การสู่ขวัญควาย


"ขวัญ" เป็นคำที่มีการใช้อยู่บ่อยๆและมีความหมายมากมายหลากหลาย

ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ "ขวัญ" (ขวัน) น.ผม หรือขนที่ขึ้นเวียนกันเป็นหอย, มิ่งมงคล, สิริ, ความดี เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน ; สิ่งที่ไม่มีตัวตน นิยมกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา ซึ่งเชื่อว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างกายไปเสีย ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น และอนุโลมใช้ไปถึงสัตว์ หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ

คนโบราณเชื่อว่ามีสิ่งหนึ่งที่จับต้องไม่ได้ รู้แต่เพียงว่าเป็นสิ่งที่กำกับดูแลชีวิตประจำวัน ความเป็นอยู่ อารมณ์ และจิตใจของผู้คน รวมถึงเป็นสิ่งกำกับทุกสิ่งทุกอย่างที่มีในโลก ให้เป็นอยู่ และเป็นไปอย่างราบรื่น หากเมื่อใดไม่ราบรื่น ไม่มีสวัสดิภาพ ไม่มีความสุข หรือมีสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาผ่านเข้ามา ก็จะทำให้สิ่งที่กำกับดูแลนั้น เลื่อนลอยออกไป หรือสูญเสียการทำหน้าที่ สิ่งที่ว่านั้น คือ "ขวัญ" นั่นเอง

ชาวอีสานมีความเชื่อเรื่องนี้มาก จะเห็นได้จากมีการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญในหลายช่วงของวิถีวีชีวิต เช่น การเกิด การบวช การแต่งงาน การจากบ้านไปไกล การกลับจากเดินทางไกล การหายจากอาการป่วยหนัก ยิ่งเป็นการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ ก็มีพิธีต่างหากคือ การไปช้อนขวัญ ของผู้ประสบอุบัติเหตุ ณ ที่เกิดเหตุกันทีเดียว เพราะเชื่อว่า ขวัญจะออกจากเนื้อจากตัว ไม่ยอมกลับไปด้วย จึงต้องเชิญกลับไปอยู่กับเจ้าตัว สิ่งที่ได้รับอาจจะมีผลทางจิตใจ หรือเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ทำให้ผู้นั้นมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

การสู่ขวัญที่มุ่งให้เกิดสิริมงคล ได้แก่ การสู่ขวัญข้าว สู่ขวัญเรือน และสู่ขวัญวัว สู่ขวัญควาย เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 54005เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท