ขอบคุณ : ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่สร้างข้าพเจ้าขึ้นทำเนียบนักวิจัย ของสภาวิจัยแห่งชาติ



           พึ่งทราบว่า..ข้าพเจ้ามีชื่ออยู่ในทำเนียบนักวิจัยขึ้นทะเบียน  ของสภาวิจัยแห่งชาติ  

ด้วยรหัสของนักวิจัย คือ 46020107  เมื่อไม่นานมานี้เอง…




จากการสืบค้นงานวิจัยทางการศึกษาบางอย่าง  ถึงได้รับรู้ว่า…การทำงานวิจัยสมัยเมื่อครั้งตัวเองไปช่วยราชการอยู่ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 11 ถูกส่งเข้าทำเนียบนักวิจัย  ซึ่งสมัยนั้น งานหลัก ๆ ของศูนย์ฯ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นงานวิชาการทางด้านสุขภาพจิต  และด้วยความที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในเนื้องานของศูนย์ฯ  สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการศึกษาวิจัยภาวะสุขภาพจิตของประชาชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ฯ


ช่วงนั้น น่าจะเป็นปีพศ. 2545-2547 ชึ่งข้าพเจ้าได้เป็นส่วนหนึ่งในคณะทำงานวิจัยของศูนย์ฯ  

โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าชอบความแนวความคิดการบริหารงานของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ซึ่งสมัยนั้น คุณปรีดิ์หทัย ถนิมพาสน์ เธอทำหน้าที่หัวหน้าฝ่าย  อายุอานามของเธอนี้น รุ่นราวคราวเดียวกับข้าพเจ้า  และเธอเป็นอีกผู้หนึ่งที่ชักชวนให้ข้าพเจ้ามาทำงาน  ณ ที่แห่งนี่ 



ภาพ : คุณปรีดิ์หทัย ถนิมพาสน์(ขวามือสุด) และคณะขณะออกวิจัยภาคสนาม  ข้าพเจ้าเดินยิ้มอยู่ซ้ายมือสุด


การบริงานงานวิชาการ ของเธอ.... ถูกใจข้าพเจ้าตรงนี้ 

ตรงที่…. เธอให้โอกาสกับผู้ร่วมงานของฝ่ายทุกคน มีบทบาทในการเป็นหัวหน้าโครงการต่าง ๆ ที่ฝ่ายรับผิดชอบ  ซึ่งเท่ากับว่า..ไม่ปิดกั้นความสามารถของทีมงาน  ข้าพเจ้าชื่นชมสไตล์การบริหารงานของเธออยู่ในใจ  เพราะข้าพเจ้ามองว่านี่คือการให้โอกาส   โอกาสที่จะทำให้ทุกคนได้เติบโตทางความคิดและการกระทำ 

ข้าพเจ้า.....เห็นทีมงานทุกคนมีความกระตือรืนร้นที่จะทำงาน  และสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือคณะทำงานแต่ละคน ได้แสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวให้เธอเห็น 

เมื่อมีโอกาส การได้แสดงบทบาทหน้าที่ในส่วนนี้  ถือเป็นเรื่องท้าทายความรู้ความสามารถของข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง 

วิชาที่ศึกษาร่ำเรียนมา มีโอกาสได้ใช้ ก็คราวนี้  ไม่ว่าจะเป็น  กระบวนการการวิจัย  สถิติเพื่อการวิจัย  รวมถึงการใช้โปรแกรมการวิเคราะห์คำนวณค่าสถิติต่างๆ  ….

ขอบคุณ..... สิ่งที่ข้าพเจ้าได้รื้อฟื้นจากความทรงจำที่แสนดีแบบนี้   และได้เล่าสู่สังคมประเทืองปัญญาแห่งนี้  

 



และอย่างน้อย  ข้าพเจ้าเองมองว่า…ไม่ว่าเป็นใครก็ตาม  หากว่ามีโอกาสได้ทำ  แล้วเค้าได้แสดงบทบาทความสามารถให้ทุกคนได้เห็น  สิ่งมีค่าต่อจิตใจและความรู้สึกดีดี  ก็จะเกิดขึ้นตามมา  

แม้กระทั้งสิ่งที่ข้าพเจ้าพึ่งค้นพบในวันนี้ ซึ่งก็นานมากทีเดียว…แต่ข้าพเจ้ากลับรู้สึกดีเหลือเกิน  แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีโอกาสได้ทำงานเช่นนั้นอีกเลย ในชีวิตนี้.....ก็ตาม


ข้าพเจ้าขอขอบคุณ ศูนย์สุขภาพจิตที่11 กรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้สร้างให้ข้าพเจ้ารู้จักคิด ได้ทำ ได้เรียนรู้ บทบาทของนักวิจัยว่า…นักวิจัยนั้น   เค้ามีชีวิตเช่นไร




โอกาสนี้ ข้าพเจ้าได้แนบไฟล์ ทำเนียบนักวิจัย ของสภาวิจัยแห่งชาติ

มาให้สมาชิกที่ทรงเกียรติของชุมชุนแห่งนี้ ได้รับรู้ (click เพื่อdownload ไฟล์ นะครับ) หากสนใจที่จะรู้ว่า…มีใครในชุมชนแห่งนี้บ้างที่ ขึ้นทำเนียบนักวิจัยของเมืองไทย    


ทำเนียบการวิจัย 2553 สภาวิจัยแห่งชาติ


ส่วนตัว  ข้าพเจ้าได้นั่งอ่านรายชื่อบุคคลบางท่านในชุมชนแห่งนี้ ที่ข้าพเจ้าพอจะจำชื่อ  ปรากฏพบรายชื่อสมาชิกในชุมชนแห่งนี้หลายท่าน  ขออนุญาตกล่าวถึงในที่นี้ด้วยนะครับ

อาจารย์อุบล  จ่วงพานิช               รหัสนักวิจัย 47020475          สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

อาจารย์วิรัตน์  คำศรีจันทร์           รหัสนักวิจัย  50100004         สาขาสังคมวิทยา

อาจารย์หมอปัทมา  โกมุทบุตร  รหัสนักวิจัย  51020065         สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์

อาจารย์ปภังกร  วงศ์ชิดวรรณ    รหัสนักวิจัย 51090062         สาขาเศรษฐศาสตร์

อาจารย์จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร    รหัสนักวิจัย 52020211         สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์


         ข้าพเจ้าเชื่อว่า..ยังคงมีรายชื่อสมาชิกที่ทรงเกียรติของชุมชนแห่งนี้ อีกมากที่อยู่ในสาขาต่างๆ  12 สาขาของสภาวิจัยแห่งชาติ และกำหนดรหัส เป็น 01 ถึง 12  รายละเอียดกลุ่มย่อย ดังนี้

         01. สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา คณิตศาสตร์และสถิติ ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์  วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ ธรณีวิทยา อุทกวิทยา สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ฟิสิกส์ของสิ่งแวดล้อม และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

         02. สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์การแพทย์ แพทยศาสตร์สาธารณสุข เทคนิคการแพทย์ พยาบาลศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สังคมศาสตร์การแพทย์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

         03. สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประกอบด้วยกลุ่มวิชา อนินทรีย์เคมี อินทรีย์เคมี ชีวเคมี เคมีอุตสาหกรรม อาหารเคมี  เคมีโพลิเมอร์ เคมีวิเคราะห์ ปิโตรเคมี เคมีสิ่งแวดล้อม เคมีเทคนิค นิวเคลียร์เคมี เคมีเชิงฟิสิกส์ เคมีชีวภาพ เภสัชเคมีและเภสัชวิเคราะห์ เภสัชอุตสาห-กรรม เภสัชกรรม เภสัชวิทยาและพิษวิทยา เครื่องสำอาง เภสัชเวท เภสัชชีวภาพ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

         04. สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ทรัพยากรพืช การป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทรัพยากรสัตว์  ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร อุตสาห-กรรมเกษตร ระบบเกษตร ทรัพยากรดิน ธุรกิจการเกษตร วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร วิทยาศาสตร์ชีวภาพ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          05. สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมวิจัย และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          06. สาขาปรัชญา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ปรัชญา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วรรณคดี ศิลปกรรม ภาษา สถาปัตยกรรม ศาสนาและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          07. สาขานิติศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายเศรษฐกิจ กฎหมายธุรกิจ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายวิธีพิจารณาความ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          08. สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ นโยบายศาสตร์ อุดมการณ์ ทางการเมือง สถาบันทางการเมือง ชีวิตทางการเมือง สังคม-วิทยาทางการเมือง ระบบการเมือง ทฤษฎีการเมือง รัฐประศาสนศาสตร์ มติสาธารณะ ยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคง เศรษฐศาสตร์การเมือง และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          09. สาขาเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา เศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ บริหารธุรกิจ การบัญชี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          10. สาขาสังคมวิทยา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา สังคมวิทยา ประชากรศาสตร์ มานุษยวิทยา จิตวิทยาสังคม ปัญหาสังคมและสังคมสงเคราะห์ อาชญาวิทยา กระบวนการยุติธรรม มนุษย์นิเวศวิทยาและนิเวศวิทยาสังคม พัฒนาสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิศาสตร์สังคม การศึกษาความเสมอภาคระหว่างเพศ คติชนวิทยา และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

          11. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ ประกอบด้วยกลุ่มวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การสื่อสารด้วยดาวเทียม การสื่อสารเครือข่าย การสำรวจและรับรู้จากระยะไกล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สารสนเทศศาสตร์ นิเทศศาสตร์ บรรณารักษ์ศาสตร์ เทคนิคพิพิธภัณฑ์และภัณฑาคาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

           12. สาขาการศึกษา ประกอบด้วยกลุ่มวิชา พื้นฐานการศึกษา หลักสูตรและการสอน การวัดและการประเมินผลการศึกษาเทคโนโลยีการศึกษา บริหารการศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนวการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาพิเศษ






ขอบคุณวันเวลาในอดีต ที่ข้าพเจ้าได้นั่งรื้อฟื้นความทรงจำเช่นนี้ แล้วเกิดความสุขขึ้นในใจ  ต่อไปภายภาคหน้ามันจะเป็นความทรงจำที่แสนงามในชีวิตของคนธรรมดาคนหนึ่ง  ที่จะได้นั่งเล่าเรื่องราวในอดีตของตัวเอง ให้ลูกให้หลานฟังยามเมื่อแก่ชราลงไปว่า  …ครั้งหนึ่งในชีวิตพ่อ..   พ่อเคยทำงานวิจัยให้กับสังคม  สังคมที่ปู่(ตา)ได้ใช้ชีวิต เมื่อครั้งได้มีโอกาสเป็น “ข้าของแผ่นดิน”


หมายเลขบันทึก: 539838เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2013 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

คนในบ้านเรา (G2K) มีแต่คนที่มีคุณภาพจริงๆเลยค่ะ.. 

น่าเอาเป็นตัวอย่าง.. ในการทำงาน สร้างสิ่งดีๆให้สังคม 

เห็นด้วยกับคุณระพีนะ  G2K สังคมแห่งคนคุณภาพจริง ๆ 

พี่แวะมาชื่นชม และขอเป็นกำลังใจให้นะคะน้องแสงแห่งความดี

ไม่มีนักวิจัยทางการศึกษาบ้างหรือครับ  โดยเฉพาะด้านการเรียน การสอน

ขอบคุณ คุณระพี มากนะครับ

ในหน่วยงานของคุณระพี คงมีอยู่หลายท่าน ลองเปิดไฟล์ค้นหาดูนะครับ


ขอบคุณ คุณ พ คุณมะเดื่อ และครูต้อยมากนะครับ

ครูสายัณฑ์ ครับ สาขาทางการศึกษา เป็นกลุ่ม  รหัส 12 ครับ

ในชึมชนแห่งนี้ ผมคาดว่าน่าจะมีหลายท่านนะครับ 

ครูลอง load ไฟล์ .pdf มาอ่านดูนะครับ


ขอบคุณมากครับครูสายัณฑ์ ครับ

มาชื่นชมคนดีและคนเก่งค่ะท่าน

.... ดีใจและชื่นชมความสำเร็จ นะคะ    คิดถึงทุกๆ ท่านเลย ..... ตอนนี้งานP'Ple  มีมากจังเลย ค่ะ .... หวังว่าน้องแสงสบายดี นะคะ ...

 มาชื่นชมและให้กำลังใจค่ะ

ความทรงจำ และวันเวลา ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท