CANCER STORIES: FIVE ตอนห้า Pearl


PEARL

ประพันธ์โดย Deirdre O'Connor กำกับโดย Patty Jenkins

 


Synopsis: ตอนสุดท้ายของภาพยนต์ series FIVE เป็นเรื่องของหนูน้อย Pearl ที่ปรากฏตัวมาในตอนที่หนึ่ง Charlotte และได้เติบโตขึ้นมาเป็นหมอสาขามะเร็งวิทยา (Oncologist) ชีวิตของ pearl นั้นได้ประสบการณ์ตรงว่ามะเร็งนำอะไรมาสู้ชีวิตคนตั้งแต่เธอยังเล็กๆ เพราะมะเร็งเต้านมพรากแม่ของเธอไป pearl เติบโตขึ้นอย่างมี life mission ว่ามะเร็งจะเป็นสิ่งที่เธอสมัครใจเผชิญกับมันทุกวัน และจะอยู่ร่วมเผชิญกับคนอื่นๆ ในฐานะที่เธอจะทำอะไรสักอย่างกับมัน เพื่อที่อาจจะทำให้คนอีกหลายๆคน อยู่กับมะนได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งอย่างมีความสุขได้พอสมควรทีเดียว

จากงานประจำของเธอ ทำให้หลายครั้งที่เธอมีโอกาส "จินตภาพ" ว่าสักวันหนึ่งตัวเธอเองอาจจะต้อง "เจอ" อย่างที่คนไข่้ของเธอเจอ แม้ว่าเธอจะได้ตรวจเช็ค gene และพบว่าเธอไม่มี gene ที่เสี่ยงมะเร็งเต้านมก็ตาม จนวันหนึ่ง วันที่เธอและใครๆไม่อยากจะให้มาถึง เธอก็ได้รับสภาพความเป็นจริงอันโหดร้ายว่า เธอตกเป็นหนึ่งในแปดของผูํ้หญิงอเมริกันที่ต้องใช้ชีวิตที่เหลือกับโรคร้ายนี้

Pearl พกพา "หมวก" หลายใบในการเผขิญหน้ากับมะเร็งเต้านม เพราะเธอเคยเป็น victim ผู้สูญเสียแม่ไปกับมะเร็งเต้านม เธอทำงานเป็น หมอ ผู้ดูแลมะเร็งเต้านมในระยะต่างๆมากมาย ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ระยะที่ต้องให้เคมีบำบัด ต้องฉายรังสีรักษา เธอเป็น "ลูกสาว" ที่ต้องดูแลพ่อที่สูญเสียภรรยาไปกับมะเร็งเต้านม แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็มี conflict มีข้อกังขากับสิ่งที่พ่อทำกับเธอมาทั้งชีวิต คือการไม่ยอมพูดถึงแม่ของเธอเลย ไม่เคยพูดเรื่องแม่รู้สึกยังไง แม่พูดว่าอะไรบ้าง แม่เป็นยังไง พ่อคิดถึงแม่บ้างรึเปล่า และในความทรงจำอันลางเลือน แม่เป็นคนยังไง แม่ทำให้ชีวิตของพ่อเป็นเช่นไรบ้าง? และบทบาทสุดท้ายที่ pearl ต้องเล่นก็เป็นบทบาทที่สำคัญที่สุด เมื่อเธอเองกลายเป็นคนไข้มะเร็ง และอย่างที่หมอประจำตัวเธอพูดอย่างกังวลว่า เธอจะเป็น "คนไข้มะเร็งที่เป็นหมอมะเร็ง" ด้วยไหม (ซึ่งในวงการจะรับทราบดีว่า ในบรรดาคนไข้เจ้าปัญหาทั้งหมดนั้น ไม่มีใครจะเล่นบทนี้ได้ดีเท่ากับเมื่อหมอจะเล่นเป็นคนไข้เจ้าปัญหาเสียเอง)

จากประสบการณ์ตรงของ pearl ตอนเด็ก การพูดเรื่องมะเร็งกับคนไข้ เป็น issue สำหรับเธอมาตลอด เธอตั้งใจไว้เสมอว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ "ต้องพูด" เพราะเธอเคยถูกปฏิเสธมาแล้วครั้งหนึ่งในชีวิตกับตัวเธอเอง ยิ่งตอนที่เธอทราบข่าว เธอก็ไปหาพ่อของเธอเพื่อที่จะบอกข่าวร้าย pearl ใช้เวลาพักหนึ่งกับกล่องข้าวของเก่าที่เธอยังเก็บภาพวาดที่เธอวาดให้แม่ของเธอก่อนตาย ในกล่องซึ่งไม่เหลือร่องรอยอะไรมากนักที่จเชื่อมโยงเธอกลับไปหาแม่ของเธอ เธอได้ขอให้พ่อของเธอเล่าให้เธอฟังอีกสักครั้งเกี่ยวกับแม่ของเธอ และพ่อของเธอก็ยังปฏิเสธอยู่ดีที่จะพูดถึงเรื่องนี้

ด่านสำคัญอีกด่านก็คือ pearl จะต้องบอกข่าวร้ายนี้ให้กับลูกสาวของเธอเอง ซึ่งรูปร่างหน้าตาเด็กที่เลือกมานั้น cast ตัวละครได้ดีมาก (ดีมากทุกตัวเลยทีเดียว) pearl ได้พยายามซักซ้อมการบอกข่าวกับสามีของเธอ หลายรอบ หลายแบบ แต่ละแบบไม่ได้ทำให้ง่ายกว่ากันสักเท่าไหร่เลย อย่างช้าๆ pearl ถึงเริ่มเข้าใจด้วยตนเองว่า ทำไมการบอกข่าวร้ายว่าแม่เป็นมะเร็งกับลูกนั้น มันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เมื่อต้องทำด้วยตัวเอง เมื่อ pearl มองเข้าไปในดวงตาของลูกสาว อายุประมาณ 7-8 ขวบ ที่มองตรงกลับมาหาแม่ คำพูดที่ pearl เตรียมไว้ว่าจะบอกว่าอย่างไรมันหายไปหมด pearl วิ่งออกมาจากห้อง คร่ำครวญกับสามีของเธอ พูดซ้ำๆเพียงคำว่า

"I can't do it. I can't do it. I know I am her mother. I am supposed to make this OK. I look at her face. There are no words! There are no words! There are no words!."

ในทางการแพทย์ เราจัดการเรียนการสอนให้กับแพทย์ บอกวิธีการแจ้งข่าวร้าย มีหลักวิชา มีเหตุผลรองรับมากมาย ว่าเราต้องทำยังงั้น ทำยังงี้ คนไข้จะเป็นยังงั้นต้องทำยังไง คนไข้เป็นยังงี้ต้องทำยังไง บางครั้งถึงขนาดเป็นพันธกิจว่า เราจะ "ต้อง" แจ้งความจริง เพราะความจริงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ฉันรู้ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ฯลฯ

แต่ถ้าหากแพทย์ไม่ทราบว่า เวลาทำจริงๆนั้น มันจะมีอะไรที่ "มากกว่า​" สิ่งที่ดี เหมาะสมที่สุด เกิดขึ้นไปคู่ขนานกันด้วย นั้นคือ "ความจริง หรือ สัจจธรรม" ว่า อะไรบ้างที่สำคัญต่อชีวิตของเรา และเราได้เตรียมตัวมาแค่ไหน ในการที่จะพูดถึงการพรากจากสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อชีวิตของเรา" ณ วินาทีนั้น เราอาจจะถูก "จับได้ caught it" คาหนังคาเขาว่า เราไม่ได้เคยใช้เวลาที่ผ่านมา เตรียมตัวในเรื่องนี้เลย และข้อสำคัญก็คือ เราอาจจะพบว่า "เราเองก็ไม่ได้พร้อมที่จะทำเรืี่องนี้"

ในภาพยนต์เรื่องนี้ สิ่งหนึ่งที่ผมชอบมากที่สุดคือ ความจริงที่ว่ามีหลายด้าน หลายมุม และหลายความคิด สำหรับเรื่องทุกเรื่อง มากจนถึงขนาดที่ว่า เราคงจะหา "มาตรฐาน" อะไรที่ใช้สำหรับทกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เอาเลยทีเดียว และหากจะใช้ ก็ต้องใช้ด้วยความ sensitive ระมัดระวังอย่างที่สุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเอามาเป็นเรื่องเป็นราว เช่น เอามาใช้ประเมิน ใช้วัด ใช้ตีคุณค่ากัน ยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เอาแค่เรื่องเบื้องต้น การแถลงแจ้งข่าวร้าย หรือการบอกความจริง มันก็ไม่ได้เรียบง่ายตรงไปตรงมาอย่างที่เขียนไว้ในตำรา เอาแค่เราต้องเคารพใน autonomy ของคนไข้ แต่จริงๆแล้ว ณ เวลานั้น คนไข้อาจจะได้รับผลดีกว่าหากอนุญาตให้พลังงาน แหล่งต้นทุนความสุขอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย

ในฉากสุดท้าย เป็นงายเฉลิมฉลอง Kiss The Wall ของ Pearl วงชุมชนเล็กๆแบบนี้ คือ warriors ที่ต่างก็มาให้กำลังใจกัน ยินดีต่อกัน และแสดงตนให้รู้ว่า I am here and I see you ฉันอยู่ตรงนี้ และฉันเห็นเธอ ที่ซาบซึ้งมากก็คือฉากที่คุณพ่อของ Pearl เดินเข้ามาหา มอบสบู่ให้กล่องหนึ่ง เล่าให้ฟังเป็นครั้งแรกว่า "Your mother, she smells like summer. So I bought this Lilac soap. For you". ด้วยน้ำเสียงที่แสดงถึงความคิดถึงอย่างที่สุด และยากที่สุดที่เขาจะกล่าวถึงได้ แต่ก็ยังต้องเล่า เพราะเขาทราบว่า เรื่องนี้ลูกสาวคนเดียวของเขา ที่กำลังต้องต่อสู้กับมะเร็ง จะนำเอาไปใช้ในการต่อสู้ต่อไปกับหนทางข้างหน้า ถึงเวลาที่พ่อต้องวางความยากลำบากส่วนตัวลงไป เพื่อจะมาร่วมต่อสู้ให้กับคนที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน Pearl ที่ได้รับสบู่มา ก็รับรู้ว่าคำพูดของเธอทุกคำพูด แม้เวลาจะผ่านไปหลายปี พ่อก็ยังจำได้ และมันยากแค่ไหน ที่พ่อของเธอจะเล่าเรื่องนี้ออกมาได้ เพื่อเธอ อีกครั้งหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 540485เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2013 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2013 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์คะ ถ้าเราจะประเมินภาวะทางด้านจิตวิญญาณ

เป็นเหมือน screening spiritual assessment 

เราจะประเมินแบบสั้นได้อย่างไรคะ

อืม... เราเป็นใครถึงมีคุณสมบัติที่จะประเมินจิตวิญญาณคนอื่นได้ล่ะครับ? เช่น คนธรรมดาก็คงจะไม่สามารถ scale จิตวิญญาณของพระอรหันต์ได้ ตามแบบนี้ "ใคร" ถึงจะ qualified ที่จะให้คะแนนสภาวะจิตวิญญาณของคนอื่นๆ? สงสัยแค่หา spiritual surveyor ก็น่าจะยากอยู่กระมังครับ?

บุคลากรทางสุขภาพ เช่น แพทย์ พยาบาลค่ะ

ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และอื่นๆ 

บุคลากรจะประเมิน  initial spiritual assessment   เพื่อจะได้ตอบสนองความต้องการทางด้านจิตวิญญาณได้ค่ะ

OK ครับ แต่เกรงว่าผมคงไม่ทราบครับว่าเรามีเครื่องมือนี้หรือไม่

ผมเชื่อว่าเรื่อง spiritual เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล และยากที่จะวัด ยากที่จะประเมิน ยากที่จะสื่อสารข้ามบุคคล มีกำแพงเรื่องของความเชื่อ ศรัทธา ศาสนา วัฒนธรรม และประสบการณ์ตรงของแต่ละปัจเจก แต่ละครอบครัว มากจนกระทั่ง reliability ของเครื่องมือนั้นๆน่าจะยากที่จะคงอยู่ และมั่นใจว่าเรา "รู้" สภาวะทางจิตวิญญาณของคนๆนั้นจริงๆ

แต่ผมคิดว่าน่าสนใจมากครับ ถ้าเราอาจจะเริ่มต้นจากตัวเราเอง ว่าถ้าเราอยากจะทราบ spiritual assessment ของตัวเรา จะทำอย่างไร และเราจะได้เป็นค่าคงที่หรือมี variations ไปกับอะไรบ้าง เวลา ประสบการณ์ที่ผ่านไป อารมณ์ของเราขณะที่กำลังถูกประเมิน บริบทที่กำลังถูกประเมิน และอื่นๆอีกมากมาย

ขออภัยที่อาจจะไม่ช่วยให้ได้คำตอบที่ต้องการได้นะครับ พี่แก้ว :)

ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ ที่ตอบคำถามให้กระจ่างยิ่งขึ้น

อย่างที่อาจารย์บอกว่า การประเมินด้านจิตวิญญาณ เป็นเรื่องที่เป็นนามธรรม จับต้องยาก ยากที่จะวัด

แต่จากที่เข้าไปทบทวนงานวิจัยของต่างประเทศ ส่วนใหญ่ก็ใช้เป็นคำถามปลายเปิด โดยใช้ FICA หรือ HOPE

......

แต่อย่างไรก็ตาม ก็อยากทราบว่า ถ้ากรณีอาจารย์เองเวลาดู case ที่มีปัญหาทางด้านจิตวิญญาณ

อาจารย์จะประเมินอย่างไร  จึงจะทราบว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางด้าน spiritual 


ปกติผมจะไม่พยายามแยกหมวดหมู่ปัญหาของคนไข้ หรือพยายาม classify ว่านี่คือปัญหาทางกาย ทางจิตใจ ทางสังคม หรือทางจิตวิญญาณครับ เพราะผมคิดว่าทุกเรื่องเชื่อมโยงกันหมด และข้อสำคัญคือ เจ้าของปัญหา ก็ไม่ได้จัดหมวดหมู่ว่าตอนนี้เขามีปัญหาด้านไหน

  • คนไข้ที่เจ็บปวด ก็ทำให้อารมณ์หดหู่เศร้าหมอง ทะเลาะกับคนในครอบครัว บางคนไม่สามารถสวดมนต์ ไหว้พระ ทำละหมาดได้
  • คนไข้ที่มีปัญหาด้านอารมณ์ ก็อาจจะทำให้อาการทางกายยิ่งมากขึ้น ไม่สามารถจะ rehabilitate ตัวเองได้ ไม่มีอารมณ์ที่จะมาดูแลคนอื่นๆ หงุดหงิด สมาธิสั้น และมองไม่เห็นที่ยึดเหนี่ยวของชีวิต
  • คนไข้ที่ลูกๆไม่มาดูแล ก็จะมีความเงียบเหงา เปล่าเปลี่ยว อาจจะได้ยาไม่ครบ ไม่สม่ำเสมอ รู้สึกตัวเองไร้ค่า
  • คนไข้ที่หมกมุ่นวนเวียนกับความผิดในอดีต สำนึกเสียใจ ก็ไม่มีแก่ใจจะดูแลตนเอง รู้สึกว่าคงวามทุกข์ทรมานเป็นสิ่งที่สมควรจะเกิด ยิ่งคิดก็ยิ่งเศร้าหมอง แยกตัวเองออกจากผู้อื่นเพราะคิดว่าไม่อยากจะไปเป็นภาระ

ทั้งสี่แบบ ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าอะไรเป็นจุดเริ่ม จุดบรรเทา หรือจุดกระตุ้น แต่เกิดขึ้นควบคู่กันไป การดูแล ต้องดูแลทุกมิติ (หรือไม่ต้องไปสนใจก็ได้ว่า ณ ขณะนี้ เรากำลังดูมิคิอะไรอยู่) เมื่อมิติใดมิติหนึ่งดีขึ้น มันจะส่งแรงลงไปหามิติอื่นๆโดยกลไกของตัวเขาเอง ทั้งกระบวนการหาย การเยียวยา และการเกิดพยาธิสภาพ ส่งผลต่อสุขภาวะทุกมิติอยู่แล้ว เพราะนั่นคือองค์ประกอบของชีวิตหนึ่งๆ ไม่ว่าจะมีคนแยกแยก แบ่ง category หรือไม่ก็ตาม

สิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์เริ่มต้นได้เลย ก็คือ "มองเห็นว่ามีปัญหา" และสร้างทัศนคติจากจุดเริ่มต้นนี้ ผมคิดว่าเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจาก classify ปัญหาเป็นมิติทางสุขภาพก่อน เพราะจริงๆแล้ว ที่เรานำมาเชื่อม หรือนำมาแยกนั้น เป็นการ narrative ของตัวเราเองทั้งสิ้น ส่วนจะตรงกับคนไข้ ตรงกับญาติ ตรงกับครอบครัวของเขาหรือไม่ เราไม่มีทางทราบเลย

ดังนั้นผมคิดว่าเรื่องที่ฝรั่งเขาอยากจะแยกนั้น มันมีที่ใช้แค่เป็น academic purpose เท่านั้น คือสำหรับคนที่สนใจ แต่สำหรับคนธรรมดาๆ ปัญหาก็คือปัญหา ไม่มีใครแยกปัญหาว่าชั้นมีปัญหากายสองอย่าง ปัญหาใจหนึ่งอย่าง ปัญหาสังคมสามหรือสี่อย่าง ปัญหาทางจิตวิญญาณหนึ่งอย่าง ฯลฯ แต่ผมคิดว่าเมื่อไหร่ที่เราลงไปแยก มันจะส่งผลค่อพฤติกรรมของเราเองได้หลายด้านไปพร้อมๆกันด้วย และผมไม่แน่ใจว่านั่นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดีต่องานที่เราคั้งใจจะทำเหมือนกันครับ

เห็นด้วยกับอาจารย์เป็นอย่างมากค่ะ 

ที่ผ่านมาเราก็ดูคนไข้แบบองค์รวม

แต่ที่เป็นปัญหา คือ ดูแลผู้ป่วยเวลาเขียนบันทึกในแฟ้มผู้ป่วยของบุคลากรทั้งแพทย์ พยาบาล แทบจะไม่ได้บันทึกให้เห็นปัญหาด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณ เศรษฐกิจและสังคม 

ทำให้ดูเหมือนว่า ขาดการดูแลในมิติด้านเหล่านี้ไป 

บางครั้งบุคลากรส่วนใหญ่ ก็ขาดการประเมินปัญหาผู้ป่วยในมิติด้านจิตวิญญาณไปเลย

สรพ นำโดยแม่ต้อย เลยชักชวนให้พี่แก้วและทีม มาช่วยพัฒนาเครื่องมือในการประเมินมิติด้านจิตวิญญาณในคลินิก

เป็นเหมือน spiritual screening น่ะค่ะ

ต้องขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างมากที่ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้

พี่แก้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท