เชื้อเพลิงสาหร่าย นวัตกรรมพลังงานทดแทน


เชื้อเพลิงสาหร่าย นวัตกรรมพลังงานทดแทน

        สาหร่าย (Algae) มองผิวเผินลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และไม่มีใบที่แท้จริง บางสายพันธุ์มีขนาดเล็กมากและมีเซลล์เดียว ในขณะที่บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก และเป็นเส้นสายคล้ายพืชชั้นสูงก็มี การแบ่งจำพวกสาหร่ายแบ่งตามรูปร่างภายนอกหรือดูตามสี เช่น สาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี 

สาหร่าย

       จากการศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ข้อสรุปว่า สาหร่ายเป็นพืชที่ผลิตน้ำมันได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในบรรดาพืชทั้งหมดบนโลกนี้ โดยนักวิทยาศาสตร์ที่สถานีทดลองพลังงานทดแทนแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NREL) ได้รวบรวมและเพาะเลี้ยงสาหร่ายไว้กว่า 300 สายพันธุ์ที่เจริญเติบโตโดยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และผลิตน้ำมัน โครงการไบโอดีเซลจากสาหร่ายของ NREL สร้างบ่อเพาะเลี้ยงสาหร่ายไว้ในหลายพื้นที่รวมทั้งบริเวณใกล้ทะเลทรายในนิวเม็กซิโก และพบว่าสาหร่ายจะเจริญเติบโตเร็วมาก ประมาณน้ำหนักได้ 50 กรัมต่อตารางเมตร/วัน ดังนั้นในบ่อขนาด 1,000 ตารางเมตร จึงสามารถผลิตสาหร่ายได้ถึง 50,000 กรัม/วัน หรือ 50 กิโลกรัม/วัน 


       นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี พีรพรพิศาล จากห้องปฏิบัติการวิจัยสาหร่ายประยุกต์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบว่าเซลล์ของสาหร่ายมีกรดไขมันค่อนข้างสูง โดยทั่วไปจะมีราว  20% แต่บางชนิด อาจมีถึง 60-70% ถ้าเลี้ยงเป็นปริมาณมากๆ แล้วนำมาผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่า เอสเทอริฟิเคชัน (Esterification) ก็จะได้ไบโอดีเซล ซึ่งใช้เป็นน้ำมันเชื้อเลิงเติมรถยนต์ได้เลย หรือใช้กระบวนการไพโรไลซิส (Pyrolysis) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีโดยใช้ความร้อนในสภาวะไร้อากาศ ซึ่งในที่สุดก็จะได้น้ำมันก็ออกมาเช่นกัน นอกจากนี้ก็ยังมีกระบวนการอื่นๆ อีกหลายอย่างที่สามารถเปลี่ยนชีวมวลของสาหร่ายเป็นน้ำมันได้ โดยเฉลี่ยสาหร่ายสามารถสกัดไปเป็นน้ำมันได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับว่าในบ่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตรก็จะได้น้ำมัน 25 กิโลกรัม/วัน ใน 1 ปีก็จะสามารถผลิตน้ำมันได้ 9,125 กิโลกรัมหรือประมาณ 7,600 ลิตร  ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์การผลิตน้ำมันได้มากกว่าพืชชนิดอื่นๆ เช่น คาโนลา สบู่ดำ ยิ่งกว่านั้นนักวิจัยของ NREL ยังระบุว่าหากพัฒนาการเพาะเลี้ยงและการสกัดน้ำมันจากสาหร่าย แบบโรงงานขนาดใหญ่ ต้นทุนในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลจะมีเพียงลิตรละ 12 บาท เท่านั้น


อ้างอิง :

http://vcharkarn.com/varticle/38596

http://oilprice.com/Alternative-Energy/Biofuels/Innovative-Ways-of-Producing-Biofuel-Tobacco-Whiskey-and-Seaweed.html

http://www.xconomy.com/san-diego/2011/01/14/five-innovations-to-look-for-in-algae-biofuels/

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2

http://www.การเกษตร.com/สาหร่ายน้ำมันเชื้อเพลิ/

http://www.csri.or.th/new2012/index.php?option=com_k2&view=item&id=1821:เชื้อเพลิงสาหร่าย&Itemid=830

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9560000000334

http://biology.cru.in.th/biology/images%5Cpdf%5Cphyco%5Cphyco02.pdf

หมายเลขบันทึก: 539176เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 12:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณในบทความครับ แต่ผมก็ยังไม่มั่นใจในตัวเลข ที่ว่า "1,000 ตารางเมตรก็จะได้น้ำมัน 25 กิโลกรัม/วัน" พื้นที่แค่ประมาณ 2 งานกว่าๆ เราจะได้น้ำมันถึง 25 kg จริงๆ หรือครับ หรือว่าจะต้องเป็นสาหร่ายชนิดพิเศษ ตามที่ผมค้นหาข้อมูล คำนวณดูแล้ว พื้นที่เท่านั้นไม่น่าจะได้เกิน 10 ลิตร/วัน.. แต่กระนั้นก็ยังน่าสนใจในการได้รับการพัฒนาครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท