การจัดการความรู้ และ E-Learning


บ่อยครั้งที่ข้อมูลความรู้ที่มีอยู่มักไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เนื่องจากมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งหรือไม่สามารถตอบสนองต่อสังคมนั้นๆ ได้ การจัดการองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์และได้ผล จึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม/สภาพแวดล้อมนั้นๆ ด้วย

             สังคมเพื่อการฝึกฝนหรือการแสวงหา คือ กลุ่มคนผู้ซึ่งหลงใหลสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกันสนใจร่วมกันและทำงานใกล้ชิดกันในสภาวะใดสถานะหนึ่งภายใต้การเรียนรู้              

             ภายในสังคมของมหาวิทยาลัยหรือคณะรวมถึงสังคมของนิสิตในมหาวิทยาลัย  ต่างก็เป็นสังคมเพื่อการเรียนรู้ เป็นสังคมของการแสวงหาภายในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมีหน้าที่หลักเสมือนเป็นหุ้นส่วนขององค์ความรู้ที่แข็งแกร่งร่วมกับการจัดการ จะเห็นได้ว่าการจัดการแหล่งความรู้มีความสำคัญเช่นเดียวกัน   

             แหล่งข้อมูลความรู้ เป็นกุญแจไขไปสู่สภาพแวดล้อมของการสอนและการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่า มีแหล่งข้อมูลและความรู้มากมายที่จะสามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็นทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่รอการท้าทายในการแสวงหาข้อมูลความรู้ต่างๆ  การให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำงานเพื่อให้ไปสู่จุดมุ่งหมายมากขึ้นในปัจจุบัน  ประกอบกับความก้าวหน้าของสภาวการณ์การศึกษาทำให้เกิดระบบการจัดการความรู้ 

              ระบบการจัดการความรู้ ช่วยในการส่งเสริมและสร้างสรรค์ เป็นตัวผลักดันองค์กร ข้อมูล ข่าวสารและความรู้ (ทั้งในทางตรงและทางอ้อม) ในสังคมต่างๆ ที่มีความสนใจและความต้องการที่คล้ายคลึงกัน การจัดการข้อมูล และการพัฒนาความรู้เป็นแนวคิดหลักซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รับส่งข้อมูลจากภายในสังคมสู่ภายนอก และจากภายนอกสังคมสู่องค์กร                    

             ระบบการจัดการความรู้ เป็นการเชื่อมโยงและผสมผสานด้วยองค์ประกอบที่สำคัญที่ต้องอาศัยประสบการณ์ การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ ระบบสังคมที่ครูผู้สอนและนิสิตสามารถจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้หรือข้อมูลไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักสูตร การจัดการหลักสูตร รวมทั้งกิจกรรมการเรียนการสอน แก่กันและกัน       

             ความท้าทายของระบบการจัดการความรู้ นั่นคือ ความยากในการจัดการทางเทคนิค เนื่องจากความรู้มักจะต้องเกี่ยวข้องกับความแตกต่าง/ความหลากหลาย ของความชอบ/ความต้องการในการฝึกฝนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่แตกต่างกันไปในสังคม ในบางสังคมสามารถเข้าถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ได้โดยง่าย แต่เราต้องแน่ใจว่าระบบการจัดการความรู้นั้นๆ ตรงกับ/สามารถสนองต่อความต้องการของสมาชิกในสังคมนั้นๆ โดยต้องเป็นการสนองต่อความต้องการพื้นฐานด้วย               

             ระบบการจัดการความรู้ สร้างขึ้นจากพื้นฐานการร่วมมือของสังคมที่มีความชอบ/หลงใหลในการที่คนเราต้องการฝึกฝน ในด้านการสร้างสรรค์เพื่อการใช้ประโยชน์ของความรู้นั้นๆ  Rosenberg (2001)  กล่าวว่า ความสำคัญของสังคมไม่สามารถกล่าวได้หมด นั่นคือ สังคมมักจะสร้างโอกาสให้กับผู้คนได้มีการปฏิสัมพันธ์กันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง/สิ่งใดสิ่งหนึ่ง จึงทำให้เกิดการกระจายและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร   การจัดการความรู้ กระตุ้นให้สมาชิกในสังคมได้สร้างสรรค์ความคิดและสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ  ตัวอย่างเช่น               

             Learning Object Repositories (LOR) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของการจัดการและพัฒนาความรู้ คือ แนวคิดในเรื่อง LOR – การเก็บข้อมูลความรู้ เสมือนห้องสมุด/คลังหนังสือ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เป็นที่ต้องการ ตามความต้องการของศูนย์ข้อมูลนั้นๆ เช่น เพื่อการวิจัย เพื่อการศึกษาที่สามารถสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ               

             Learning object คือ แหล่งข้อมูลที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยต่างๆ ที่นำมารวมกัน  โดยเราสามารถรับส่งข้อมูลด้วยการใช้ตัวเลขหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาและถ่ายทอด เนื่องจากมีความหลากหลายของข้อมูล ที่ได้จากประสบการณ์การสอนซึ่งได้รวบรวมจากสภาวการณ์ต่างๆ                

             Sharing Knowledge  คือ  การร่วมกันแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้   

             Learning Objective  - ลักษณะการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในด้านต่างๆ                

             LOR – เป็นกุญแจไขไปสู่การแลกเปลี่ยนแบ่งปันข้อมูลความรู้ต่างๆ เพื่อการค้นหา แบ่งปันการจัดการความรู้                    

             การคำนึงถึงความรู้กับการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม บ่อยครั้งที่ข้อมูลความรู้ที่มีอยู่มักไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เนื่องจากมันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งหรือไม่สามารถตอบสนองต่อสังคมนั้นๆ ได้ การจัดการองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์และได้ผลจึงต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม/สภาพแวดล้อมนั้นๆ ด้วย รวมทั้งลักษณะของบุคคลด้วย จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสถาบันในสังคมนั้นๆ หรือไม่ ความท้าทายจึงเป็นการออกแบบรูปแบบการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนองค์กรที่สามารถนำไปปรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การพัฒนาของ E-Learning และการจัดการความรู้ ในสถาบันการศึกษาจึงเริ่มจากความรู้ในห้องเรียนด้วยกลไกลของสภาพแวดล้อม             

             ความรู้ในระบบนิเวศน์ หรือการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะการผสมผสานของเนื้อหากับสภาพแวดล้อม ได้แก่ การกระทำ/การแสดงกลับ  การแยกตัว/การร่วมมือ การตอบสนอง/การถูกควบคุม              

             ความรู้ในระบบนิเวศน์ หรือการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม  เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความชอบ/หลงใหลในคุณค่าของธรรมเนียม จารีต แบบอย่าง ของการวิจัยค้นคว้าในมหาวิทยาลัย ยิ่งไปกว่านั้น ยังแสดงถึงยุทธศาสตร์ที่แตกต่างกันไปของมหาวิทยาลัย ในการกระตุ้นให้เกิดกลไกลเพื่อการการศึกษาในระดับสูง/ขั้นสูง ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ              

             ความรู้ในระบบนิเวศน์ หรือการจัดการความรู้ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นสิ่งเติมเต็มที่มีคุณค่า ท้าทายในการวิจัยของมหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 21 อาจกล่าวได้ว่ากระบวนการสร้างความรู้ในองค์กรประกอบขึ้นจากคุณค่าของธรรมเนียมจารีตแบบอย่างของมหาวิทยาลัยนั้นๆ    

             เมื่อพิจารณาถึงความหลากหลายของมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ ด้วยยุทธศาสตร์ในการสร้างเครือข่าย เพื่อให้เกิดกลุ่มการจัดการด้วยตนเอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการสร้างสรรค์ สะสมความรู้ในรุ่นต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเป็นอิสระ และการประสาน มิใช่เพื่อการจัดการระบบเพียงแค่ในส่วนกลางเท่านั้น หากแต่เป็นการกระจายไปสู่ท้องถิ่น

              ดังนั้น  ถ้ามหาวิทยาลัยคาดหวังสู่การเป็นผู้นำในการปฏิวัติองค์ความรู้ มหาวิทยาลัยต้องตระหนักถึงสภาพ/ระบบของธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อมนั้นๆ อย่างถ่องแท้และใช้องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างหลักแหลมตามสภาพความเป็นจริง

เว็บอ้างอิง  http://commons.ucalgary.ca/documents/KM_eLearning.pdf. 

 

หมายเลขบันทึก: 54001เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท