                                    ภาพ 5 : ท่านกรียา กิจจารักษ์ และท่านเอกชัย ดารากัย


                           

                                   ภาพ 6 : สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช 

                                                       ตั้งอยู่ ณ โรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ

              ในส่วนของห้างสรรพสินค้าความร่วมมือชุมชนท่าศาลา(TACS) ให้ปรับขั้นตอนดังนี้ 1) ตกผลึกผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ทุกรายการให้มีผลการวิเคราะห์จากสถาบันการศึกษา การยื่นขอฮาราล การยื่นขอรับรองคุณภาพ อาทิ มผช. อย. (เสนอสินค้ากลุ่มสตรี จ.นครศรีธรรมราช งบพัฒนาสตรีปีงบประมาณ 2556 120 มัสยิด x 10 คน และสินค้าตามรายชื่อโรงงาน/บริษัทของ จ.นครศรีธรรมราช 26 โรงงาน/บริษัทเข้าร่วมในนามแบรนด์ TACS โดยอาจคัดเลือกเฉพาะของอำเภอท่าศาลานำร่องก่อน) 2)หารือหน่วยงานสนับสนุนทุนให้ปรับบุคลิกงานจากมุ่งสอนการผลิตสินค้าชุมชน มาเป็นการยกระดับและรับรองสินค้าชุมชน 3) จัดประชาสัมพันธ์สินค้าทางเลือก (ปลอดภัย/อุดหนุนพลิกฟื้นชีวิตชุมชน/โปร่งใส  มีกำไรและความภาคภูมิใจคืนสู่ชุมชน) จัดกระบวนการสู่กิจกรรมท่องเที่ยวนครศรีธรรมราช-ท่าศาลาต่อไป

               ทั้งนี้ ทั้ง 2 ท่านเตือนสติไว้ว่า “เมื่อถึงจุด TACS สินค้าขายดิบขายดี ต้องอย่าเอาทุกเรื่องให้ยึดหลัก สินค้าผ่านการคัดกรองจากโครงการฯ สมาชิกอุดมการณ์เดียวกัน เปิดโอกาสผู้ประกอบการหลากหลาย รวมเป็นหนึ่งเดียว” “บริหารจัดการให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ มีระบบควบคุมปริมาณสินค้า”

                            

                                   ภาพ : 7  ขนมจากคุณลุงทั้ง 2 ท่าน เกือบหมดค่ะ (อร่อยจังเลย)

               ท่านทั้งสองกล่าวให้กำลังใจว่า ตามทะเบียนสัปปุรุสของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีพี่น้องมุสลิมใน จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 120,000 คน(หนึ่งแสนสองหมื่นคน) จะมาเป็นแนวร่วมผลักดันโครงการฯนี้ และกล่าวถึงคราบน้ำตาในหัวใจคนชนบทว่า “ผลิตภัณฑ์ชาวบ้านนั้นฝีมือดี  แต่พวกเราขาดโอกาส ไม่ว่าจะคือ ทุน – การส่งเสริมที่ไม่หลงทาง - สถานที่จำหน่าย  ชาวบ้านรู้สึกคลุมเครือทุกครั้งที่กำลังเริ่มลงมือทำสิ่งที่ใด ไม่รู้จะขายได้หรือเปล่า จะพอกินพอเลี้ยงลูกหรือไม่?...”

               ท่านกล่าวตัวอย่างใกล้ตัวไว้ว่า “ตัวอย่างง่ายที่สุด คือ ไก่ทอดขมิ้นหายไปไหน? ไก่ทอดพริกไทยหายไปไหน? ทุกวันนี้ยกย่องสินค้าตะวันตก คนไทยเฮกันไปบอกว่าเป็นของใหม่จาก KFC  ใส่ผงปรุงรสเสียสุขภาพแต่คนไทยก็ไหลเข้าไป  เงินก็ไหลออกต่างประเทศ ” “ขอให้ TACS ออกอะไรมาทดแทน ให้เอาความคิด สิ่งปฏิบัติดีๆ ของคนรุ่นก่อนในอดีตมาต่อยอดให้ได้  มาร่วมกันพาองคาพยพมาตกผลึก ร่วมประโยชน์ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ”

                “เราไม่ได้คิดแข่งห้างฯ แต่เราจะสร้างทางเลือกที่มาจากเราคิดเอง เราทำเอง เรากินเอง ใช้จ่ายเอง ช่วยกันรณรงค์ที่มาที่ไปชัดเจน” ต่อไป TACS จะไม่เป็นเพียงที่ขายของเพราะเราจะเป็นแหล่งวิชาการ อาทิ แหล่งอธิบายสรรพคุณสมุนไพรพื้นบ้าน  ความรู้ด้านสุขภาพ แหล่งเข้าถึงกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/ของฝาก  แหล่งอธิบายวิถีชีวิตได้ทั้งมุมเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม การเมือง การศึกษา ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม (สิ่งที่กล่าวมานี้ไหลลื่นจากผู้นำทั้ง 2 ชีวิต)

                สาระดีๆจากผู้บริหารระดับสูงของพี่น้องมุสลิมจังหวัดนครศรีรรมราชยังไม่จบ สุค่อยนำมาพูดคุยสรรสร้างบรรยากาศเมืองท่าศาลและเมืองต่างๆของ จ. นครศรีรรมราช ในโอกาสใหม่ พี่น้องที่อ่านทุกท่านคงมีคำตอบลึกๆในใจแล้วสิค่ะว่าเหตุผลใดที่ควรต้องเลือกมาเยือนที่นี่..... ที่นครศรีรรมราช และอย่าลืมต่อเส้นทางอีกนิดหนึ่งมาเยือนท่าศาลาด้วยนะคะ


              "TACS - Thasala Associated Community Superstore ฝันก้าวสู่ Thailand Associated Community Superstore  และสู่ Total Asean Community Superstore" โปรดช่วยแนะนำสิ่งดีๆในการพัฒนางานเพื่อคนท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 540505เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2013 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2013 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมากพี่น้องมุสลิมเข้มแข็งมากเลยนะครับ

เป็นกำลังใจให้กิจกรรมดีๆนี้ครับ ขอชื่นชม

น้องกระเป๋าหนักถึงตัวเอียงเลยนะครับ..

ตัวเอียงทุกวันจริงๆ หรือโลกนี้มันเอียงหนอ ขอบคุณพี่ทั้งสองมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท