เรื่องเล่าจากหนังสือ


ผู้หญิง(อย่างฉัน)มีสิทธิเช่นกัน

จากบันทึกก่อนหน้านี้ Boss ให้คำแนะนำให้ดิฉันช่วยเล่าให้อ่านกันจะดีกว่ากับหนังสือเรื่อง"ผู้หญิง(อย่างฉัน)มีสิทธิเช่นกัน" ของคุณสุทธิดา มะลิแก้ว ซึ่งในเนื้อหาของหนังสือจะมีด้วยกัน 5 บทคะ เริ่มด้วย คอกขังผู้หญิง ในวัฒนธรรมไทยเราเกี่ยวกับผู้หญิงจะมีคอกหนึ่งคุมไว้ชื่อ คอกรักนวลสงวนตัว เป็นสถานที่เก็บ พรหมจารีและให้ค่าแก่การสงวนพรหมจารี ถึงความเป็นหญิงดีหรือหญิงไม่ดี ซึ่งนานวันเข้าคอกจะแน่นหนาขึ้นมาในอีกชื่อหนึ่งว่า "วัฒนธรรม ประเพณี ศีลธรรม" ทำให้ยากที่จะหลุดออกไปได้ ซึ่งเชื่อว่าหญิงทุกคนที่อยู่ในคอกนี้เท่านั้นจะเป็นผู้หญิงดี ถ้าหากใครหลุดออกจากคอกนี้เมื่อไรก็กลายเป็นหญิงเลวไปทันที  ถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่า กฎระเบียบ ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ สุภาษิตสอนหญิง ก้ล้วนแต่ผู้ชายเขียน หรือแม้กระทั่งกฎหมายต่างๆก็ออกโดยผู้ชาย  มีสิ่งที่เด่นชัดอีกเรื่องหนึ่ง มีคอกชื่อ"อยู่กับเหย้า เฝ้ากับเรือน" เป็นสิ่งที่บอกว่า เพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงเพราะผู้หญิงออกไปนอกบ้านอาจเกิดอันตรายได้ เรื่องการออกนอกบ้านจึงเป็นเรื่องของผู้ชาย ผู้หญิงที่ไม่ชอบเตร็ดเตร่จึงได้เชื่อว่าเป็นผู้หญิงดี ซึงในอดีตส่งผลให้การศึกษาต่างๆตกอยู่กับผู้ชายเพราะเดินทางได้สะดวกกว่า ประกอบกับวิธีคิดว่าผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้าที่ต้องนำพาครอบครัวและผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลังที่ต้องคอยทำตามคำแนะนำของผุ้ชายเท่านั้น  ด้วยเหตุนี้ ผู้หญิงต้องรักนวลสงวนตัว รักษาความบริสุทธิ์ไว้ให้ชายจนกว่าจะได้เข้าวิวาห์ ผู้หญิงพูดเรื่องเพศจึงดูเป็นเรื่องน่าบัดสี แต่ในขณะที่บอกผู้ชายให้รู้จักมีประสบการณ์ทางเพศเอาไว้บ้าง ยิ่งมากยิ่งดี  มาถึงปัจจุบันมีหญิงหลายคนอยากแหกคอกยอมเป็นหญิงชั่ว บ้างก็ได้หากจะทำให้ชีวิตมีอิสระมากขึ้นหรือได้เรียนรู้โลกมากขึ้นถึงกับมีคำกล่าวว่า "Good girls go to heaven, bad girls go everywhere"  ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่า "ได้เวลาแหกคอกกันเสียที" และก็มีไม่น้อยที่เข้มแข็งพอที่แหกคอกแล้วได้ดีหรืออย่างน้อยก็รู้สึกดี แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปมากแล้ว  ภาระผู้ชายนั้นยังคงเดิม เคยออกไปทำงานนอกบ้านอย่างไรก็ทำอย่างนั้นกลับมาต้องมีภรรยาปรนนิบัติ ส่วนผู้หญิงมีโอกาสทำงานนอกบ้านมากขึ้นทำให้ภาระความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเพราะ แม้จะเก่งแค่ไหนก็ตามแต่ "งานบ้านงานเรือนต้องอย่าได้บกพร่อง" หลายๆครั้งที่มีการหย่าร้าง ก็ว่ากันว่าเป็นเพราะผู้หญิงอดทนไม่พอ จริงๆแล้วคือปลายเหตุมิใช่หรือหาใช่สาเหตุไม่ แต่ไม่มีใครสนใจถึงต้นเหตุอย่างไร  เช่นกับกรณีของผู้หญิงติดเชื้อเอชไอวี แม้จะทำตนเองอยู่ในคอกที่สังคมกำหนดดีแค่ไหนก็ตามสุดท้ายหลายคนก็ติดเชื้อจากสามีที่เธอเก็บพรหมจรรย์ไว้รอจนถึงคืนวิวาห์ แต่ในขณะที่ทั้งคู่ต่างก็ติดเชื้อและทั้งคู่ก็ต้องทำมาหากิน แต่ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ของการดูแลบ้านเรือน ดูแลสามีก็ยังคงเป็นผู้หญิงดังเดิม

ส่วนบทถัดไปจะนำมาเล่าในบันทึกต่อไปนะคะ  

โดย ปิยะวดี  ฉาไธสง

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือ
หมายเลขบันทึก: 53954เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2006 21:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณแมว     ย่อแล้วก็ยังยาวเหมือนกันนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท